การข่มเหงรังแก

การข่มเหงรังแก หรือ การกลั่นแกล้ง (อังกฤษ: Bullying) คือ การใช้กำลัง (force), การข่มขู่ (coercion), การล้อเลียนให้เจ็บปวด (hurtful teasing), หรือการคุกคาม (threat) โดยผู้กระทำมีเป้าหมายเพื่อ กระทำทารุณ, ครอบงำ, หรือขู่ผู้ถูกกระทำให้ยอมจำนน พฤติกรรมเช่นนี้มักเกิดขึ้นซ้ำๆ เป็นกิจวัตร การข่มเหงรังแกกับความขัดแย้งอื่นๆ มีความแตกต่างสำคัญอยู่ที่การที่ฝ่ายหนึ่งมีอำนาจเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นอำนาจทางกายภาพหรืออำนาจทางสังคม และไม่ว่าจะเป็นอำนาจที่มีอยู่จริงหรือเป็นอำนาจที่มีเฉพาะในความรับรู้ของผู้กระทำและคนอื่นๆ ก็ตาม[1] กล่าวอีกอย่างคือ การข่มเหงรังแกเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวชนิดหนึ่ง มีลักษณะเฉพาะคือต้องมีองค์ประกอบ 3 ข้อ ได้แก่ (1) มีเจตนาก้าวร้าว, (2) เกิดขึ้นระหว่างคู่ขัดแย้งที่ฝ่ายกระทำมีอำนาจเหนือกว่า, และ (3) มีการทำซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง[2]

สัดส่วนของเด็กที่มีรายงานว่าถูกข่มเหงรังแกแบ่งตามประเทศ (2015)

การข่มเหงรังแกในโรงเรียนและที่ทำงานสามารถแแเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "peer abuse"[3] วัฒนธรรมการข่มเหงรังแกสามารถปรากฏได้ในบริบทที่ซึ่งมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กัน เช่น ในโรงเรียน, ครอบครัว, ที่ทำงาน,[4] บ้าน และ ชุมชน สื่อกลางหลักในการข่มเหงรังแกในวัฒนธรรมร่วมสมัยคือผ่านทางสื่อสังคมและเว็บไซต์[5]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง