คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ (อังกฤษ: National Olympic Committee; อักษรย่อ: NOC) เป็นองค์กรผู้มีอำนาจระดับประเทศ ในกระบวนการโอลิมปิกระดับนานาชาติ ภายใต้การควบคุมโดย คณะกรรมการโอลิมปิกสากล นอกจากนั้น คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติทั้งหลาย ยังมีหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาการของนักกีฬา และการฝึกอบรมผู้ฝึกสอน ตลอดจนเป็นเจ้าหน้าที่การกีฬาระดับชาติภายในภูมิภาคของตน

สมาชิกสมาคมคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ทวีปแอฟริกาแสดงด้วยสีดำ ทวีปอเมริกาแสดงด้วยสีแดง ทวีปเอเชียแสดงด้วยสีเหลือง ทวีปยุโรปแสดงด้วยสีเขียว และทวีปโอเชียเนียแสดงด้วยสีฟ้า

ในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) มีคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ซึ่งผู้แทนของทั้งประเทศเอกราช และดินแดนปกครองพิเศษต่างๆ รวมทั้งหมด 206 ชุด โดยในบรรดาสมาชิกสหประชาชาติ 193 ประเทศ มีคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติทั้งหมด 197 ประเทศ[ต้องการอ้างอิง] รวมทั้งดินแดนอื่นอีก 9 แห่งดังต่อไปนี้

ระดับทวีป

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติทั้งหลาย ล้วนเป็นสมาชิกของ สมาคมคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ (Association of National Olympic Committees; ANOC) และยังแบ่งออกเป็นสมาคมระดับทวีปอีก 5 แห่งด้วย

ทวีปสมาคมจำนวนเอ็นโอซีเอ็นโอซีแรกสุด (พ.ศ.)เอ็นโอซีล่าสุด (พ.ศ.)
สมาคมคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติแอฟริกา54  อียิปต์ (2453)  ซูดานใต้ (2558)
องค์การกีฬาแพนอเมริกัน41  สหรัฐ (2437)  ดอมินีกา (2536)
 เซนต์คิตส์และเนวิส (2536)
 เซนต์ลูเชีย (2536)
สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย44[3]  ญี่ปุ่น (2455)  ติมอร์-เลสเต (2546)
คณะกรรมการโอลิมปิกยุโรป50  ฝรั่งเศส (2437)  คอซอวอ (2557)
คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติโอเชียเนีย17  ออสเตรเลีย (2438)  ตูวาลู (2550)

รายชื่อคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ เรียงลำดับตามปีพุทธศักราชที่ไอโอซีให้การรับรอง

ต่อไปนี้เป็นรายชื่อตามลำดับเวลา ของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติจาก 204 ประเทศ ซึ่งคณะกรรมการโอลิมปิกสากลให้การรับรอง ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) คณะกรรมการของหลายประเทศในจำนวนนี้ ก่อตั้งขึ้นมาแล้วหลายปีก่อนจะให้การรับรอง ขณะที่อีกส่วนหนึ่งมีการรับรองโดยทันทีเมื่อก่อตั้งขึ้น สำหรับคณะกรรมการโอลิมปิกของรัฐในอดีตซึ่งทุกวันนี้ไม่มีอยู่ จะแสดงด้วยตัวเอน

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่ไม่ได้การรับรอง

คณะกรรมการโอลิมปิกและกีฬาแห่งมาเก๊า ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) และมีความพยายามที่จะลงทะเบียนกับไอโอซีมาโดยตลอด แต่ยังคงไม่มีการรับรองอย่างเป็นทางการ ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันในโอลิมปิก ภายใต้ชื่อ มาเก๊าของจีน อย่างไรก็ตาม ยังได้เข้าแข่งขันในกีฬาพาราลิมปิก เช่นเดียวกับ หมู่เกาะแฟโร ที่มีการรับรองคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งชาติ[5]

ประเทศอื่นๆ ที่คณะกรรมการโอลิมปิกยังไม่ให้การรับรอง ประกอบด้วย คาตาโลเนีย[6] ยิบรอลตา[7] เฟรนช์โปลินีเซีย[8] นีอูเอ[9] โซมาลิแลนด์[10] นิวแคลิโดเนีย[11] เคอร์ดิสถาน[12] ไซปรัสเหนือ[13] อับคาเซีย[14] ชาวอเมริกันพื้นเมือง[15][16] หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา แองกวิลลา มอนต์เซอร์รัต และ หมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส[17]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง