ข้ามไปเนื้อหา

กัมนอว์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คัมป์นู
แผนที่
ชื่อเต็มสปอติฟายกัมนอว์
ที่ตั้งบาร์เซโลนา แคว้นกาตาลุญญา ประเทศสเปน
เจ้าของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา
ที่นั่งพิเศษ23 ที่นั่ง[7]
ความจุ99,354 ที่นั่ง[6]
สถิติผู้ชม120,000 คน (บาร์เซโลนา ปะทะ ยูแวนตุส), ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบสี่ทีมสุดท้าย ค.ศ. 1986[8]
ขนาดสนาม105 โดย 68 เมตร (115 โดย 74 หลา)[1]
พื้นผิวหญ้าผสมกราสมาสเตอร์[5] (เส้นใยสังเคราะห์ 5%, หญ้าธรรมชาติ 95%)
ป้ายแสดงคะแนนโซนี่
การก่อสร้าง
ก่อสร้างค.ศ. 1954–1957
เปิดใช้สนาม24 กันยายน 1957; 66 ปีก่อน (1957-09-24)[1]
ปรับปรุงคาดการณ์ว่า ค.ศ. 2026[2]
ต่อเติมค.ศ. 1982, 1994,[3] คาดการณ์ว่า ค.ศ. 2026[4]
งบประมาณในการก่อสร้าง1.73 พันล้านยูโร
สถาปนิกฟรันแซ็สก์ มิดจันส์ และฌูแซ็ป โซเตรัส
การใช้งาน
สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา (ค.ศ. 1957–ปัจจุบัน)
ฟุตบอลทีมชาติกาตาลุญญา (บางนัด)

กัมนอว์ (กาตาลา: Camp Nou; "สนามใหม่")[9][10] หรือชื่อทางการในปัจจุบันว่า สปอติฟายกัมนอว์ ด้วยเหตุผลด้านการสนับสนุน เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา ตั้งอยู่ที่เมืองบาร์เซโลนา แคว้นกาตาลุญญา ประเทศสเปน เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1954 และเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1957 มีความจุทั้งสิ้น 99,354 ที่นั่ง[11] ถือเป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดในสเปน และทวีปยุโรป และเป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก

กัมนอว์ เป็นสนามจัดการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกสองครั้ง ในปี ค.ศ. 1989 และ 1999 ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพสองครั้ง อินเตอร์-ซิตีส์แฟส์คัพสี่ครั้ง ยูฟ่าซูเปอร์คัพสี่ครั้ง โกปาเดลเรย์สี่ครั้ง โกปาเดลาลิกาสองครั้ง และซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา 21 ครั้ง นอกจากนี้ ที่นี่ยังเป็นสถานที่จัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1964 จำนวนสองจากที่สี่นัด รวมถึงฟุตบอลโลก 1982 5 นัด (รวมถึงนัดเปิดการแข่งขัน) รวมทั้ง 2 จาก 4 นัดของ และรอบชิงชนะเลิศของกีฬาฟุตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 1992

ในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 2022 มีการประกาศว่าสปอติฟาย บริการสตรีมเพลง ผ่านข้อตกลงที่จะรับสิทธิ์ในการตั้งชื่อในสนามกีฬากับสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา ด้วยเงินมากถึง 310 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังสภาผู้แทนพิเศษของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาอนุมัติข้อตกลงการเป็นสปอนเซอร์กับสปอติฟายในวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2022 จึงมีการเปลี่ยนชื่อสนามเป็น สปอติฟายกัมนอว์ อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2022[12]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2022 มีการประกาศบูรณะซ่อมแซมสนามกีฬาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2023 หลังจบฤดูกาล[13]

ฟุตบอลโลก 1982

สนามกีฬานี้ถือเป็นหนึ่งใน 17 สนามในฟุตบอลโลก 1982 และจัดการแข่งขันดังนี้:

วันที่ทีม 1ผลทีม 2รอบผู้เข้าชม
13 มิถุนายน 1982ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา0–1ธงชาติเบลเยียม เบลเยียมกลุ่ม 3 (รอบแรก)95,000
28 มิถุนายน 1982ธงชาติโปแลนด์ โปแลนด์3–0ธงชาติเบลเยียม เบลเยียมกลุ่มเอ (รอบ 2)65,000
1 กรกฎาคม 1982ธงชาติเบลเยียม เบลเยียม0–1ธงชาติสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต45,000
4 กรกฎาคม 1982ธงชาติสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต0–0ธงชาติโปแลนด์ โปแลนด์65,000
8 กรกฎาคม 1982ธงชาติโปแลนด์ โปแลนด์0–2ธงชาติอิตาลี อิตาลีรอบรองชนะเลิศ50,000

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น


🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร