กลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์

กลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ หรือ เครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน หรือที่นิยมเรียกกันว่า กลุ่มคนเสื้อหลากสี เป็นการรวมตัวของประชาชนเพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553 จากการชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์[1] และให้กำลังใจรัฐบาลที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี และทหาร โดยการชุมนุมเป็นไปในลักษณะไม่มีสีเสื้อเป็นสัญลักษณ์อย่างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน (นปช.) มี ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ เป็นผู้นำการชุมนุม[2]

การรวมตัว

กลุ่มคนเสื้อหลากสี รวมตัวกันครั้งแรกโดยผู้ใช้เฟซบุ๊ก โดย นายภัคเดช ปรีชาชนะชัย โดยใช้ชื่อว่า กลุ่มมั่นใจคนไทยเกิน 1 ล้าน ต่อต้านการยุบสภา ซึ่งเป็นการรวมตัวกันแสดงความเห็นของผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553 และข้อเสนอที่เรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา

โดยเริ่มครั้งแรกที่เคลื่อนไหวในเฟซบุ๊กนี้เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553 และมีจำนวนผู้เข้าร่วมด้วยวันหนึ่งจำนวนมากประมาณ 2,000 คน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละวัน[3]

นอกจากนี้แล้วกลุ่มคนเสื้อหลากสียังผนวกรวมกับกลุ่มสหเครือข่ายภาคประชาชน หรือกลุ่มคนเสื้อสีชมพู ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เป็นคณาจารย์หรือศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่รวมตัวกันก่อนหน้านั้นที่สวนลุมพินีหรือในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553 จากนั้นได้มารวมตัวกันราว 500 คน ที่สวนเบญจกิติ ข้างศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2553 หลังการปะทะกันระหว่างทหารและกลุ่ม นปช. หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ที่แยกคอกวัว เพียงหนึ่งวัน เพื่อแสดงถึงความไม่เห็นด้วยของการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง นำโดย พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์[4]

กิจกรรม

กลุ่มคนเสื้อหลากสี รวมตัวกันทำกิจกรรมครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553 ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยมีผู้เข้าร่วมเริ่มแรกเพียง 20 คนเท่านั้น[3] ก่อนที่จะมีกิจกรรมเดียวกันนี้อีกในวัดถัดมา ณ สถานที่เดียวกัน และมีผู้เข้าร่วมกันมากขึ้น เริ่มตั้งแต่เวลา 16.00 จนถึง 18.00 น. ของทุกวัน และร้องเพลงชาติไทย, เพลงสดุดีมหาราชา และสรรเสริญพระบารมี ก่อนยุติชุมนุม

วันที่ชุมนุม, สถานที่และกิจกรรมพิเศษ

วันที่ชุมนุมสถานที่กิจกรรมพิเศษ
13 เมษายนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
14 เมษายนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
15 เมษายนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
16 เมษายนกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ให้กำลังใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และทหาร
ตั้งแต่เวลา 09.00 - 14.00 น.
17 เมษายนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
18 เมษายนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเดิมมีแผนเดินไปสวนสันติภาพด้วย แต่ได้ยกเลิกไป[5]
19 เมษายนสวนจตุจักร
20 เมษายนลานพระบรมรูปทรงม้า
21 เมษายนวงเวียนใหญ่
22 เมษายนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
23 เมษายนลานพระบรมรูปทรงม้า
24 เมษายนสวนหลวง ร.9 (ช่วงเช้า) [6]
สวนจตุจักร (ช่วงบ่าย)
25 เมษายนวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ช่วงเช้า) [7]
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ช่วงบ่าย)
ในช่วงเช้ารวมตัวกันสวดมนต์ขอพรให้ประเทศไทย
26 เมษายนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
27 เมษายนวงเวียนโอเดียน (หลัก)
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
จัดชุมนุมพร้อมกันถึง 2 ที่
28 เมษายนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
29 เมษายนงด
30 เมษายนกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์มอบดอกไม้ให้กำลังใจทหาร
1 พฤษภาคมงดเดิมจะจัดเป็นการชุมนุมใหญ่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า
แต่ติดกิจกรรมในวันแรงงานจึงเลื่อนไป
2 พฤษภาคมลานพระบรมรูปทรงม้า
3 พฤษภาคมอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
4 พฤษภาคมอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
5 พฤษภาคมงดวันฉัตรมงคล
6 พฤษภาคมอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
7 พฤษภาคมอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
8 พฤษภาคมวงเวียนใหญ่
9 พฤษภาคมอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
10 พฤษภาคมอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
11 พฤษภาคมอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
12 พฤษภาคมอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
13 พฤษภาคมอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
14 พฤษภาคม-29 พฤษภาคมงดงดชุมนุมจนกว่าเหตุการณ์จะเป็นปกติ
30 พฤษภาคมพระราชวังพญาไททำบุญเลี้ยงพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่ผู้ที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ
31 พฤษภาคมรัฐสภาเข้ายื่นรายชื่อประชาชนจำนวน 20,000 รายชื่อ ต่อประธานวุฒิสภาเพื่อถอดถอน ส.ส.พรรคเพื่อไทยทั้งหมด 3 คน

งดชุมนุม

หลังเหตุการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารและกลุ่ม นปช.ที่ถนนวิภาวดีรังสิตเมื่อวันที่ 28 เมษายน จนทำให้มีทหารเสียชีวิตหนึ่งนาย ในการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิวันเดียวกันนั้น ได้ยุติการชุมนุมเร็วกว่าปกติ และทาง ผศ.นพ.ตุลย์ ผู้นำการชุมนุมก็ได้ยกเลิกการชุมนุมทั้งหมดเพื่อความปลอดภัยจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น[8] และกลับมาชุมนุมอีกครั้งในวันที่ 2 พฤษภาคม ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า

ก่อนงดชุมนุมอีกครั้ง หลังเหตุการณ์ลอบสังหาร พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ที่แยกศาลาแดง และหลังรัฐบาลใช้กำลังสลายการชุมนุมกลุ่ม นปช.[9]

กลับมาชุมนุมอีกครั้ง

หลังรัฐบาลใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมในวันที่ 19 พฤษภาคม แล้ว ก็กลับมาดำเนินกิจกรรมอีกครั้ง ในเช้าวันที่ 30 พฤษภาคม ที่หน้าพระราชวังพญาไท โดยทำบุญเลี้ยงพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ที่เสียชีวิตและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทุกคนจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา ทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้ชุมนุม อีกทั้งได้มอบเงินจำนวน 1,200,000 บาทที่ได้รับจากการบริจาคให้แก่ครอบครัวเจ้าหน้าที่ที่ได้รับาดเจ็บและเสียชีวิตด้วย[10]

จากนั้นในวันที่ 31 พฤษภาคม ก็ได้นำรายชื่อประชาชนจำนวน 20,000 ชื่อ ยื่นหนังสือถึงประธานวุฒิสภา (นายประสพสุข บุญเดช) เพื่อถอดถอน ส.ส.พรรคเพื่อไทยซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ประกอบด้วย นายจตุพร พรหมพันธุ์, พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายการุณ โหสกุล รวมทั้งยื่นหนังสือเรียกร้องต่อ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการ ผบ.ตร. ให้สอบสวนดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายภายในพื้นที่การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงรวมถึงการอำนวยความสะดวกในการคุมขังแกนนำ นปช.บางคน เช่น นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ และ น.พ.เหวง โตจิราการ เกินสิทธิของผู้ต้องหาทั่วไปอีกด้วย[11]

การแสดงออกและกิจกรรมทางภูมิภาค

กลุ่มคนเสื้อหลากสี จะแสดงออกโดยการใช้ธงชาติไทยโบกไปมาระหว่างการชุมนุมและการทำป้ายที่มีข้อความต่าง ๆ เช่น ใครคิดล้มในหลวง มึงต้องผ่านศพกูก่อน, ตระกูลกู ลูกหลานอำมาตย์ ขอพิทักษ์ชาติ ราชบัลลังก์, หลงแดงเสียเวลา หลงยุบสภาเสียอนาคต[12] เป็นต้น

ในส่วนของภูมิภาคตามจังหวัดต่าง ๆ ก็มีกลุ่มคนเสื้อหลากสีนี้เคลื่อนไหวคู่ไปกับการเคลื่อนไหวที่กรุงเทพมหานครด้วยเช่นกัน อาทิ พิษณุโลก[13], สงขลา[14], ขอนแก่น[15], ตรัง[16], พัทยา, [17]

บุคคลที่มีชื่อเสียงที่เข้าร่วม

นอกจาก ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ผู้นำการชุมนุม และ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ แล้ว ยังมีดารานักแสดง นักร้องและบุคคลที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ เข้าร่วมกิจกรรมด้วย เช่น เจตริน วรรธนะสิน, ถกลเกียรติ วีรวรรณ, สินเจริญ บราเธอร์ส, ญาณี จงวิสุทธิ์, ปวันรัตน์ นาคสุริยะ[18], ยศวดี หัสดีวิจิตร[19], โอซา แวง[20], เทพ โพธิ์งาม[21], ลีโอ พุฒ, ศิริลักษณ์ ผ่องโชค, หรั่ง ร็อคเคสตร้า[22], วัลลภ ตังคณานุรักษ์[23][24] เป็นต้น

การเคลื่อนไหวในช่วงปลายรัฐบาลพรรคเพื่อไทย

กลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ได้เคยเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงปลายรัฐบาลพรรคเพื่อไทย โดยได้ออกมาเคลื่อนไหวค้ดค้านในหลายเรื่อง อาทิ การคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราที่จะช่วยนิรโทษกรรมผู้กระทำผิดในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองที่ผ่านมา [25] หรือการรวบรวมรายชื่อเพื่อกล่าวโทษนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น จากกรณีให้ความเท็จแก่ศาลในคดีจงใจปกปิดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้น[26]

โดยมีกิจกรรมการปราศรัยและรวบรวมรายชื่อคัดค้านแก้ไขรัฐธรรมนูญ และคัดค้านการนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยมีกิจกรรมประจำทุกวันศุกร์ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และออกไปจัดกิจกรรมและรวบรวมรายชื่อเหล่านี้ตามที่ต่าง ๆ ด้วย อาทิ วงเวียนใหญ่, ถนนสีลม, สวนหลวง ร.9 เป็นต้น[27][28] โดยในครั้งนี้ มี บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ เข้าร่วมด้วย[29]

ในระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม–1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ได้กลับมาชุมนุมอีกครั้งหนึ่งที่อาคารรัฐสภา ร่วมกับกลุ่มพันธมิตรฯ เพื่อยับยั้งการลงมติ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติ ที่เสนอโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน โดยเฉพาะในวันที่ 1 มิถุนายนนั้น ได้ชุมนุมปิดแยกการเรือน บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ตั้งแต่เวลาเช้าตรู่[30] [31] และเข้าร่วมชุมนุมกับ องค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) ในวันที่ 28 ตุลาคม ที่สนามม้านางเลิ้ง[32] และที่ลานพระบรมรูปทรงม้า รวมถึงสะพานมัฆวานรังสรรค์ ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555[33]

ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 กลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ก็ได้กลับมาชุมนุมอีกครั้ง ในการชุมนุมของเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ที่แยกอุรุพงษ์ จากนั้นเมื่อการชุมนุมได้ขยายขึ้นที่สถานีรถไฟสามเสน ก็ได้เข้าร่วมชุมนุมด้วย[34]และการมาเป็นการชุมนุมของกปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข)[35]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง