วงศ์ปลาตะเพียน

(เปลี่ยนทางจาก Cyprinidae)
วงศ์ปลาตะเพียน
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: อีโอซีน-ปัจจุบัน[1]
ปลากระแห (Barbonymus schwanenfeldii) ปลาชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน ที่มีเกล็ดสีเงินแวววาว ครีบต่าง ๆ เป็นสีแดงเข้มมีแถบสีดำ จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
ปลาไน (Cyprinus carpio) ซึ่งเป็นต้นตระกูลของปลาแฟนซีคาร์ป ในปัจจุบัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Cypriniformes
วงศ์:Cyprinidae
วงศ์ย่อย[2]

วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, อังกฤษ: barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง")ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว [1]

ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes

เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชนิด

ลักษณะ

ไม่มีฟันที่ริมฝีปาก แต่มีฟันซี่ใหญ่อยู่ในลำคอ เกล็ดเป็นแบบขอบเรียบและบาง ครีบเป็นก้านครีบอ่อน ครีบหางส่วนมากเป็นเว้าแฉกลึก ครีบท้องอยู่ค่อนมาทางตอนกลางของลำตัวด้านท้อง ซึ่งลักษณะสำคัญของปลาในวงศ์นี้ก็คือ

1. มีฟันเฉพาะที่ลำคอ เกิดจากกระดูกลำคอด้านล่างอันสุดท้าย มีอยู่ประมาณ 1-3 แถว และมีแผ่นกระดูกที่ฐานบนกระดูกลำคอ ช่วยในการบดย่อยอาหาร

2. มีเกล็ดแบบขอบเรียบบนลำตัว มีหัวไม่มีเกล็ดและไม่มีครีบไขมัน

3. ถุงลมแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนแรกไม่ติดกับกระดูกสันหลัง ตอนหลังมีขนาดเล้กฝังอยู่แน่นกับกระดูกสันหลัง[3]

ลำตัวมักแบนข้างหรือเป็นแบบปลาตะเพียนที่รู้จักดี แต่ก็มีบางชนิดที่ลำตัวค่อนข้างกลม เช่น ปลาเล็บมือนาง (Crossocheilus reticulatus) เป็นต้น ปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์คือ ปลากระโห้ (Catlocarpio siamensis) ที่ยาวเต็มที่ได้เกือบ 3 เมตร อาศัยเฉพาะในน้ำจืด ส่วนมากเป็นปลากินพืช แต่ก็พบมีหลายชนิดกินเนื้อหรือแพลงก์ตอน ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกันมาก ยกเว้นบางชนิดสีและตุ่มข้างแก้มในตัวผู้ ต่างจากตัวเมีย แพร่พันธุ์ขยายพันธุ์โดยการวางไข่จำนวนมาก พบในแม่น้ำเขตร้อน เขตอบอุ่นและเขตหนาวเกือบทั่วโลก ยกเว้นขั้วโลก, ทวีปออสเตรเลีย และทวีปอเมริกาใต้

จัดเป็นวงศ์ปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมาก[3]

ตัวอย่างปลาในวงศ์ปลาตะเพียน

หมายเหตุ

  • การแบ่งวงศ์ย่อยของปลาในวงศ์ปลาตะเพียนยังไม่เป็นที่แน่นอน เพราะการจัดแบ่งของนักมีนวิทยาแต่ละบุคคลก็แตกต่างกันออกไป[3]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร