ไข่มุกด์ ชูโต

(เปลี่ยนทางจาก ไข่มุกต์ ชูโต)

ไข่มุกด์ ชูโต เป็นประติมากรหญิงคนสำคัญของประเทศไทย โดยได้รับการยกย่องให้เป็นประติมากรหญิงคนแรกของประเทศไทย เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2481 ที่โรงพยาบาลศิริราช เป็นบุตรีของ อำมาตย์เอก พระมัญชุวาที (โชติ ชูโต) และนางมัญชุวาที (แอ๋ว ชูโต) ข้าหลวงในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยอยู่อาศัยที่บ้านขมิ้น บนถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จนวาระสุดท้ายของชีวิต[1]

ไข่มุกด์ ชูโต
เกิด19 เมษายน พ.ศ. 2481
เสียชีวิต31 ตุลาคม พ.ศ. 2539 (58 ปี)
โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่าโรงเรียนราชินี
คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ผลงานเด่นพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล, พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์

ไข่มุกด์จบการศึกษาขั้นเตรียมอุดมศึกษาจากโรงเรียนราชินี และจบการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากคณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร (ปัจจุบันคือ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร) เริ่มทำงานครั้งแรกให้กับองค์กร USOM และ Getesner ตามลำดับ ก่อนจะลาออกจากงานประจำมาทำงานอิสระ โดยรับทำงานศิลป์หลายชนิด เช่น ประติมากรรม การตกแต่งสวน การตกแต่งภายใน เขียนแบบ ฯลฯ จนเริ่มมีชื่อเสียงในวงการ

ต่อมา นายชูพาสน์ ชูโต ข้าราชการประจำสำนักพระราชวัง ผู้เป็นญาติได้ชักชวนให้เข้าถวายตัวปฏิบัติงานด้านประติมากรรมต่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยได้สร้างผลงานชิ้นแรกถวายคือ รูปปั้นกินรีแม่ลูก จำนวน 2 ชุด ปัจจุบันติดตั้ง ณ สวนศิวาลัยในพระบรมมหาราชวัง และในบริเวณสวนของพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ นอกจากนี้ไข่มุกด์ยังถวายงานต่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เช่นกัน[ต้องการอ้างอิง]

เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2539 ไข่มุกด์เกิดอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน หลังเดินทางกลับจากการตรวจดูงานหล่อพระพุทธรูปถวายต่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่โรงหล่อบนถนนพุทธมณฑล สาย 4 โดยได้รับการปฐมพยาบาลที่โรงพยาบาลธนบุรี ซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลศิริราช และได้เสียชีวิตลงด้วยอาการปอดบวมและระบบหายใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ด้วยวัย 59 ปี[2]

ผลงานสำคัญ

ผลงานที่เป็นที่จดจำของอาจารย์ไข่มุกด์ ชูโต เช่น

พระบรมรูป/พระรูปสถานที่จังหวัดภาพ
พระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาลด้านหน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร
พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ข่วงสามกษัตริย์จังหวัดเชียงใหม่
หม่อมเจ้าวงศ์ทิพย์สุดา เทวกุลโรงเรียนราชินีบนกรุงเทพมหานคร
สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธรโรงเรียนราชินีบนกรุงเทพมหานคร
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกอาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้านหน้ากระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
เจ้าพระยาสุลวะลือไชยสงคราม (เจ้าทิพย์ช้าง)จังหวัดลำปาง
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทกองพันทหารราบที่ 7 ค่ายมหาสุรสิงหนาทจังหวัดระยอง
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัยทุ่งมะขามหย่องจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

และยังมีผลงานแกะสลักที่ตกแต่งภายในอาคารของโรงแรมต่าง ๆ เช่น โรงแรมนารายณ์ และ โรงแรมดุสิตธานี

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร