การปิดการเข้าถึงวิกิพีเดียในประเทศตุรกี พ.ศ. 2560

จากวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560 ถึง 15 มกราคม พ.ศ. 2563 วิกิพีเดีย สารานุกรมออนไลน์ ถูกบล็อกในประเทศตุรกี ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560 เจ้าหน้าที่ตุรกีบล็อกการเข้าถึงทางออนไลน์ทุกภาษาทั่วประเทศ[1][2] การปิดการเข้าถึงนี้ถูกกำหนดตามกฎหมายตุรกีมาตราที่ 5651[3] เนื่องจากบทความstate-sponsored terrorism (ในฉบับวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560) ของฉบับภาษาอังกฤษที่กล่าวถึงตุรกีว่าเป็นประเทศที่สนับสนุนรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์กับอัลกออิดะฮ์ ซึ่งศาลตุรกีมองว่าเป็นการชักใยของสื่อมวลชนสาธารณะ[4]

โลโก้วิกิพีเดียภาษาตุรกีที่มีแถบเซ็นเซอร์ปิดข้อความอยู่
โลโก้หลังถูกแบนเป็นเวลา 2 ปี โดยมีข้อความบนแถบแดงว่า "2 yıldır özlüyoruz" ("คิดถึงนายเป็นเวลาสองปี")

แคเธอรีน มาร์ ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิวิกิมีเดียกล่าวในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ว่า มูลนิธิ"ไม่แน่ใจว่าทำไมยังคงถูกแบนอีก"[5] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 หน้าเฟสบุ๊กของวิกิพีเดียเริ่มต้นแคมเปญ"เราคิดถึงตุรกี" (ตุรกี: Özledik) และเปลี่ยนแถบเซ็นเซอร์สีดำบนโลโก้วิกิพีเดียไปเป็นสีแดง และยังมาพร้อมกับแฮชแท็กที่มีชื่อเดียวกัน[6]

ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ศาลรัฐธรรมนูญตุรกีกล่าวว่า การบล็อกวิกิพีเดียถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และสั่งให้ยกเลิกการแบนนี้[7] ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563 จึงมีการยกเลิกการบล็อกวิกิพีเดียในประเทศตุรกี[8][9][10]

ภูมิหลัง

บางประเทศได้ตำหนิประเทศตุรกีที่สนับสนุนกลุ่มกบฏชาวอิสลามในประเทศซีเรีย รวมถึงแนวร่วมอัลนุสเราะ (al-Nusra Front) ผู้เกี่ยวข้องกับอัลกออิดะฮ์ในประเทศซีเรีย[11][12] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 รองประธานาธิบดี โจ ไบเดิน กล่าวว่าประเทศตุรกี ประเทศซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ "เทเงินหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐและอาวุธหลายหมื่นตันให้กับใครก็ตามที่จะต่อสู้กับอัลอะซัด"[11]

การปิดการเข้าถึงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2560 สองสัปดาห์หลังการลงประชามติรัฐธรรมนูญตุรกีที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน

เมื่อวันที่ 25 เมษายน ประเทศตุรกีทำการโจมตีทางอากาศต่อสิ่งอำนวยความสะดวกของหน่วยพิทักษ์ของประชาชน (YPG), หน่วยพิทักษ์ของสตรี (YPJ) และพรรคแรงงานเคอร์ดิสถาน (PKK) ในทั้งประเทศซีเรียและอิรัก เป็นเหตุให้ผู้ทำสงคราม 40 คนรวมถึงทหารเพชเมอร์กา (Peshmerga) ห้าคนเสียชีวิต ณ ภูเขาซินจาร์ และผู้ต่อสู้ในหน่วย YPG และ YPJ กว่า 20 คนถูกฆ่าบนภูเขาการาก็อก (Mount Karakoc) ในซีเรีย[13] กองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย (Syrian Democratic Forces) หรือ SDF ขู่จะถอนตัวออกจากปฏิบัติการยึดรักกาที่กำลังดำเนินการอยู่หากสหรัฐอเมริกาไม่กำหนดมาตราการหยุดการโจมตีทางอากาศของตุรกีต่อกลุ่มเหล่านี้[14] สหรัฐตอบรับโดยการเริ่มตรวจตราชายแดนพร้อมกับกองกับ SDF เพื่อหยุดยั้งการต่อสู้ระหว่างพันธมิตรทั้งสอง[15][16]

เมื่อวันที่ 26 เมษายน ต่อเนื่องจากการกวาดล้างในตุรกี พ.ศ. 2559–2560 (2016–17 Turkish purges) ตำรวจจำนวน 1,009 นายในกองกำลังตำรวจตุรกีถูกคุมตัว โดยถูกกล่าวหาว่าแอบมีความเกี่ยวข้องกับขบวนการกูเลน (Gülen movement)[17] เจ้าหน้าที่จำนวน 9,100 คนถูกปลดออกจากงาน[18][19] เมื่อวันที่ 29 เมษายน ข้าราชการพลเรือนจำนวน 3,974 คนถูกปลดจากตำแหน่ง สื่อและนักข่าวถูกเพ่งเล็งอย่างหนัก องค์กรข่าว 190 องค์กรถูกแบนและนักข่าวอย่างน้อย 120 คนถูกจำคุก[20] เดอะนิวยอร์กไทมส์ บรรยายการแบนวิกิพีเดียและรายการทีวีเกี่ยวกับการออกเดทว่าเป็น "การขยายการทำลายล้างของความขัดแย้งและการการแสดงออกอย่างเสรี"[21]

บริบททางกฎหมาย

กฎหมายมาตราที่ 5651 หรือร่างรัฐบัญญัติอินเทอร์เน็ต (Internet Act, IA) เริ่มใช้เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2550[22] จุดประสงค์ของกฎหมายนี้มีอยู่สองข้อ ข้อแรกคือเพื่อกำหนดความน่าเชื่อถือและความรับผิดชอบของผู้ให้การใช้ส่วนรวม ผู้ให้การเข้าถึง ผู้ให้พื้นที่ และผู้ให้เนื้อหา ซึ่งล้วนเป็นผู้กระทำหลักของอินเทอร์เน็ต อีกเหตุผลคือเพื่อกำหนดขั้นตอนและพื้นฐานเกี่ยวกับอาชญากรรมเฉพาะที่กระทำผ่านอินเทอร์เน็ตและการต่อสู้กับสิ่งเหล่านี้ผ่านผู้ให้เนื้อหา พื้นที่ และการเข้าถึง[23] ไม่นานมานี้ กฎหมายนี้ถูกใช้เพื่อปิดกั้นบุคคล นักข่าว และสื่อ[24] มีการประมาณว่าเว็บไซต์อย่างน้อย 127,000 เว็บถูกปิดการเข้าถึงในประเทศตุรกี พร้อมอีกกว่า 95,000 เว็บเพจ[20]

การปิดการเข้าถึง

แผนภูมิแสดงสถิติการเข้าดูหน้าสำหรับวิกิพีเดียภาษาตุรกีตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์จนถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2560 เห็นได้ถึงจำนวนที่ลดลงประมาณ 80% ทันทีหลังปิดการเข้าถึง ด้วยความที่เนื้อหาของวิกิพีเดียเป็นเนื้อหาแบบเปิด เว็บไซต์ทางเลือกอื่น ๆ ยังคงให้ข้อมูลจากสารานุกรมออนไลน์แก่สาธารณะ

เมื่อเช้าของวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560 หลายเว็บไซต์รายงานว่าตุรกีได้ปิดการเข้าถึงวิกิพีเดียในทุกภาษา[1][25] สำนักงานเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศของประเทศตุรกีประกาศเพียงว่า "หลังการวิเคราะห์ทางเทคนิคและการคำนึงทางกฎหมายบนฐานของมาตรา 5651 เว็บไซต์นี้ได้ถูกตัดสินวาเข้าข่าย"[26][2] ผู้ใช้รายงานว่าพวกเขาสามารถเข้าวิกิพีเดียได้ผ่านเครื่องมือ เช่น เครือข่ายส่วนตัวเสมือนส่วนตัวเท่านั้น.[27][28]

วิธีการเข้าถึงอื่น

ผู้เคลื่อนไหวได้สร้างแบบคัดลอกของวิกิพีเดียภาษาตุรกีบน InterPlanetary File System (IPFS) ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการจัดการข้อมูลเว็บโดยใช้เทคโนโลยีโอเพนซอร์ซแบบกระจายอำนาจที่รัฐบาลตุรกีไม่สามารถปิดการเข้าถึงได้[29][30][31] TurkceWiki.org มิเรอร์ไซต์ทั้งในภาษาอังกฤษและภาษาตุรกีไม่มีความเกี่ยวข้องกับมูลนิธิวิกิมีเดีย แต่เป็นหนึ่งในมิเรอร์ไซต์ของวิกิพีเดียที่ทำให้ผู้ใช้ในประเทศตุรกีสามารถเข้าถึงวิกิพีเดียได้[32] อย่างไรก็ตาม มิเรอร์ไซต์ได้ละเว้นส่วนที่ทำให้รัฐบาลตุรกี "ไม่พอใจ" และต้องการให้นำออกจากวิกิพีเดีย[33]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikinews
วิกิข่าว มีข่าวเกี่ยวกับบทความ:
Turkey blocks Wikipedia, alleging smear campaign


🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง