แขวงทรายกองดิน

แขวงในเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

ทรายกองดิน เป็นแขวงหนึ่งในเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นเขตเกษตรกรรม ยกเว้นด้านตะวันตกเฉียงใต้ของท้องที่ซึ่งเป็นเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย

แขวงทรายกองดิน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhwaeng Sai Kong Din
แผนที่เขตคลองสามวา เน้นแขวงทรายกองดิน
แผนที่เขตคลองสามวา เน้นแขวงทรายกองดิน
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
เขตคลองสามวา
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด11.396 ตร.กม. (4.400 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[2]
 • ทั้งหมด13,401 คน
 • ความหนาแน่น1,175.94 คน/ตร.กม. (3,045.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10510
รหัสภูมิศาสตร์104604
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แขวงทรายกองดินตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขตคลองสามวา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[3]

ที่มาของชื่อแขวง

ชุมชนมุสลิมในท้องที่ที่เป็นแขวงทรายกองดินใต้และแขวงแสนแสบปัจจุบัน ส่วนใหญ่มีบรรพบุรุษเป็นชาวมลายูจากเมืองไทรบุรีซึ่งถูกเทครัวขึ้นมาในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์[4] ชาวมลายูกลุ่มนี้ได้เข้ามาหักร้างถางพง จับจองที่ดินทำกิน และสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยตามแนวคลองแสนแสบหลังจากที่ถูกเกณฑ์มาร่วมขุดคลองสายนี้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระยะแรกชาวมุสลิมในบริเวณดังกล่าวใช้บ้านของคหบดีคนหนึ่งเป็นสถานที่ประกอบกิจทางศาสนา ต่อมาได้ร่วมกันสร้างเรือนไม้ขึ้นเพื่อใช้เป็นสุเหร่าหรือมัสยิด[5] เมื่อเวลาผ่านไปได้ประมาณ 70 ปี ชุมชนนี้มีประชากรมากขึ้น บรรดาสัปปุรุษลงมติว่าจะขยายพื้นที่สุเหร่าให้กว้างขึ้นโดยสร้างเป็นอาคารปูนให้มั่นคงถาวร จึงช่วยกันซื้อทรายมากองไว้บนดินเพื่อรอให้มีปริมาณมากพอ จากนั้นก็มีผู้นำทรายมาสมทบอีกเรื่อย ๆ จนกลายเป็นกองใหญ่ค้างอยู่นาน ผู้คนที่เดินทางผ่านไปมาเห็นกองทรายนี้ทุกครั้งจึงเรียกกันติดปากว่า "ทรายกองดิน"[5] ภายหลังเมื่อมีการจัดการปกครองท้องที่ตามระบบมณฑลเทศาภิบาล ทางราชการจึงนำชื่อนี้มาใช้เป็นชื่อตำบล โดยปรากฏเอกสารเกี่ยวข้องกับตำบลนี้ในราชกิจจานุเบกษาอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ. 2448[6]

ยังมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาอีกว่า ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จกลับจากเมืองฉะเชิงเทราผ่านทางคลองแสนแสบ เมื่อเข้าเขตสุเหร่าของชุมชน พระองค์ก็เสด็จขึ้นฝั่ง ทรงแวะเยี่ยมเยียนสุเหร่า และมีพระราชดำรัสถามว่า "กองทรายกองดินเหล่านี้มีไว้ทำไม"[7] เมื่อทรงได้รับคำตอบจากผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นว่าจะใช้สร้างอาคารสุเหร่า จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ทหารขนอิฐ หิน และทรายมาทางเรือกลไฟอย่างละหลายลำเพื่อพระราชทานสมทบสร้างสุเหร่าหลังใหม่ พร้อมทั้งพระราชทานที่ดินจำนวน 40 ไร่ เป็นใบเดินทุ่งให้กับทรัสตีสุเหร่าแห่งนี้ด้วย นับแต่นั้นมาชาวบ้านก็เรียกสุเหร่าแห่งนี้ว่า "สุเหร่าทรายกองดิน"[a][5]

ภายหลังทางราชการได้แบ่งและจัดตั้งเขตการปกครองในระดับตำบลขึ้นใหม่ ส่งผลให้บริเวณชุมชนสุเหร่าทรายกองดิน (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "ทรายกองดิน") ทางฝั่งเหนือของคลองแสนแสบ ย้ายจากตำบลทรายกองดินไปขึ้นกับตำบลทรายกองดินใต้แทน

ประวัติ

เดิมแขวงทรายกองดินเป็นมีฐานะเป็น ตำบลทรายกองดิน ขึ้นกับอำเภอเมือง (อำเภอคลองสามวาเดิม) จังหวัดมีนบุรี จนกระทั่ง พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร[8] อำเภอเมืองซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของจังหวัดมีนบุรีจึงเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอมีนบุรี ต่อมาใน พ.ศ. 2505 กระทรวงมหาดไทยได้แยกหมู่ที่ 1–10, 15 และ 16 ของตำบลทรายกองดินไปจัดตั้งเป็นตำบลทรายกองดินใต้[9] และในปีถัดมาได้ขยายเขตสุขาภิบาลมีนบุรีให้ครอบคลุมตำบลทรายกองดินด้วย[10]

ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมกับจังหวัดธนบุรีแล้วเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[11] จากนั้นใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[12] ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่ ตำบลทรายกองดินจึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงทรายกองดิน และอยู่ในเขตการปกครองของเขตมีนบุรี ก่อนจะย้ายมาขึ้นกับเขตคลองสามวาซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 2540[13]

การคมนาคม

ถนนสายหลักในพื้นที่แขวงทรายกองดิน ได้แก่

ถนนสายรองและทางลัดในพื้นที่แขวงทรายกองดิน ได้แก่

  • ถนนวัดสุขใจ
  • ถนนหทัยมิตร

เชิงอรรถ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร