การบริโภค (เศรษฐศาสตร์)

การซื้อและการใช้สินค้าและบริการ

การบริโภค นิยามว่าเป็นการใช้จ่ายเพื่อการได้รับมาซึ่งอรรถประโยชน์ เป็นแนวคิดสำคัญทางเศรษฐศาสตร์ และได้มีการศึกษาในสังคมศาสตร์อื่น ๆ อีกมากมาย สิ่งนี้มักจะมีมองในทางตรงกันข้ามกับการลงทุน ซึ่งจ่ายเพื่อทำให้ได้รับรายได้ในอนาคต

ผู้คนซื้อ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ที่ ห้างสรรพสินค้า ใน กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

สำนักวิชาของเศรษฐกรที่แตกต่างกันนิยามการบริโภคแตกต่างกัน นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก นิยามว่าเป็นเพียงการซื้อขั้นสุดท้ายของการผลิตสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นใหม่โดยปัจเจกบุคคลเพื่อใช้ในการบริโภคได้ทันที ในขณะที่ประเภทอื่น ๆ ของค่าใช้จ่าย — โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงทุนในสินค้าคงที่, การบริโภคสินค้าระดับกลาง และการใช้จ่ายภาครัฐ - จะอยู่ในประเภทอื่น (ดู ทางเลือกของผู้บริโภค ) เศรษฐกรคนอื่น ๆ นิยามการบริโภคกว้างมากขึ้น เป็นผลรวมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การผลิตและ การตลาด ของ สินค้าและบริการ (เช่นการเลือก การรับมาใช้ การใช้ การกำจัด และการนำมาใช้ใหม่สินค้าและบริการ

เศรษฐกรให้ความสนใจเป็นพิเศษในความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคและรายได้ ตามที่ได้สร้างแบบจำลองโดยใช้ฟังก์ชันการบริโภค

ฟังก์ชัน

เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม ฟังก์ชันการบริโภคของเคนส์

ฟังก์ชั่นการบริโภคของเคนส์เป็นที่รู้จักกันในชื่อสมมติฐานรายได้สัมบูรณ์ เนื่องจากการบริโภคขึ้นอยู่กับรายได้ในปัจจุบันและไม่สนใจรายได้ในอนาคต (หรือขาดแคลน) ข้อวิจารณ์ของสมมติฐานนี้นำไปสู่การพัฒนา สมมติฐานรายได้ถาวรของมิลตัน ฟรีดแมน และสมมติฐานวงจรชีวิตของฟรังโก โมดิจานี่

แนวทางเชิงทฤษฎีล่าสุดมักจะใช้เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมเป็นฐานคิด และเสนอว่าว่าหลักเชิงพฤติกรรมจำนวนหนึ่งสามารถนำมาใช้เป็นรากฐานทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคสำหรับฟังก์ชั่นการบริโภคมวลรวมเชิงพฤติกรรม

การบริโภคและการผลิตในครัวเรือน

การบริโภคมวลรวมเป็นส่วนประกอบของอุปสงค์มวลรวม

การบริโภคถูกนิยามโดยนำไปเปรียบเทียบกับการผลิต ตามธรรมเนียมของสำนักวิชาเศรษฐศาสตร์ครัวเรือนของโคลัมเบีย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามเศรษฐศาสตร์ครัวเรือนใหม่ การบริโภคในเชิงพาณิชย์จะต้องนำไปวิเคราะห์ในบริบทของการผลิตในระดับครัวเรือน ต้นทุนค่าเสียโอกาสของเวลาส่งผลกระทบต่อต้นทุนของการทดแทนการผลิตในบ้าน และท้ายที่สุดกระทบต่ออุปสงค์ต่อสินค้าและบริการเชิงพาณิชย์ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคก็เป็นฟังก์ชันของผู้ที่ทำงานบ้านในบ้านและคู่สมรสของพวกเขาชดเชยพวกเขาด้วยต้นทุนค่าเสียโอกาสในการผลิตภายในบ้านอย่างไร

ดูเพิ่มเติม

  • อุปสงค์มวลรวม
  • หนี้ผู้บริโภค
  • การจำแนกประเภทของการบริโภคส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์ (COICOP)
  • ทางเลือกของผู้บริโภค
  • การคุ้มครองผู้บริโภค
  • สมมติฐานวัฎจักรชีวิต
  • การวัดรายได้ประชาชาติและผลผลิต
  • การบริโภคที่มากเกินไป
  • สมมติฐานรายได้ถาวร
  • รายการของตลาดผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุด
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง