การขนส่งในประเทศฮังการี

การขนส่งในประเทศฮังการี มีอยู่หลากหลายแบบ ประกอบด้วย ถนน, รถราง, รถไฟใต้ดิน, รถโทรลีย์บัส, รถไฟ, เครื่องบิน และ เรือล่องแม่น้ำ

ถนน

การจำกัดความเร็วตามชนิดถนนและยานพาหนะ
ทางด่วนและทางรถยนต์ในประเทศฮังการี

ประเทศฮังการี มีถนนรวมกันความยาว 159,568 กิโลเมตร โดยที่ 70,050 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง (รวมทางด่วานความยาว 1,481 กิโลเมตร (ข้อมูลปี ค.ศ. 2016) และ 89,518 กิโลเมตร เป็นถนนไม่ลาดยาง

ถนนฮังการจัดรูปแบบตามด้านล่างนี้:

  • Gyorsforgalmi út (ทางด่วน: โยร์ชโฟร์กอลมิ อูต) :
    • Autópálya (ทางหลวง: เอาโตปายอ) : เลนถนน 2+2 และ เลนฉุกเฉิน 1+1, ไม่มีทางแยก เดินทางได้เร็วที่สุด จำกัดความเร็ว 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    • Gyorsút (ถนนเร็ว: โยร์ชอูต) : 2+2 travel lanes, central reservation, few at-grade intersections, speed limit 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (68 ไมล์ต่อชั่วโมง)
    • Autóút (ถนนรถยนต์: เอาโตอูต) : 2+2, 2+1 or 1+1 travel lanes, central reservation, some at-grade intersections, speed limit 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (68 ไมล์ต่อชั่วโมง)
  • Elsődrendő főút (ถนนทางเอก: แอลเชอแร็นเดอ เฟออูต) (มีเลขถนนหนึ่งตัว เช่น 6)
  • Másodrendű főút (ถนนทางโท: มาโชดิก เฟออูต) (มีเลขถนนสองตัว เช่น 57)
  • Helyi út (ถนนท้องถิ่น: แฮยิ อูต) (มีเลขถนนสามตัวขึ้นไป เช่น 4519)

ทางด่วนและถนนรถยนต์

ทางด่วน (autópálya: เอาโตปายอ) ในฮังการีมีอยู่ดังนี้:

M1 | M3 | M4 | M5 | M6 | M7 | M8 | M15 | M19 | M30 | M31 | M35 | M43 | M60

ทางรถยนต์ (autóút: เอาโต อูต) ในฮังกามีอยู่ดั้งนี้

M0 | M2 | M9 | M51 | M70 | M85 | M86

การเดินทางด้วยรถบัส

การขนส่งรถประจำทางระหว่างเทศมลฑล มีบริษัทโวลัน (Volán) ให้บริการทั่วประเทศ โวลันคือบริษัทรถบัส 24 แห่งที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1970 และตั้งชื่อตามภูมิภาคที่ให้บริการ โวลันให้บริการขนส่งท้องถิ่นในเมืองที่ไม่มีบริษัทขนส่งสาธารณะของตัวเอง (ทุกเมืองยกเว้นบูดาเปสต์, มิสโคลก์, เปช, กอโปชวาร์ และ แดแบร็ตแซน) และให้บริการรถบัสในเมืองที่บริษัทท้องถิ่นให้บริการรถรางและรถโทรลีย์บัสเท่านั้น (เมืองแซแก็ด) ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2015 บริษัท 24 แห่งได้รับการจัดตั้งเป็น บริษัทระดับภูมิภาค 7 แห่ง

ทางรถไฟ

แผนที่ทางรถไฟในประเทศฮังการี
สถานีรถไฟตะวันออก ในกรุงบูดาเปสต์

หมายเหตุ: ฮังการีและออสเตรียร่วมกันบริหารจัดการทางรถไฟมาตรฐานข้ามพรมแดนระหว่างเยอร์-โชโปรน-เอเบนเฟิร์ต (GyőrSopronEbenfurt (GySEV/ROeEE)) ระยะทางประมาณ 101 กม. ในฮังการีและ 65 กม. ในออสเตรีย

ในบูดาเปสต์มีสถานีรถไฟ (Pályaudvar: ปายออุดวอร์) หลัก 3 แห่ง ได้แก่ สถานีรถไฟตะวันออก (Keleti) สถานีรถไฟตะวันตก (Nyugati) และสถานีรถไฟใต้ (Déli) โดยมีสถานีนอกเมืองอื่น ๆ เช่น สถานีรถไฟแคแล็นเฟิลด์ (Kelenföld) จากสถานีรถไฟสามแห่ง สถานีรถไฟใต้มีความทันสมัยที่สุด แต่สถานีรถไฟตะวันออกและตะวันตก มีการตกแต่งและสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจกว่า

สถานีรถไฟที่สำคัญอื่น ๆ ทั่วประเทศ ได้แก่ สถานีรถไฟเมืองโซลโน็ก (Szolnok) (จุดตัดรถไฟที่สำคัญที่สุดนอกบูดาเปสต์) สถานีรถไฟทิสซอ (Tiszai) ในเมืองมิชโกลซ์ (Miskolc) และสถานีรถไฟเปช (Pécs), สถานีรถไฟเจอร์ (Győr), สถานีรถไฟแดแบร็ตแซน (Debrecen), สถานีรถไฟแซแก็ด (Szeged) และ สถานีรถไฟเซแก็ชแฟเฮร์วาร์ (Székesfehérvár) โดยเมืองเดียวที่มีระบบรถไฟใต้ดินคือบูดาเปสต์ โดยในบูดาเปสต์ยังมีบริการรถไฟชานเมืองและรอบ ๆ เมือง ซึ่งดำเนินการภายใต้ชื่อ รถไฟเฮฟ (HÉV)

ระบบรถไฟ

  • สุทธิ 7,606 กิโลเมตร
    • Standard gauge: 7,394 km 1,435 mm (4 ft 8 12 in) gauge (2,911 km electrified; 1,236 km double track)
    • Broad gauge: 36 km 1,520 mm (4 ft 11 2732 in) gauge
    • Narrow gauge: 176 km 760 mm (2 ft 5 1516 in) gauge (1998)

ระบบรถไฟระหว่างประเทศ

  • ใช้รางแบบเดียวกัน:
  • ใช้รางคนละแบบ – 1,435 mm (4 ft 8 12 in) / 1,520 mm (4 ft 11 2732 in)

สนามบิน

ท่าอากาศยานนานาชาติลิสต์ แฟแร็นซ์Budapest Liszt Ferenc International Airport ใน SkyCourt
ท่าอากาศยานนานาชาติเยอร์-เปร์ Hévíz–Balaton Airport

ในฮังการีมีสนามบิน 43-45 แห่งรวมถึงสนามบินขนาดเล็กที่ไม่ได้ลาดยางด้วย โดยสนามบินนานาชาติ 5 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติลิสต์ แฟแร็นซ์ (Budapest-Liszt Ferenc), ท่าอากาศยานนานาชาติแดแบร็ตแซน (Debrecen Airport), ท่าอากาศยานเฮวีซ-บอลอโตน (Hévíz – Balaton International Airport) (ก่อนหน้านี้คือ ชาร์แมลเล็ค Sármellék หรือที่เรียกว่า FlyBalaton เนื่องจากอยู่ใกล้กับทะเลสาบบอลอโตน  ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของฮังการี) ท่าอากาศยานนานาชาติเยอร์-เปร์ (Győr-Pér และ ท่าอากาศยานนานาชาติเปช-โปกาญ (Pécs-Pogány) (ตั้งแต่ ค.ศ. 2015 ไม่มีการให้บริการเที่ยวบินผู้โดยสารปกติจาก Győr-Pér และ ท่าอากาศยานนานาชาติเปช-โปกาญ (Pécs-Pogány) โดยสายการบินประจำชาติฮังการี สายการบินฮังการีมอเล็ฟ (Malév Hungarian Airlines) หยุดให้บริการในปี ค.ศ. 2012

สนามบินที่มีรันเวย์ลาดยาง

20 แห่ง

  • ยาวกว่า 3,047 m: 2
  • 2,438 to 3,047 m: 8
  • 1,524 to 2,437 m: 4
  • 914 to 1,523 m: 1
  • สั้นกว่า 914 m: 1
สนามบินที่ไม่มีรันเวย์ราดยาง

27 แห่ง

  • 2,438 to 3,047 m: 3
  • 1,524 to 2,437 m: 5
  • 914 to 1,523 m: 12
  • สั้นกว่า 914 m: 7

สนามบินนานาชาติ

สนามบินที่นานาชาติ 5 สนามบินในฮังการี จากใหญ่ที่สุด ไปน้อยที่สุด:

สนามจอดเฮลิคอปเตอร์

ประเทศฮังการีมีสนามจอดเฮลิคอปเตอร์อยู่ 5 สนาม[1]

ทางน้ำ

ประเทศฮังการีมีแม่น้ำระยะทาง 1,373 กิโลเมตร ที่สามารถเดินเรือได้

ท่าเรือ

ท่าเรือที่สำคัญที่สุด คือ กรุงบูดาเปสต์ (Budapest) เมืองที่สำคัญรองลงมา คือ เมืองดูนออูยวาโรช (Dunaújváros) และ เมืองบอยอ (Baja)

ท่าเรือแม่น้ำดานูบ:

  • Győr-Gönyű: เมืองเจอร์
  • Komárom: เมืองโคมาโรม
  • Budapest: กรุงบูดาเปสต์ (ท่าเรือแชแปล)
  • Dunaújváros: เมืองดูนออูยวาโรช
  • Dunavecse: เมืองดูนอแวแช
  • Madocsa: เมืองมอโดชอ
  • Paks: เมืองป็อคช์
  • Fadd-Dombori: เมืองฟอดด์-โดมโบริ
  • Bogyiszló: เมืองโบจยิซโล
  • Baja: เมืองบอยอ
  • Mohács: เมืองโมฮาช

ท่าเรือแม่น้ำทิสซอ:

  • Szeged: เมืองแซแก็ด

ขนส่งในเมือง

บริษัทที่ให้บริการขนส่งสาธารณะในประเทศฮังการี

  • BKK (กรุงบูดาเปสต์ Budapest) (รถบัส รถแทร็ม รถโทรลีย์บัส และ รถไฟใต้ดิน/เมโทร)
  • DKV Zrt. (เมืองแดแบร็ตแซน Debrecen) (รถบัส รถแทร็ม และ รถโทรลีย์บัส)
  • MVK Zrt. (เมืองมิชโกลซ์ Miskolc) (รถบัส และ รถแทร็ม)
  • SzKT Kft. (เมืองแซแก็ด Szeged) (รถแทร็ม และ รถโทรลีย์บัส, ส่วนบัสนั้นเป็นของบริษัท Volánbusz)
  • Tüke Busz Zrt. (เมืองเปช Pécs) (รถบัส)
  • KT Zrt. (เมืองกอโปชวาร์ Kaposvár) (รถบัส)
  • T-busz Kft. (เมืองตอตอบาญอ Tatabánya) (รถบัส)
  • V-busz Kft. (เมืองแว็สเปรม Veszprém) (รถบัส)
  • KeKo (เมืองแก็ชแกเมต Kecskemét) (รถบัส)

ส่วนในเมืองอื่น ๆ การบริการรถสาธารณะระหว่างเมืองที่ไม่ใช่รถไฟ จะมีแต่รถบัสเท่านั้น ซึ่งทั้งหมดเป็นของบริษัทโวลันบุส Volánbusz

เมโทร/รถไฟใต้ดิน

เมโทรบูดาเปสต์ (Budapest Metro) คือ รถไฟใต้ดินในกรุงบูดาเปสต์ รถไฟใต้ดินสาย 1 ซึ่งเปิดใน ค.ศ. 1896 เป็นรถไฟใต้ดินที่เก่าแก่ที่สุดในภาคพื้นทวีปยุโรป, รถไฟใต้ดินสาย 2 เปิดในปี ค.ศ. 1970, รถไฟใต้ดินสาย 3 เปิดในปี ค.ศ. 1976 และ รถไฟใต้ดินสาย 4 เปิดในปี ค.ศ. 2014

รถราง/รถแทร็ม (Tram)

รถราง รถแทร็ม หรือ วิลลอโมช ในเมืองแบบดั้งเดิมที่พลุกพล่านที่สุดในโลกอยู่ในกรุงบูดาเปสต์ เป็นรถรางสาย 4/6 ในบูดาเปสต์ โดยรถรางยาว 50 เมตรจะวิ่งในช่วงเวลา 120 ถึง 180 วินาที[2] ในช่วงเวลาเร่งด่วนและในรถรางมักจะเต็มไปด้วยผู้คน ส่วนหนึ่งของเส้นทางนี้เป็นเส้นทางเดียวกับที่รถรางไฟฟ้าเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกบนโลกในปี ค.ศ. 1887 โดยตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา เครือข่ายรถรางของบูดาเปสต์ได้รับการปรับปรุงโดยการสั่งซื้อรถรางใหม่ (Combino Supra และ CAF Urbos 3) รวมถึงการขยายเส้นทางแทร็มบางสาย (เช่นสาย 1 ไปยังสถานีรถไฟแคแล็นเฟิลด์ (Kelenföld))

มืองที่มีแทร็มในประเทศฮังการี

  • บูดาเปสต์ (Budapest)
  • มิชโกลซ์ (Miskolc)
  • แซแก็ด (Szeged)
  • แดแบร็ตแซน (Debrecen)

โทรลีย์บัส (Trolleybus)

โทรลีย์บัส คือ รถรางใช้ไฟฟ้าที่มีหน้าตาเหมือนรถบัส มีสายไฟต่ออยู่ข้างบน โทรลีย์บัสพบได้ใน 3 เมือง คือ กรุงบูดาเปสต์ (Budapest), เมืองแดแบร็ตแซน (Debrecen) และ เมืองแซแก็ด (Szeged)

ท่อส่งแก็ส

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง