สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย

(เปลี่ยนทางจาก Olympic Council of Asia)

สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (อังกฤษ: Olympic Council of Asia; OCA) เป็นองค์กรบริหารจัดการแข่งขันกีฬาระดับทวีปเอเชียในปัจจุบัน สืบต่อจากสหพันธ์เอเชียนเกมส์ ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงคูเวตซิตีของรัฐคูเวต

สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย
Olympic Council of Asia
ประเทศสมาชิกแสดงด้วยสีเขียวบนแผนที่
ชื่อย่อOCA
คําขวัญEver Onward (ก้าวหน้าตลอดไป)
ก่อนหน้าสหพันธ์เอเชียนเกมส์
ก่อตั้ง16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525
ประเภทสหพันธ์กีฬา
วัตถุประสงค์บริหารจัดการแข่งขัน
กีฬาในทวีปเอเชีย (2525-ปัจจุบัน)
สํานักงานใหญ่คูเวต กรุงคูเวตซิตี, รัฐคูเวต
สมาชิก
45 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ
ภาษาทางการ
อังกฤษ อังกฤษ
รักษาการประธาน
อินเดีย ราชา รันธีร์ ซิงห์
เว็บไซต์www.ocasia.org

ชาติสมาชิก

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติซึ่งเก่าแก่ที่สุด คือของญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ โดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ให้การรับรองเมื่อ พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ส่วนติมอร์-เลสเตเป็นคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติใหม่ล่าสุด ซึ่งเข้าร่วมเมื่อปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) สำหรับคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งมาเก๊าของจีนนั้น สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียให้การรับรอง แต่คณะกรรมการโอลิมปิกสากลไม่ให้การรับรอง และไม่ได้เข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก ซึ่งในตารางต่อไปนี้ ปีที่ปรากฏคือ ปีคริสต์ศักราชที่ก่อตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาตินั้นๆ และปีที่คณะกรรมการโอลิมปิกสากล ให้การรับรองคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาตินั้นๆ หากไม่ใช่ปีเดียวกัน

ประเทศรหัสคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติก่อตั้งเมื่ออ้างอิง
อัฟกานิสถานAFGคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติอัฟกานิสถาน1935/1936[1]
บาห์เรนBRNคณะกรรมการโอลิมปิกบาห์เรน1978/1979[2]
บังกลาเทศBANสมาคมโอลิมปิกแห่งบังกลาเทศ1979/1980[3]
ภูฏานBHUคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งภูฏาน1983[4]
บรูไนBRUสภาโอลิมปิกแห่งชาติ บรูไนดารุสซาลาม1984[5]
กัมพูชาCAMคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ กัมพูชา1983/1994[6]
จีนCHNคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งจีน1910/1979[7]
ฮ่องกงHKGสหพันธ์กีฬาและคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งฮ่องกงของจีน1950/1951[8]
อินเดียINDสมาคมโอลิมปิกแห่งอินเดีย1927[9]
อินโดนีเซียINAคณะกรรมการกีฬาแห่งชาติ อินโดนีเซีย1946/1952[10]
อิหร่านIRIคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน1947[11]
อิรักIRQคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ อิรัก1948[12]
ญี่ปุ่นJPNคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งญี่ปุ่น1911/1912[13]
จอร์แดนJORคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งจอร์แดน1957/1963[14]
คาซัคสถานKAZคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ สาธารณรัฐคาซักสถาน1990/1993[15]
เกาหลีเหนือPRKคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี1953/1957[16]
เกาหลีใต้KORคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งเกาหลี1946/1947[17]
คูเวตKUWคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งคูเวต1957/1966[18]
คีร์กีซสถานKGZคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ สาธารณรัฐคีร์กีซสถาน1991/1993[19]
ลาวLAOคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติลาว1975/1979[20]
เลบานอนLBNคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งเลบานอน1947/1948[21]
มาเก๊าMACคณะกรรมการกีฬาและโอลิมปิกมาเก๊า1987/—[22] เก็บถาวร 2014-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
มาเลเซียMASสภาโอลิมปิกแห่งมาเลเซีย1953/1954[23]
มัลดีฟส์MDVคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งมัลดีฟส์1985[24]
มองโกเลียMGLคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ มองโกเลีย1956/1962[25]
พม่าMYAคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งพม่า1947[26]
เนปาลNEPคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งเนปาล1962/1963[27]
โอมานOMAคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งโอมาน1982[28]
ปากีสถานPAKคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งปากีสถาน1948[29]
ปาเลสไตน์PLEคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งปาเลสไตน์1995[30]
ฟิลิปปินส์PHIคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งฟิลิปปินส์1911/1929[31]
กาตาร์QATคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งกาตาร์1979/1980[32]
ซาอุดีอาระเบียKSAคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งซาอุดีอาระเบีย1964/1965[33]
สิงคโปร์SGPสภาโอลิมปิกแห่งชาติ สิงคโปร์1947/1948[34]
ศรีลังกาSRIคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ศรีลังกา1937[35]
ซีเรียSYRคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งซีเรีย1948[36]
จีนไทเปTPEคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งจีนไทเป1960[37]
ทาจิกิสถานTJKคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ สาธารณรัฐทาจิกิสถาน1992/1993[38]
ไทยTHAคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย1948/1950[39]
ติมอร์-เลสเตTLSคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ติมอร์-เลสเต2003[40]
เติร์กเมนิสถานTKMคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ เติร์กเมนิสถาน1990/1993[41]
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์UAEคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์1979/1980[42]
อุซเบกิสถานUZBคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน1992/1993[43]
เวียดนามVIEคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งเวียดนาม1976/1979[44]
เยเมนYEMคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งเยเมน1971/1981[45]

อดีตสมาชิก

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่ง อิสราเอล (อังกฤษ: Olympic Committee of Israel; รหัส: ISR; ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2476; ค.ศ. 1933 - ไอโอซีรับรองเมื่อ พ.ศ. 2495; ค.ศ. 1952 [46]) เคยเป็นชาติสมาชิกของสหพันธ์เอเชียนเกมส์ แต่ถูกกีดกันออกจากสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ขณะที่มีการก่อตั้งขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) เนื่องจากเหตุการณ์สังหารหมู่ ระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 20 ที่นครมิวนิกของเยอรมนีตะวันตก ปัจจุบันอิสราเอลเป็นสมาชิกของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งยุโรป (European Olympic Committees) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994)

การแข่งขันที่บริหารจัดการ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย