โฉมหน้าศักดินาไทย

โฉมหน้าศักดินาไทย เป็นผลงานโดย จิตร ภูมิศักดิ์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในชื่อ "โฉมหน้าศักดินาไทยในปัจจุบัน" ในวารสาร นิติศาสตร์ฉบับศตวรรษใหม่ พ.ศ. 2500 ก่อนที่ตีพิมพ์ครั้งที่สองใน พ.ศ. 2517 โดยกลุ่มนักศึกษาธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เชียงใหม่และรามคำแหง[1] จัดเป็นหนึ่งในหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน ประเภทสารคดี

โฉมหน้าศักดินาไทย  
หน้าปกหนังสือฉบับพิมพ์ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2550) โดยสำนักพิมพ์ศรีปัญญา
ผู้ประพันธ์จิตร ภูมิศักดิ์
ประเทศไทย
ภาษาไทย
หัวเรื่องศักดินา, ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย
ประเภทสารคดี
สำนักพิมพ์สภาหน้าโดม ธรรมศาสตร์, สภากาแฟ, เกตรศาสตร์, แนวร่วมนักศึกษาเชียงใหม่ และชมรมคนรุ่นใหม่ รามคำแหง
วันที่พิมพ์พ.ศ. 2500 (บทความวารสาร)
พ.ศ. 2517 (รวมเล่มครั้งแรก)
ชนิดสื่อสิ่งพิมพ์
571 จ433ฉ

ผลงานดังกล่าวเขียนขึ้นในยุคที่ประเทศไทยยังมีสภาพกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา[2] ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเนื่องจากเสนอประวัติศาสตร์ไทยในมุมมองที่แตกต่างไปจากกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์กระแสหลัก ปฏิกิริยาต่อหนังสือนี้ทำให้หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ต้องเขียนหนังสือ "ฝรั่งศักดินา" โต้[2] จิตรใช้วิธีวิเคราะห์แบบวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์ในสำนักลัทธิมากซ์[3]: 19, 24  ทั้งนี้ เป็นผลงานที่ต้นฉบับไม่สมบูรณ์[3]: 24  หนังสือมีเนื้อหากล่าวถึงศักดินาทั่วไปและศักดินาไทย ตลอดจนประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของไทยโดยคร่าว ๆ ตั้งแต่บรรพกาลจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ที่พัฒนาจากสังคมทาสมาเป็นสังคมศักดินา ตลอดจนการดำรงอยู่ของพระมหากษัตริย์ไทยที่สร้างปัญหาให้แก่รัฐและสังคม[2] ชี้ให้เห็นลักษณะขูดรีดของชนชั้นศักดินา หลักฐานยืนยันลำดับชั้นทางสังคมของไทยที่สามารถเปลี่ยนลำดับชั้นทางสังคมได้ยาก สภาพความเป็นอยู่ที่ยากลำบากของชนชั้นไพร่และทาส

เนื้อหา

ในส่วน "กล่าวนำ" จิตรกล่าวว่า จักรวรรดินิยมและศักดินาเป็นตัวการกดขี่ขูดรีดประชาชน กล่าวถึงความหมายของคำว่าจักรวรรดินิยม และชี้ให้เห็นถึงความหมายของศักดินาโดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ในการผลิต

ส่วน "ลักษณะระบบการผลิตศักดินาโดยทั่วไป" นิยาม "ศักดินา" ว่าเป็น "อำนาจที่กำหนดรูปแบบของชีวิตที่มีมากตามปริมาณที่ดิน"[4] กล่าวถึงลักษณะทางเศรษฐกิจในสมัยศักดินา ซึ่งได้แก่ การที่ผู้ทำงานในที่ดินจะต้องเสียค่าเช่าแก่เจ้าศักดินา และอยู่ภายใต้ระบบแรงงานเกณฑ์ กล่าวถึงการต่อสู้ระหว่างชนชั้นต่าง ๆ ในสมัยศักดินา และกล่าวถึงลักษณะทางวัฒนธรรมในสมัยนั้น อันประกอบด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแบบเหลื่อมล้ำ การเหยียดสตรีและเด็ก การผูกขาดทางวัฒนธรรมของชนชั้นศักดินา

ธรรมเกียรติ กันอริ เขียนว่า เนื้อหาของวิทยานิพนธ์ The Organization of Thai Society in the Early Bangkok Period 1782–1873 ของหม่อมราชวงศ์อคิน รพีพันธ์ เห็นพ้องกับเนื้อหาในหนังสือนี้อยู่มาก[3]: 24 

บทวิจารณ์

เครก เรโนลส์เขียนว่า แม้ว่านักเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวไทยในคริสต์ทศวรรษ 1970 จะสอบสวนได้ไกลกว่าจิตร ภูมิศักดิ์แล้ว แต่ผลงานนี้ยังทรงพลังอยู่เพราะเป็นผลงานชิ้นแรกที่บอกเล่าถึงศักดินา[5]: 143 

มีบทวิจารณ์ในหนังสือพิมพ์ ประชาชาติ ระบุว่าจิตรเขียนหนังสือนี้โดยไม่ได้ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ แต่เป็นการตีความโดยใช้ลัทธิมากซ์เข้าไปตีความหมายทุกกรณี และวิจารณ์ต่อไปว่า ผู้อ่านหนังสือนี้คงต้องมีพื้นฐานลัทธิมากซ์มาก่อน[3]: 22 

การดัดแปลง

หนังสือนี้ได้รับการแปลโดยเครก เรโนลส์ (Craig Reynolds) เป็นภาษาอังกฤษ ใช้ชื่อว่า The Real Face of Thai Feudalism Today ทำให้หนังสือดังกล่าวเป็นที่รู้จักในหมู่นักวิชาการนอกประเทศไทยมากขึ้น[6]: 105–6 

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งปฐมภูมิ
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง