การทัพกัวดัลคะแนล

การทัพกัวดัลคะแนล (อังกฤษ: Guadalcanal campaign) หรือเรียก ยุทธการที่กัวดัลคะแนล และมีชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการวอชทาวเวอร์ (อังกฤษ: Operation Watchtower) เดิมใช้เฉพาะกับปฏิบัติการชิงเกาะทูลากิ (Tulagi) โดยกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร เป็นการทัพที่ต่อสู้ระหว่างวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1942 ถึง 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 บนและรอบเกาะกัวดัลคะแนลในเขตสงครามแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการรุกสำคัญครั้งแรกของกองทัพสัมพันธมิตรต่อจักรวรรดิญี่ปุ่น

การทัพกัวดัลคะแนล
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปซิฟิก ใน สงครามโลกครั้งที่สอง
United States Marines rest in the field during the Guadalcanal campaign
นาวิกโยธินสหรัฐกำลังพักผ่อนที่ฐานขณะปฏิบัติการกัวดัลคะแนล
วันที่7 สิงหาคม ค.ศ.1942 – 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1943
(6 เดือน 2 วัน)
สถานที่
กัวดัลคะแนล ในหมู่เกาะโซโลมอน
ผล

สัมพันธมิตรได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด

  • จุดเริ่มต้นการรุกของสัมพันธมิตรในแปซิฟิก
คู่สงคราม
 ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
โรเบิร์ต แอล. อร์มลีย์
วิลเลียม ฮอลซี จูเนียร์
ริชมอนด์ เค. เทอร์เนอร์
อเล็กซานเดอร์ แวนดกริฟ์
อเล็กซานเดอร์ แพตช์
แฟรงก์ แจ็ค เฟล็ตเชอร์
อิโซะโระกุ ยะมะโมะโตะ
ฮิโรอากิ อะเบะ
โนบูตาเกะ คนโด
Nishizo Tsukahara
ทาเกโอะ คูริตะ
Jinichi Kusaka
โชจิ นิชิมูระ
Gunichi Mikawa
Raizō Tanaka
Hitoshi Imamura
Harukichi Hyakutake
กำลัง
60,000 คน (บนบก)[4]36,200 คน (บนบก)[5]
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 7,100 คน
บาดเจ็บประมาณ 7,789+ คน[6]
ถูกจับ 4 คน
เรือรบ 29 ลำ
เครื่องบิน 615 ลำ[7]

เสียชีวิต 19,200 คน

  • ประมาณ 8,500+ คน เสียชีวิตในการรบ[8]
ถูกจับ 1,000 คน
เรือรบ 38 ลำ
เครื่องบิน 683–880 ลำ[9]

วันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1942 กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งประกอบด้วยนาวิกโยธินสหรัฐเป็นหลัก ขึ้นบกบนเกาะกัวดัลคะแนล ทูลากิและฟลอริดาในหมู่เกาะโซโลมอนตอนใต้ โดยมีวัตถุประสงค์มิให้ฝ่ายญี่ปุ่นใช้เพื่อคุกคามเส้นทางการส่งกำลังและคมนาคมระหว่างสหรัฐ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ฝ่ายสัมพันธมิตรยังตั้งใจใช้กัวดัลคะแนลและทูลากิเป็นฐานสนับสนุนการทัพเพื่อยึดหรือทำลายฐานญี่ปุ่นหลักที่ราบาอูล (Rabaul) บนเกาะนิวบริเตนต่อไป ฝ่ายสัมพันธมิตรมีจำนวนเหนือกว่าฝ่ายป้องกันญี่ปุ่นมาก ซึ่งยึดครองหมู่เกาะนี้มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942 และยึดทูลากิและฟลอริดา ตลอดจนสนามบิน (ต่อมาได้ชื่อว่า เฮนเดอร์สันฟีลด์) ซึ่งกำลังก่อสร้างบนกัวดัลคะแนล ทัพเรือสหรัฐที่ทรงพลังสนับสนุนการขึ้นบก

ฝ่ายญี่ปุ่นประหลาดใจกับการบุกของฝ่ายสัมพันธมิตร ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน พยายามยึดเฮนเดอร์สันฟีลด์คืน มียุทธการทางบกใหญ่สามครั้ง ยุทธการทางเรือขนาดใหญ่เจ็ดครั้ง (การปฏิบัติผิวน้ำยามกลางคืนห้าครั้งและการยุทธ์ของเรือบรรทุกเครื่องบินสองครั้ง) และการยุทธ์ทางอากาศต่อเนื่องแทบทุกวันในยุทธนาวีที่กัวดัลคะแนลที่เด็ดขาดในต้นเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นความพยายามครั้งสุดท้ายของญี่ปุ่นในการระดมยิงเฮนเดอร์สันฟีลด์จากทางทะเลและทางบกพร้อมด้วยกำลังพลมากพอยึดคืนแต่ปราชัย ในเดือนธันวาคม ญี่ปุ่นทิ้งความพยายามยึดกัวดัลคะแนลคืนและอพยพกำลังที่เหลืออยู่ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 เมื่อเผชิญกับการรุกโดยกองทัพน้อยที่ 14 ของกองทัพบกสหรัฐ

การทัพกัวดัลคะแนลเป็นชัยชนะการรบผสมเหล่า (combined arms) ทางยุทธศาสตร์ครั้งสำคัญของกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรต่อญี่ปุ่นในเขตสงครามแปซิฟิก ญี่ปุ่นถึงจุดสูงสุดในการพิชิตในมหาสมุทรแปซิฟิกแล้ว ชัยชนะที่มิลเนเบย์ (Milne Bay) บูนา-โกนา (Buna-Gona) และกัวดัลคะแนลเป็นสัญลักษณ์การเปลี่ยนของฝ่ายสัมพันธมิตรจากปฏิบัติการตั้งรับเป็นการริเริ่มทางยุทธศาสตร์ในเขตสงครามนั้น นำไปสู่ปฏิบัติการรุก เช่น การทัพหมู่เกาะโซโลมอน นิวกินีและมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ซึ่งผลให้ในบั้นปลายญี่ปุ่นยอมจำนนและสงครามโลกครั้งที่สองยุติ

แหล่งข้อมูลอื่น

9°26′44″S 160°01′13″E / 9.44556°S 160.02028°E / -9.44556; 160.02028

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง