การตีโฉบฉวยดูลิตเติล

การตีโฉบฉวยดูลิตเติล (อังกฤษ: Doolittle Raid) ยังเป็นที่รู้จักกันคือ การตีโฉบฉวยกรุงโตเกียว เป็นการตีโฉบฉวยทางอากาศ เมื่อวันที่ 18 เมษายน 1942 โดยสหรัฐอเมริกา บนน่านฟ้าเหนือกรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่นและสถานที่อื่นๆบนเกาะฮนชูในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นปฏิบัติการทางอากาศครั้งแรกเพื่อการโจมตีหมู่เกาะญี่ปุ่น ได้แสดงให้เห็นว่าญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่นั้นอ่อนแอต่อการโจมตีทางอากาศของอเมริกา ซึ่งทำหน้าที่เป็นการตอบโต้จากการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจต่อประชาชนชาวอเมริกัน การตีโฉบฉวยครั้งนี้ได้ถูกวางแผนเอาไว้ ภายใต้การนำโดย และตั้งชื่อมาจากนายพล เจมส์ "จิมมี่" ดูลิตเติล แห่งกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐ

การตีโฉบฉวยดูลิตเติล
ส่วนหนึ่งของ การโจมตีทางอากาศที่ญี่ปุ่นในสงครามแปซิฟิก สงครามโลกครั้งที่สอง

จิมมี ดูลิตเติลกับเครื่องบินทิ้งระเบิด บี-25 บินขึ้นจากดาดฟ้าเรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส ฮอร์นเน็ท
วันที่18 เมษายน ค.ศ. 1942
สถานที่
เขตอภิมหานครโตเกียวและนครอื่น ๆ ในญี่ปุ่น
ผล
  • สหรัฐได้ชัยชนะเชิงโฆษณาชวนเชื่อ; ขวัญกำลังใจของสหรัฐและพันธมิตรเพิ่มขึ้น
  • ความเสียหายทางกายภาพเล็กน้อย แต่มีผลกระทบทางจิตวิทยาในระดับสำคัญ
  • สูญเสียกองกำลังโจมตีทั้งหมด
  • พลเมืองจีน 250,000 คนถูกฆ่าหลังการทัพของญี่ปุ่น
คู่สงคราม
 ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เจมส์ เอช. ดูลิตเติลเจ้าชายนารูฮิโกะ ฮิงาชิกูนิโนะมิยะ
กำลัง
  • บี-25 มิทเชล 16 ลำ
  • กำลังพล 80 นาย (เจ้าหน้าที่ 52 นาย, ทหารเกณฑ์ 28 นาย)
  • เรือบรรทุกเครื่องบิน 2 ลำ
  • เรือลาดตระเวน 4 ลำ
  • เรือพิฆาต 8 ลำ
ไม่ทราบกำลังพลที่แน่ชัด[3]
ความสูญเสีย
  • บี-25 16 ลำ (ถูกทำลาย 15 ลำ, กักกันในสหภาพโซเวียต 1 ลำ)
  • เสียชีวิต 3 นาย
  • ถูกจับเป็นเชลยศึก 8 นาย (รอดชีวิต 4 นาย เสียชีวิต 4 นาย: ถูกประหาร 3 นาย, ป่วยตาย 1 นาย)
  • เสียชีวิต 50 คน
  • บาดเจ็บ 400 คน (รวมพลเรือน)[ต้องการอ้างอิง]
  • ลูกเรือถูกจับเป็นเชลย 5 คน
  • เรือลาดตระเวนจม 5 ลำ
  • เครื่องบินถูกยิงตก 3 ลำ (สหรัฐอ้าง)
  • เรือบรรทุกเครื่องบินเกือบถูกดัดแปลงหนึ่งลำได้รับความเสียหาย
ลูกเรือเครื่องบิน บี-25 #40-2344 บนดาดฟ้าของเรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส ฮอร์นเน็ท วันที่ 18 เมษายน 1942

เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลาง บี-25บี มิตเชลล์ จำนวน 16 ลำ ได้เปิดฉากด้วยการบินโดยปราศจากเครื่องบินขับไล่ในคุ้มกัน จากดาดฟ้าเรือบรรทุกอากาศยานของกองทัพเรือสหรัฐ ยูเอสเอส ฮอร์เนต ที่จอดบนทะเลน้ำลึกในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก แต่ละลำถูกบรรจุด้วยนักบินห้าคน  แผนดังกล่าวได้ออกคำสั่งให้พวกเขาทำการทิ้งระเบิดต่อเป้าหมายทางทหารในญี่ปุ่นและบินต่อเนื่องไปยังทางตะวันตกเพื่อไปถึงแผ่นดินจีน  การตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดได้สังหารไปประมาณ 50 คน รวมทั้งพลเรือน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 400 คน เครื่องบินทั้งสิบห้าลำได้บินไปถึงจีนได้สำเร็จ แต่ทั้งหมดได้บินตก ในขณะที่เครื่องบินลำที่ 16 ลงจอดที่วลาดีวอสตอคในสหภาพโซเวียต นักบิน 80 นาย มีผู้รอดชีวิต 77 นายในภารกิจ นักบินแปดนายถูกจับกุมโดยกองทัพญี่ปุ่นในจีน; อีกสามนายได้ถูกประหารชีวิตในเวลาต่อมา เครื่องบินบี-25 ที่ลงจอดในสหภาพโซเวียตได้ถูกยึดและนักบินได้ถูกกักตัวไว้เป็นเวลานานกว่าหนึ่งปีก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้"หลบหนี"ผ่านทางอิหร่านภายใต้การยึดครองของโซเวียตด้วยความช่วยเหลือของหน่วยเอ็นเควีดี นักบินทั้งหมดในเครื่องบินทั้งสิบสี่ลำได้เดินทางกลับไปยังสหรัฐอเมริกาหรือไม่ก็ไปยังกองทัพสหรัฐ ยกเว้นเพียงนักบินหนึ่งนายได้เสียชีวิตในปฏิบัติหน้าที่[4][5]

การตีโฉบฉวยครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดความเสียหายเพียงเล็กน้อยต่อญี่ปุ่น เป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจในสหรัฐอเมริกา ในขณะเดียวกันได้ทำให้เกิดความเคลือบแคลงในญี่ปุ่นเกี่ยวกับความสามารถของผู้นำทางทหารเพื่อปกป้องเกาะแผ่นดินบ้านเกิด แต่การทิ้งระเบิดและยิงกราดใส่พลเรือนยังทำให้ญี่ปุ่นตัดสินใจอย่างเด็ดขาดเพื่อเป็นการล้างแค้นและครั้งนี้ได้ใช้ประโยชน์เพื่อวัตถุประสงค์ในการโฆษณาชวนเชื่อ[6] นอกจากนี้ยังได้ผลักดันแผนการของพลเรือเอก อิโซโรกุ ยามาโมโตะ เพื่อเข้าโจมตีเกาะมิดเวย์ในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ซึ่งเป็นการโจมตีที่ได้ทำให้กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นต้องพ่ายแพ้อย่างราบคาบโดยกองทัพเรือสหรัฐในยุทธการที่มิดเวย์ ผลลัพธ์ที่ตามมาคือความรู้สึกที่รุนแรงอย่างมากในจีน ซึ่งญี่ปุ่นได้ทำการแก้แค้นจึงทำให้เกิดการเสียชีวิตของพลเรือน 250,000 คน และทหาร 70,000 นาย[6][2]

ดูลิตเติลได้คิดเอาไว้แต่แรกแล้วว่า การสูญเสียเครื่องบินทั้งหมดนั้นจะทำให้ตัวเขาเองต้องถูกนำตัวขึ้นศาลทหาร[7] แต่เขากลับได้รับการปูนบำเหน็จด้วยมีเดล ออฟ ฮอนเนอร์ และได้รับการเลื่อนตำแหน่งยศสองขั้นเป็นนายพลจัตวา

จุดเริ่มต้น

การตีโฉบฉวยนี้เร่มต้นในการประชุมคณะเสนาธิการทหารที่ทำเนียบขาว เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 1941 ภายใต้ความต้องการของประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ที่จะตอบโต้ต่อจักรวรรติญี่ปุ่นเพื่อสร้างกำลังใจต่อสู้ให้กับชาวอเมริกันที่รู้สึกพ่ายแพ้จากการโจมตีที่เพิร์ลฮาร์เบอร์

แนวคิดของการโจมตีครั้งนี้มาจากกัปตันเรือฟรานซิส โลว์ และได้นำเสนอให้ พลเรือเอกเออร์เนสท์ เจ. คิง ในวันที่ 10 มกราคม 1942 ว่าเครื่องบินทิ้งระเบิดเครื่องยนต์คู่น่าจะบินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบินได้ หลักจากการทดลองบินขึ้นหลายครั้งจากสนามบินกองทัพเรือที่นอร์ฟอล์ค, เวอร์จิเนีย ซึ่งได้ทำเครื่องหมายรันเวย์ที่ระยะวิ่งเท่ากับความยาวรันเวย์ของดาดฟ้าเรือบรรทุกเครื่องบิน สุดท้ายการโจมตีครั้งนี้วางแผนและนำทีมโดย จิมมี่ ดูลิตเติล

ภารกิจนี้ต้องการเครื่องบินทิ้งระเบิดที่มีวิสัยทำการเกิน 2,400 ไมล์ทะเล (4,400 กม.) ในขณะที่บรรทุกระเบิดหนัก 2,000 ปอนด์ (910 กก.) ไปด้วย จะมีเครื่องบิน​อีกสามรุ่นที่เหมาะสมคือ มาร์ติน บี-26 มารัวเดอร์, ดักลาส บี-18 โบโล และ ดักลาส บี-23 ดรากอน แต่สุดท้ายก็เลือกเครื่องบินทิ้งระเบิด บี-25 มิทเชล เพื่อรับหน้าที่นี้ เพราะไม่แน่ใจว่า บี-26 จะสามารถบินขึ้นจากดาดฟ้าเรือได้หรือไม่ และ บี-23 ก็มีปีกใหญ่กว่า บี-25 เกือบ 50% ซึ่งจะทำให้เรือบรรทุกเครื่องบินไปได้น้อยลง สุดท้าย บี-18 ก็ตกไปด้วยเหตุผลคล้าย ๆ กัน

อ้างอิง

ข้อมูล

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง