สิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน (อังกฤษ: human rights) เป็นหลักทางศีลธรรมหรือจารีต[1] ซึ่งอธิบายมาตรฐานตายตัวของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองสม่ำเสมอเป็นสิทธิทางกฎหมายในกฎหมายท้องถิ่นและกฎหมายระหว่างประเทศ[2] ปกติเข้าใจว่าเป็นสิทธิพื้นฐานที่ไม่โอนให้กันได้ "ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเพียงเพราะผู้นั้นเป็นมนุษย์"[3] และซึ่ง "มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน"[4] โดยไม่คำนึงถึงชาติ สถานที่ ภาษา ศาสนา ชาติพันธุ์กำเนิดหรือสถานภาพอื่นใด[5] สิทธิมนุษยชนใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาในแง่ที่เป็นสากล[1] และสมภาคในแง่ที่เหมือนกับสำหรับทุกคน[5] สิทธิดังกล่าวต้องการความร่วมรู้สึกและหลักนิติธรรม[6] และกำหนดพันธะต่อบุคคลให้เคารพสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น[1][5] สิทธิดังกล่าวไม่ควรถูกพรากไปยกเว้นอันเป็นผลของกระบวนการทางกฎหมายที่ยึดพฤติการณ์แวดล้อมจำเพาะ[5] ตัวอย่างเช่น สิทธิมนุษยชนอาจรวมเสรีภาพจากการจำคุกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย การทรมานและการประหารชีวิต[7]

ลัทธิสิทธิมนุษยชนมีอิทธิพลสูงในกฎหมายระหว่างประเทศ สถาบันโลกและภูมิภาค[5] การกระทำของรัฐและองค์การนอกภาครัฐก่อพื้นฐานของนโยบายสาธารณะทั่วโลก แนวคิดสิทธิมนุษยชนเสนอว่า "หากวจนิพนธ์สาธารณะสังคมโลกยามสงบสามารถกล่าวเป็นภาษาศีลธรรมร่วมได้ สิ่งนั้นคือสิทธิมนุษยชน" การอ้างอย่างหนักแน่นโดยลัทธิสิทธิมนุษยชนยังกระตุ้นกังขาคติและการอภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหา สภาพและการให้เหตุผลว่าชอบด้วยกฎหมายซึ่งสิทธิมนุษยชนตราบจนทุกวันนี้ ความหมายแน่ชัดของคำว่า "สิทธิ" นั้นมีการโต้เถียงและเป็นหัวข้อการอภิปรายทางปรัชญาต่อไป[8] ขณะที่มีการเห็นพ้องต้องกันว่าสิทธิมนุษยชนครอบคลุมสิทธิต่าง ๆ[4] เช่น สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีด้วยความเป็นธรรม การคุ้มครองจากการเป็นทาส การห้ามพันธุฆาต เสรีภาพในการพูด[9]หรือเสรีภาพที่จะได้รับการศึกษา แต่ยังเห็นไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับว่าสิทธิใดบ้างต่อไปนี้ควรรวมอยู่ในกรอบทั่วไปของสิทธิมนุษยชน[1] นักคิดบางคนเสนอว่าสิทธิมนุษยชนควรเป็นข้อกำหนดพื้นฐานเพื่อเลี่ยงการละเมิดที่ร้ายแรงที่สุด ขณะที่บางคนมองว่าเป็นมาตรฐานขั้นสูง[1]

ความคิดพื้นฐานดังกล่าวจำนวนมากซึ่งขับเคลื่อนขบวนการสิทธิมนุษยชนพัฒนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองและความเหี้ยมโหดของฮอโลคอสต์[6] จนลงเอยด้วยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติเห็นชอบปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในกรุงปารีสในปี 2491 คนโบราณไม่มีแนวคิดสิทธิมนุษยชนสากลสมัยใหม่แบบเดียวกัน[10] การบุกเบิกวจนิพนธ์สิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริงนั้นคือมโนทัศน์สิทธิธรรมชาติซึ่งปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีกฎหมายธรรมชาติยุคกลางซึ่งโดดเด่นขึ้นระหว่างยุคภูมิธรรมยุโรปโดยมีนักปรัชญาอย่างจอห์น ล็อก, ฟรานซิส ฮัตชิสัน (Francis Hutcheson) และฌ็อง-ฌัก บูร์ลามากี (Jean-Jacques Burlamaqui) และซึ่งมีการเสนออย่างโดดเด่นในวจนิพันธ์การเมืองของการปฏิวัติอเมริกาและการปฏิวัติฝรั่งเศส[6] จากรากฐานนี้ การให้เหตุผลสิทธิมนุษยชนสมัยใหม่กำเนิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20[11] อาจเป็นปฏิกิริยาต่อความเป็นทาส การทรมาน พันธุฆาตและอาชญากรรมสงคราม[6] โดยความตระหนักถึงความเปราะบางของมนุษย์ในตัวและเป็นเงื่อนไขก่อนความเป็นไปได้ของสังคมยุติธรรม[4]

ปรัชญา

ปรัชญาตะวันตกเรื่องสิทธิมนุษยชนที่เก่าแก่ที่สุดสำนักหนึ่งมีว่าสิทธิมนุษยชนเป็นผลลัพธ์ของกฎหมายธรรมชาติ ที่มาจากเหตุผลทางปรัชญาหรือศาสนาที่แตกต่างกัน ทฤษฎีอื่น ๆ มีว่าสิทธิมนุษยชนเป็นการประมวลพฤติกรรมที่มีศีลธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ทางสังคมของมนุษย์ที่พัฒนามาจากกระบวนการวิวัฒนาการทางชีววิทยาและสังคม

มโนทัศน์

สากลนิยมกับสัมพัทธนิยมทางวัฒนธรรม

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระบุไว้ว่าสิทธิมนุษยชนใช้กับมนุษย์ทุกคนโดยเสมอกัน ไม่ว่าอยู่ที่ใด รัฐใด มีเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมใดก็ตาม แต่ผู้สนับสนุนสัมพัทธนิยมเสนอว่าสิทธิมนุษยชนไม่ใช่สิ่งสากล และขัดแย้งกับบางวัฒนธรรมตลอดจนคุกคามการอยู่รอดของวัฒนธรรมเหล่านั้น บางคนอธิบายสากลนิยมว่าเป็นจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจหรือการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมโนทัศน์สิทธิมนุษยชนมักอ้างว่ามีรากเหง้ามาจากทัศนะทางการเมืองแบบเสรีนิยม ซึ่งแม้ว่าโดยทั่วไปเป็นที่ยอมรับในทวีปยุโรป ญี่ปุ่นและอเมริกาเหนือ แต่มิได้เป็นมาตรฐานที่อื่น นอกจากนี้ยังมีการพาดพิงถึงนักคิดสิทธิมนุษยชนที่ทรงอิทธิพลบางคน เช่น จอห์น ล็อก และจอห์น สจวต มิล ว่าทุกคนเป็นชาวตะวันตกและบางคนยังพัวพันกับการบริหารจักรวรรดิเองเสียด้วย[12][13]

สิทธิที่นักสัมพัทธนิยมมักแย้งคือสิทธิสตรี ตัวอย่างเช่น การตัดอวัยวะเพศสตรีพบในหลายวัฒนธรรมในทวีปแอฟริกา เอเชียและอเมริกาใต้

ลี กวน ยิว อดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ และมหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย อ้างในคริสต์ทศวรรษ 1990 ว่าค่านิยมแบบเอเชียแตกต่างจากค่านิยมตะวันตกมาก และมีสำนึกเรื่องความจงรักภักดีและการยอมสละเสรีภาพส่วนบุคคลเพื่อให้สังคมมีเสถียรภาพและมั่งคั่ง ฉะนั้นรัฐบาลอำนาจนิยมจึงเหมาะสมกับทวีปเอเชียมากกว่าประชาธิปไตย

อย่างไรก็ดี ผู้ให้เหตุผลสัมพัทธนิยมมักละเลยข้อเท็จจริงที่ว่าสิทธิมนุษยชนเป็นของใหม่สำหรับทุกวัฒนธรรม คือ มีประวัติย้อนไปไม่เกินปี 1948 ทั้งไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ร่างปฏิญญาฯ ประกอบด้วยคนหลายวัฒนธรรมและประเพณี เช่น คริสตังชาวอเมริกัน, นักปรัชญาศาสนาขงจื้อชาวจีน, นักลัทธิไซออนิสต์ชาวฝรั่งเศส และผู้แทนจากสันนิบาตอาหรับ และได้รับคำแนะนำจากนักคิดอย่างมหาตมา คานธี[14]

Michael Ignatieff แย้งว่าสัมพัทธนิยมทางวัฒนธรรมเป็นการให้เหตุผลที่เกือบทั้งหมดมาจากผู้ครอบอำนาจในวัฒนธรรมที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนล้วนเป็นผู้ไร้อำนาจทั้งสิ้น[15] สะท้อนว่าการตัดสินสากลนิยมกับสัมพันธนิยมอยู่ในมือของผู้ที่อ้างว่าเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมนั้น ๆ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Amnesty International (2004). Amnesty International Report. Amnesty International Publications. ISBN 0-86210-354-1 ISBN 1-887204-40-7
  • Alexander, Fran (ed) (1998). Encyclopedia of World History. Oxford University Press. ISBN 0-19-860223-5
  • Alston, Philip (2005). "Ships Passing in the Night: The Current State of the Human Rights and Development Debate seen through the Lens of the Millennium Development Goals". Human Rights Quarterly. Vol. 27 (No. 3) p. 807
  • Arnhart, Larry (1998). Darwinian Natural Right: The Biological Ethics of Human Nature SUNY Press. ISBN 0-7914-3693-4
  • Ball, Olivia; Gready, Paul (2007). The No-Nonsense Guide to Human Rights. New Internationalist. ISBN 1-904456-45-6
  • Barzilai, Gad. (2003). Communities and Law: Politics and Cultures of Legal Identities. Ann Arbor: University of Michigan Press. ISBN 0-472-11315-1
  • Chauhan, O.P. (2004). Human Rights: Promotion and Protection. Anmol Publications PVT. LTD. ISBN 81-261-2119-X.
  • Cook, Rebecca J.; Fathalla, Mahmoud F. (September 1996). "Advancing Reproductive Rights Beyond Cairo and Beijing". International Family Planning Perspectives Vol.22 (No.3): p. 115–121 JSTOR 2950752
  • Cope, K., Crabtree, C., & Fariss, C. (2020). Patterns of disagreement in indicators of state repression. Political Science Research and Methods, 8(1), 178–187.
  • Davenport, Christian (2007a). State Repression and the Domestic Democratic Peace. New York: Cambridge University Press. ISBN 0-521-86490-9
  • Davenport, Christian (2007b). State Repression and Political Order. Annual Review of Political Science.
  • Donnelly, Jack. (2003). Universal Human Rights in Theory & Practice. 2nd ed. Ithaca & London: Cornell University Press. ISBN 0-8014-8776-5
  • Ellerman, David (2005). Helping People Help Themselves: From the World Bank to an Alternative Philosophy of Development Assistance. Ann Arbor: University of Michigan Press. ISBN 0-472-03142-2
  • Esposito, John L. (2004). The Oxford Dictionary of Islam. Oxford University Press. ISBN 0-19-512559-2
  • Esposito, John L. (2005). Islam: The Staight Path. Oxford University Press. ISBN 0-19-518266-9
  • Finnis, John (1980). Natural Law and Natural Rights Oxford: Clarendon Press. ISBN 0-19-876110-4
  • Forsythe, David P. (2000). Human Rights in International Relations. Cambridge: Cambridge University Press. International Progress Organization. ISBN 3-900704-08-2
  • Forsythe, David P. (2005). The Humanitarians: The International Committee of the Red Cross Cambridge University Press. ISBN 0-521-84828-8
  • Freedman, Lynn P.; Isaacs, Stephen L. (Jan–Feb 1993). "Human Rights and Reproductive Choice". Studies in Family Planning Vol.24 (No.1): p. 18–30 JSTOR 2939211
  • Ignatieff, Michael (2001). Human Rights as Politics and Idolatry. Princeton & Oxford: Princeton University Press. ISBN 0-691-08893-4
  • Glendon, Mary Ann (2001). A World Made New: Eleanor Roosevelt and the Universal Declaration of Human Rights. Random House of Canada Ltd. ISBN 0-375-50692-6
  • Haddad, Yvonne Yazbeck; Esposito, John L. (1998) Islam, Gender, and Social Change. Oxford University Press US. ISBN 0-19-511357-8
  • Hitchens, Christopher (2002). The Trial of Henry Kissinger. Verso. ISBN 1-85984-398-0
  • Houghton Miffin Company (2006). The American Heritage Dictionary of the English Language. Houghton Miffin. ISBN 0-618-70173-7
  • Jaffa, Harry V. (1979). Thomism and Aristotelianism; A Study of the Commentary by Thomas Aquinas on the Nicomachean Ethics Greenwood Press. ISBN 0-313-21149-3 (reprint of 1952 edition published by University of Chicago Press)
  • Jahn, Beate (2005). "Barbarian thoughts: imperialism in the philosophy of John Stuart Mill". Review of International Studies 13 June 2005 31: 599–618 Cambridge University Press
  • Jones, Lindsay. Encyclopedia of religion, second edition. ISBN 0-02-865742-X
  • Joseph, Suad; Najmabadi, Afsaneh (eds) (2007). Encyclopedia of Women & Islamic Cultures. Brill Publishing. ISBN 90-04-12818-2
  • Kennedy, Duncan (1982). Legal Education and the Reproduction of Hierarchy เก็บถาวร 2020-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Journal of Legal Education Vol.32 (No. 591)
  • Khadduri, Majid (1978). "Marriage in Islamic Law: The Modernist Viewpoints". American Journal of Comparative Law Vol. 26 (No. 2): pp. 213–218.
  • Köchler, Hans (1981). The Principles of International Law and Human Rights. hanskoechler.com
  • Köchler, Hans. (1990). "Democracy and Human Rights". Studies in International Relations, XV. Vienna: International Progress Organization.
  • Kohen, Ari (2007). In Defense of Human Rights: A Non-Religious Grounding in a Pluralistic World. Routledge. ISBN 0-415-42015-6, ISBN 978-0-415-42015-0
  • Landman, Todd (2006). Studying Human Rights. Oxford and London: Routledge ISBN 0-415-32605-2
  • Lewis, Bernard (1992). Race and Slavery in the Middle East: An Historical Enquiry. Oxford University Press. ISBN 0-19-505326-5
  • Lewis, Bernard (21 January 1998). "Islamic Revolution". The New York Review of Books Vol.34 (Nos. 21 & 22)
  • Light, Donald W. (2002). "A Conservative Call For Universal Access To Health Care เก็บถาวร 2005-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" Penn Bioethics Vol.9 (No.4) p. 4–6
  • Littman, David (1999). "Universal Human Rights and 'Human Rights in Islam'". Midstream Magazine Vol. 2 (no.2) pp. 2–7
  • Maan, Bashir; McIntosh, Alastair (1999). "Interview with William Montgomery Watt" The Coracle Vol. 3 (No. 51) pp. 8–11.
  • Maret, Susan 2005. “‘Formats Are a Tool for the Quest for Truth’: HURIDOCS Human Rights Materials for Library and Human Rights Workers.” Progressive Librarian, no. 26 (Winter): 33–39.
  • Mayer, Henry (2000). All on Fire: William Lloyd Garrison and the Abolition of Slavery. St Martin's Press. ISBN 0-312-25367-2
  • McAuliffe, Jane Dammen (ed) (2005). Encyclopaedia of the Qur'an: vol 1–5 Brill Publishing. ISBN 90-04-14743-8. ISBN 978-90-04-14743-0
  • McLagan, Meg (2003) "Principles, Publicity, and Politics: Notes on Human Rights Media". American Anthropologist. Vol. 105 (No. 3). pp. 605–612
  • Hershock, Peter D; Ames, R.T.; Stepaniants, M. (eds). Technology and Cultural Values on the Edge of the Third Millennium. (Selected papers from the 8 th East-West Philosophers Conference). Honolulu: U of Hawai’i Press, 2003. 209–221.
    • Möller, Hans-Georg (2003). How to Distinguish Friends from Enemies: Human Rights Rhetoric and Western Mass Media.
  • Nathwani, Niraj (2003). Rethinking Refugee Law. Martinus Nijhoff Publishers. ISBN 90-411-2002-5
  • Paul, Ellen Frankel; Miller, Fred Dycus; Paul, Jeffrey (eds) (2001). Natural Law and Modern Moral Philosophy Cambridge University Press. ISBN 0-521-79460-9
  • Clayton, Philip; Schloss, Jeffrey (2004). Evolution and Ethics: Human Morality in Biological and Religious Perspective Wm. B. Eerdmans Publishing. ISBN 0-8028-2695-4
  • Robertson, Arthur Henry; Merrills, John Graham (1996). Human Rights in the World: An Introduction to the Study of the International Protection of Human Rights. Manchester University Press. ISBN 0-7190-4923-7.
  • Salevao, Lutisone (2005). Rule of Law, Legitimate Governance and Development in the Pacific. ANU E Press. ISBN 978-0731537211
  • Scott, C. (1989). "The Interdependence and Permeability of Human Rights Norms: Towards a Partial Fusion of the International Covenants on Human Rights". Osgood Law Journal Vol. 27
  • Sills, David L. (1968, 1972) International Encyclopedia of the Social Sciences. MacMillan.
  • Shellens, Max Salomon. 1959. "Aristotle on Natural Law." Natural Law Forum 4, no. 1. Pp. 72–100.
  • Schimmel, Annemarie (1992). Islam: An Introduction. SUNY Press. ISBN 0-7914-1327-6
  • Sen, Amartya (1997). Human Rights and Asian Values. ISBN 0-87641-151-0.
  • Shute, Stephen & Hurley, Susan (eds.). (1993). On Human Rights: The Oxford Amnesty Lectures. New York: BasicBooks. ISBN 0-465-05224-X
  • Steiner, J. & Alston, Philip. (1996). International Human Rights in Context: Law, Politics, Morals. Oxford: Clarendon Press. ISBN 0-19-825427-X
  • Sunga, Lyal S. (1992) Individual Responsibility in International Law for Serious Human Rights Violations, Martinus Nijhoff Publishers. ISBN 0-7923-1453-0
  • Tierney, Brian (1997). The Idea of Natural Rights: Studies on Natural Rights, Natural Law, and Church Law. Wm. B. Eerdmans Publishing. ISBN 0-8028-4854-0
  • Tunick, Mark (2006). "Tolerant Imperialism: John Stuart Mill's Defense of British Rule in India". The Review of Politics 27 October 2006 68: 586–611 Cambridge University Press
  • Vaughn, Karen I. (1978) "John Locke and the Labor Theory of Value" Journal of Libertarian Studies. Vol. 2 (No. 4) pp. 311–326

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง