ไข้เลือดออกไครเมีย–คองโก

โรคติดเชื้อไวรัส

ไข้เลือดออกไครเมีย–คองโก (อังกฤษ: Crimean–Congo hemorrhagic fever, CCHF) เป็นโรคติดเชื้อไวรัส[1] อาการโรค ได้แก่ ไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ อาเจียน ท้องร่วงและมีจุดเลือดออก[1] ผู้ป่วยเริ่มแสดงอาการน้อยกว่า 2 สัปดาห์หลังติดเชื้อ[1] อาการแทรกซ้อนรวมถึงตับวาย[1] ผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นมักฟื้นตัวภายใน 2 สัปดาห์หลังแสดงอาการ[1]

ไข้เลือดออกไครเมีย–คองโก
ผู้ป่วยไข้เลือดออกไครเมีย–คองโกในปี ค.ศ. 1969
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ
อาการไข้, ปวดกล้ามเนื้อ, ปวดศีรษะ, อาเจียน, ท้องร่วง, เลือดออกในผิวหนัง[1]
ภาวะแทรกซ้อนตับวาย[1]
การตั้งต้นรวดเร็ว[1]
ระยะดำเนินโรคสองสัปดาห์[1]
วิธีวินิจฉัยการตรวจสารภูมิต้านทาน, อาร์เอ็นเอของไวรัส, โปรตีนของไวรัส (แอนติเจน)[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันไข้เด็งกี, ไข้คิว,[2] โรคไวรัสอีโบลา[3]
การรักษาการรักษาตามอาการ, ไรบาวิริน[1]
พยากรณ์โรค~25% เสี่ยงต่อการเสียชีวิต[1]

ไข้เลือดออกไครเมีย–คองโกเป็นไข้เลือดออกจากไวรัสชนิดหนึ่ง[1] ไวรัสก่อโรคเป็นอาร์เอ็นเอไวรัสสกุล Orthonairovirus วงศ์ Nairoviridae แพร่กระจายผ่านเห็บหรือการสัมผัสกับเลือด สารคัดหลั่งและอวัยวะของสัตว์หรือผู้ติดเชื้อ[1] นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อจากคนสู่คนผ่านสารน้ำ[1] ระยะฟักตัวอยู่ที่ 1–3 วันหลังถูกเห็บกัดหรืออาจนานถึง 9 วัน ขณะที่หากสัมผัสเลือดหรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่ติดเชื้อระยะฟักตัวอยู่ที่ 5–6 วันหรืออาจนานสุด 13 วัน[4] ชาวไร่ชาวนาและผู้ทำงานในโรงฆ่าสัตว์มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ[1] การวินิจฉัยโรคใช้การตรวจสารภูมิต้านทาน อาร์เอ็นเอของไวรัสหรือแอนติเจน[1]

ยังไม่มีวิธีรักษาที่องค์การอนามัยโลกและองค์การอาหารและยาสหรัฐรับรอง และยังไม่มีวัคซีนจำหน่ายเชิงพาณิชย์[1] การป้องกันโรคคือลดโอกาสการถูกเห็บกัด รักษาความสะอาดในกระบวนการแปรรูปเนื้อสัตว์และปฏิบัติตามมาตรการดูแลสุขภาพสากล[1] การรักษาใช้การรักษาตามอาการ[1] มีการแนะนำการใช้ยาต้านไวรัสไรบาวิริน[1]

มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกไครเมีย–คองโกในหลายพื้นที่ เช่น แอฟริกา รัสเซีย บอลข่าน ตะวันออกกลางและเอเชีย[1] การปะทุของโรคขนาดย่อมเกิดขึ้นทั่วไปในพื้นที่ประจำถิ่นของไวรัส[1] ในปี ค.ศ. 2013 อิหร่าน รัสเซีย ตุรกีและอุซเบกิสถานรายงานผู้ป่วยโรคนี้มากกว่า 50 ราย[2] อัตราป่วยตายอยู่ที่ 10–40% แม้จะมีการพบการปะทุของโรคบางครั้งที่อัตราป่วยตายสูงถึง 80%[1] ไวรัสก่อโรคถูกพบครั้งแรกที่ไครเมียในคริสต์ทศวรรษที่ 1940 ภายหลังถูกระบุว่าเป็นชนิดเดียวกับที่ก่อโรคไข้เลือดออกคองโก[5] ในปี ค.ศ. 1973 คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยอนุกรมวิธานของไวรัสประกาศชื่อไวรัสไข้เลือดออกไครเมีย–คองโกเป็นชื่อทางการ[6]

20 ปีที่ผ่านมา มีการปะทุของโรคไข้เลือดออกไครเมีย–คองโกในยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะอดีตสหภาพโซเวียต เมดิเตอร์เรเนียน ตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เอเชียกลาง ยุโรปใต้ แอฟริกา ตะวันออกกลางและอนุทวีปอินเดีย ไข้เลือดออกไครเมีย–คองโกอยู่ในบัญชีโรคลำดับต้นสำหรับวิจัยและพัฒนาขององค์การอนามัยโลก[7] และบัญชีโรคประเภท A ของสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติสหรัฐ ในฐานะโรคที่มีความเสี่ยงสูงต่อความมั่นคงแห่งชาติและสาธารณสุข[8]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก
🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร