โบสถ์นักบุญโปร์ฟีริออส

โบสถ์นักบุญโปร์ฟีริออส (อาหรับ: كنيسة القديس برفيريوس, อักษรโรมัน: Kanīsat al-Qadīs Burfīryūs; Church of Saint Porphyrius) เป็นโบสถ์คริสต์กรีกออร์ทอดอกซ์ในนครกาซา ปาเลสไตน์ โบสถ์นี้สังกัดอัครบิดรแห่งเยรูซาเลม และเป็นโบสถ์ที่เก่าแก่ที่สุดในกาซาที่ยังเปิดประกอบศาสนกิจอยู่จนปัจจุบัน และว่ากันว่าเป็นโบสถ์ที่เก่าที่สุดเป็นอันดับสามของโลก[1] โบสถ์ตั้งอยู่ในย่านเมืองเก่าของกาซา และตั้งชื่อตามบิชอปแห่งกาซาในสมัยศตวรรษที่ 5 นักบุญโปร์ฟีริออส ผู้ซึ่งฝังร่างไว้อยู่ที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือของโบสถ์[2]

โบสถ์นักบุญโปร์ฟีริออส
كنيسة القديس برفيريوس
โบสถ์เมื่อปี 2022
แผนที่
31°30′12″N 34°27′44″E / 31.5033062°N 34.4620836°E / 31.5033062; 34.4620836
ที่ตั้งนครกาซา
ประเทศปาเลสไตน์
นิกายอัครบิดรกรีกออร์ทอดอกซ์แห่งเยรูซาเลม
ประวัติ
อุทิศแก่นักบุญโปร์ฟีริออส
เสกเมื่อ1150
สถาปัตยกรรม
แล้วเสร็จ1150-1160
โครงสร้าง
อาคารยาว22.9 เมตร (75 ฟุต)*
อาคารกว้าง8.9 เมตร (29 ฟุต)*
การปกครอง
อัครมุขมณฑลทีเบอรีอุส
นักบวช
อัครมุขนายกอาเลกซีโอส โมสโชนัส (Alexios Moschonas)

ประวัติศาสตร์

ภูมิหลัง

มีโบสถ์คริสต์สร้างขึ้นที่จุดนี้เก่าแก่ถึงปี 425[3] แต่อาคารโบสถ์หลังปัจจุบันนั้นสร้างขึ้นโดยทัพครูเสดในทศวรรษ 1150s หรือ 1160s และอุทิศแด่นักบุญโปร์ฟีริออส มีหลักฐานจากศตวรรษที่ 15 ที่แสดงให้เห็นว่าโบสถ์นี้ยังอุทิศแด่พระนางพรหมจารีย์มารีอา[4]

มีการบูรณะโบสถ์ในปี 1856[2] ยังคงมีบางโครงสร้างของโบสถ์ที่มาจากสมัยครูเสด กระนั้นส่วนใหญ่เป็นการต่อเติมสร้างเพิ่มในภายหลัง[5]

สงครามระหว่างฮะมาสกับอิสราเอล

ในระหว่างสงครามกาซาปี 2014 ชาวปาเลสไตน์ราว 2,000 คนได้หลบหนีการทิ้งระเบิดของอิสราเอลที่ทำให้มีชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตไปแล้ว 70 รายก่อนหน้า มาลี้ภัยอยู่ที่โบสถ์นี้ ระหว่างการทิ้งระเบิด ครอบครัวต่าง ๆ นอนหลับตามโถงทางเดินและห้องของโบสถ์รวมถึงอาคารที่ติดกัน รวมทั้งมีมื้ออาหารและบริการการแพทย์แก่ผู้ลี้ภัยภายในโบสถ์[6][7]

โบสถ์นี้เป็นพื้นที่ลี้ภัยการทิ้งระเบิดของอิสราเอลอีกครั้งในระหว่างสงครามอิสราเอล–ฮะมาส พ.ศ. 2566[8] กระทั่งวันที่ 19 ตุลาคม 2023 กองกำลังของอิสราเอลยิงระเบิดมิสไซล์รวมสี่ลูกที่ระเบิดในบริเวณโดยรอบซึ่งมีชาวปาเลสไตน์ลี้ภัยอยู่ราว 400-500 คน[9][10][11] ตัวแทนของโบสถ์ได้ยืนยันว่าในบรรดาระเบิดของอิสราเอลนี้ มีโถงของโบสถ์ที่ถูกระเบิดเสียหายสองโถงซึ่งเป็นที่พักพิงของพลเมืองปาเลสไตน์ที่ลี้ภัยอยู่ และเป็นผลให้สีอาคารถล่มหนึ่งหลังของโบสถ์[12][13] มีผู้เสียชีวิตชาวปาเลสไตน์ในพื้นที่โบสถ์อย่างน้อย 16-18 ราย และอีกไม่ทราบจำนวนที่ติดภายใต้ซากอาคาร[14][15]

ทางการอิสราเอลออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อการโจมตีทางอากาศนี้ซึ่งอ้างว่ามีเป้าหมายคือศูนย์บัญชาการของฮะมาสที่ตั้งอยู่ใกล้กัน รวมถึงระบุว่าเหตุการณ์นี้ที่โบสถ์ได้รับผลกระทบตลอดจนผู้ลี้ภัยเสียชีวิตยังอยู่ภายใต้การทบทวน[16][17][18]

สถาปัตยกรรม

โบสถ์นักบุญโปร์ฟีริออสมีแปลนรูปสี่เหลี่ยม ปลายเป็นหลังคาครึ่งโดม[19] มีทางเท้าขนาด 1.8 เมตร (5.9 ฟุต)* ใต้ระดับพื้นทางใต้ของโบสถ์ และอีก 3 เมตร (9.8 ฟุต)* ใต้ระดับพื้นทางเหนือของโบสถ์ ทำให้มีข้อเสนอว่าโบสถ์หลังปัจจุบันสร้างขึ้นทับโบสถ์หลังเดิมที่มีอยู่มาก่อนหน้า[4] โบสถ์ประกอบด้วยทางเดินทางเดียว ขนาดภายในของโสถ์อยู่ที่ ยาว 22.9 เมตร (75 ฟุต)* กว้าง 8.9 เมตร (29 ฟุต)* ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างมีความคล้ายกันกับอาสนวิหารนักบุญยอห์นผู้ให้บัปติศมา (คือมัสยิดใหญ่กาซาในปัจจุบัน)[4]

โบสถ์มีสามทางเข้า ทางแรกเป็นพอร์ทีโค ที่มีเสาหินอ่อนสามเสารองรับส่วนโค้งสองยอด[19] ฐานของเสาหินอ่อนมีอายุมาจากสมัยครูเสด[20] ส่วนอีกทางเชื่อมกับส่วนของอาคารที่ใหม่กว่า มีบันไดติดอยู่สำหรับเดินไประดับทางเท้า[5]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง