กระรอกสีสวย

กระรอกสีสวย
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไพลสโตซีนยุคต้น - ปัจจุบัน
กระรอกสวน หรือกระรอกท้องแดง (C. erythraeus)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Mammalia
อันดับ:Rodentia
วงศ์:Sciuridae
วงศ์ย่อย:Callosciurinae
หรือ Sciurinae[1]
สกุล:Callosciurus
Gray, 1867[1]
ชนิด
15 ชนิด (ดูในเนื้อหา)

กระรอกสีสวย (อังกฤษ: Beautiful squirrels) เป็นสกุลของสัตว์ฟันแทะ จำพวกกระรอก ในสกุล Callosciurus (/คาล-โล-ซิ-อู-รัส/)

มีลักษณะโดยทั่วไป คือ หัวกลม ใบหูกลม ตาโต ขนหางฟูเป็นพวง มีความยาวโดยเฉลี่ยส่วนหัวและลำตัว 13-27 เซนติเมตร (5.1-11 นิ้ว) ความยาวหางประมาณ 13-27 เซนติเมตร (5.1-11 นิ้ว) เช่นกัน ส่วนใหญ่มีสีเขียวมะกอกหรือสีเทา มีลายขีดหรือลายแถบสีคล้ำบริเวณด้านข้างลำตัว ส่วนท้องเป็นสีขาวหรือสีเหลืองนวล แต่ส่วนใหญ่มักจะมีสีสันที่หลากหลายมาก เช่น อาจจะมีสีขาว, สีแดงสด หรือสีน้ำตาล บริเวณด้านข้างลำตัวได้ หรืออาจจะเป็นสีขาวล้วนทั้งตัวก็ได้

เป็นกระรอกที่แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ จนถึงตอนใต้ของจีน และเกาะไต้หวัน[2] แพร่กระจายพันธุ์ไปในหลายภูมิประเทศตั้งแต่ป่าดิบทึบ จนถึงสวนสาธารณะในชุมชนเมือง ส่วนใหญ่จะหากินตามลำพังเพียงตัวเดียว หากินบนต้นไม้ในเวลากลางวันเป็นหลัก กินผลไม้, ลูกไม้, ยอดอ่อนของต้นไม้ หรือใบไม้ต่าง ๆ เป็นหลัก และอาจกินแมลง, หนอน, สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก หรือขโมยไข่นกเป็นอาหารได้ด้วย สร้างรังบนต้นไม้ ออกลูกครั้งละ 1-5 ตัว ตัวเมียมีเต้านม 2-3 คู่[3][4][5]

แบ่งออกได้เป็น 15 ชนิด และหลากหลายมากมายชนิดย่อยและสีสัน[2] โดยมีกระรอกสามสี เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด และกระรอกหลากสี มีความหลากหลายทางสีสันจึงแบ่งเป็นชนิดย่อยมากที่สุด[6] [7]

การจำแนก

(ไม่นับชนิดย่อย)[1]

  • Callosciurus adamsi (Kloss, 1921)
  • Callosciurus albescens (Bonhote, 1901)
  • Callosciurus baluensis (Bonhote, 1901)
  • Callosciurus caniceps (Gray, 1842) – กระรอกปลายหางดำ
  • Callosciurus erythraeus (Pallas, 1779) – กระรอกสวน, กระรอกท้องแดง
  • Callosciurus finlaysonii (Horsfield, 1824) – กระรอกหลากสี
  • Callosciurus inornatus (Gray, 1867)
  • Callosciurus melanogaster (Thomas, 1895)
  • Callosciurus nigrovittatus (Horsfield, 1824) – กระรอกลายท้องเทา
  • Callosciurus notatus (Boddaert, 1785) – กระรอกลายท้องแดง
  • Callosciurus orestes (Thomas, 1895)
  • Callosciurus phayrei (Blyth, 1856)
  • Callosciurus prevostii (Desmarest, 1822) – กระรอกสามสี
  • Callosciurus pygerythrus (Geoffroy Saint Hilaire, 1831) – กระรอกอิรวดี, กระรอกท้องแดง
  • Callosciurus quinquestriatus (Anderson, 1871)

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Callosciurus ที่วิกิสปีชีส์

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร