การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศอินเดีย

ผู้ป่วยแรกจากการระบาดทั่วของโควิด-19ในประเทศอินเดียนั้นมีรายงานในวันที่ 30 มกราคม 2020 โดยได้รับเชื้อมาจากประเทศจีน ข้อมูลเมื่อ 28 พฤษภาคม 2020 กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการครอบครัวได้ยืนยันผู้ติดเชื้อรวม 158,333 ราย และรักษาหายแล้ว 67,692 ราย (ในจำนวนนี้เป็นผู้อพยพ 1 คน) มียอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 4,531 รายในประเทศ[5] ประเทศอินเดียมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสูงเป็นอันดับที่สี่ในทวีปเอเชีย ด้วยจำนวนยอดผู้ป่วยแตะขีด 100,000 รายในวันที่ 19 พฤษภาคม 2020[8] ในขณะที่อัตราการเสียชีวิตในประเทศอินเดียนั้นค่อนข้างต่ำ อยู่ที่ 3.09% ในขณะที่ค่าเฉลี่ยโลกอยู่ที่ 6.63% (ข้อมูลวันที่ 20 พฤษภาคม 2020)[9] จำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมดของประเทศอินเดีย ครึ่งหนึ่งพบในหกเมืองสำคัญของประเทศอินเดีย ได้แก่ – มุมไบ, เดลี, อะห์มดาบาด, เจนไน, ปูเน และโกลกาตา[10] ข้อมูลในวันที่ 24 พฤษภาคม 2020 มีเพียงดินแดนสหภาพลักษทวีป เป็นเขตบริหารระดับบนแห่งเดียวที่ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อ

การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศอินเดีย พ.ศ. 2563
COVID-19 pandemic in India
แผนที่การระบาดในประเทศอินเดีย (ข้อมูลเมื่อ 8 เมษายน 2024)
แผนที่การเสียชีวิตเนื่องจากไวรัสโคโรนาในประเทศอินเดีย (ข้อมูลเมื่อ 8 เมษายน 2024)
โรคโรคไวรัสโคโรนา 19
(COVID-19)
สายพันธุ์ไวรัสSARS-CoV-2
(SARS-CoV-2)[1]
สถานที่ประเทศอินเดีย
การระบาดครั้งแรกอู่ฮั่น, มณฑลหูเป่ย์, ประเทศจีน[2]
ผู้ป่วยต้นปัญหาฐฤสสูร, รัฐเกรละ[3]
วันที่30 มกราคม 2020 – ดำเนินอยู่
(4 ปี 2 เดือน 1 สัปดาห์ 2 วัน)[4]
ผู้ป่วยยืนยันสะสมข้อผิดพลาดสคริปต์: มอดูลคืนค่าเป็น nil ซึ่งควรจะคืนค่าเป็นตารางส่งออก[5][note 1]
ผู้ป่วยปัจจุบันFormatting error: invalid input when rounding[5]
หายข้อผิดพลาดสคริปต์: มอดูลคืนค่าเป็น nil ซึ่งควรจะคืนค่าเป็นตารางส่งออก[5][note 2]
เสียชีวิตข้อผิดพลาดสคริปต์: มอดูลคืนค่าเป็น nil ซึ่งควรจะคืนค่าเป็นตารางส่งออก[5][note 3]
อัตราการเสียชีวิตError in Template:Nts: Fractions are not supported%
ดินแดน28 รัฐ 7 ดินแดนสหภาพ[5]
เว็บไซต์ของรัฐบาล
www.mohfw.gov.in

ปัจจุบันมีการประกาษให้เป็นการระบาด (epidemic) แล้วในมากกว่า 12 รัฐและยูที ภายใต้ Epidemic Diseases Act, 1897 และสถาบันการศึกษารวมทั้งธุรกิจจำนวนมากได้ปิด ประเทศอินเดียได้จัดการยกเลิกวีซ่าท่องเที่ยวทั้งหมด ด้วยส่วนใหญ่ของผู้ติดเชื้อที่ยืนยันแล้วมีความเกี่ยวเนื่องกับประเทศอื่นนอกอินเดีย[11]

ในวันที่ 22 มีนาคม 2020 ประเทศอินเดียสั่งประกาศเคอร์ฟีว 14 ชั่วโมงโดยอาสา (voluntary public curfew) ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีนเรนทระ โมที รัฐบาลได้ประกาศปิดเมือง (lockdown) ใน 75 อำเภอ (districts) ที่มีรายงานผู้ติดเชื้อยืนยันและในเมืองสำคัญทั้งหมดของประเทศ[12][13] ต่อมาในวันที่ 24 มีนาคม นายกรัฐมนตรีจึงได้ออกประกาศปิดเมืองทั้งประเทศ (nationwide lockdown) เป็นเวลา 21 วัน ส่งผลกระทบต่อประชากรกว่า 1.3 พันล้านคนของประเทศอินเดีย[14][15] ในวันที่ 14 เมษายน นายกรัฐมนตรีได้ขยายการปิดเมืองทั้งประเทศนี้ออกไปอีกจนถึงวันที่ 3 พฤษภาคม[16] ในวันที่ 1 พฤษภาคม ได้มีขยายการปิดเมืองทั่วประเทศออกไปอีกสองสัปดาห์จนถึงวันที่ 17 พฤษภาคม[17] ในวันที่ 17 พฤษภาคม NDMA ยังคงขยายการปิดเมืองทั่วประเทศออกไปอีกจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม[18]

ไมเคิล ไรอัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การอนามัยโลก โปรแกรมความเร่งด่วนส่วนสุขภาพ (health emergencies programme) ระบุว่าประเทศอินเดียมี "ความพร้อมรับมือที่ล้นเหลือ" ("tremendous capacity") ต่อการจัดการกับวิกฤตไวรัสโคโรนานี้ ด้วยฐานะประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเป็นอันดับสอง ย่อมจะมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อความสามารถของทั้งโลกในการรับมือต่อโรคระบาดนี้[19] ในขณะที่ความเห็นบางส่วนกังวลต่อผลกระทบร้ายแรงที่จะมีต่อเศรษฐกิจจากการสั่งปิดเมืองนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อแรงงานไม่ประจำ (informal workers), ธุรกิจขนาดเล็กและเล็กมาก (micro and small enterprises), ชาวนาชาวไร่ (farmers) และผู้ประกอบอาชีพฟรีแลนซ์ (self-employed) ผู้ถูกทิ้งไว้ขาดจากการเดินทางและการเข้าถึงตลาด[20][21]

ศูนย์ติดตามการรับมือของรัฐบาลต่อโควิด-19 มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (The Oxford COVID-19 Government Response Tracker (OxCGRT)) ระบุไว้ในรายงานจากข้อมูลที่รวบรวมจาก 73 ประเทศ ว่ารัฐบาลอินเดียมีการรับมืออย่างเข้มงวดและฉุกละหุก (stringently) มากกว่าประเทศอื่น ๆ ในการลดการระบาด ในรายงานยังชี้ให้เห็นถึงการลงมือของรัฐบาลที่ฉับพลันทันที, การออกนโยบายฉุกเฉิน, การลงทุนในบริการสุขภาพฉุกเฉิน, มาตรการด้านการเงิน, การลงทุนในการค้นคว้าวัคซีน และการรับมือต่อเหตุการณ์อย่างทันท่วงทีตลอดเวลา (active response) รวมแล้วทำให้ประเทศอินเดียได้คะแนนไป "100" คะแนน[เต็ม]สำหรับความเข้มงวด (strictness) นี้[22][23]

หมายเหตุ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง