การลงประชามติว่าด้วยสาธารณรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2542

การลงประชามติว่าด้วยสาธารณรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2542 (อังกฤษ: Australian republic referendum, 1999[1]) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 คือการลงประชามติเพื่อหยั่งเสียงของประชาชนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งเครือรัฐออสเตรเลียซึ่งประกอบไปด้วยสองคำถาม คำถามแรกเป็นคำถามที่ว่าออสเตรเลียควรเปลี่ยนมาใช้ระบอบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีที่มาจากการแต่งตั้งโดยรัฐสภาตามรูปแบบการแต่งตั้งสองฝ่าย (bi-partisan appointment model) เป็นประมุขของประเทศหรือไม่ ทั้งนี้รูปแบบดังกล่าวได้รับการเห็นชอบจากสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญ (Constitutional Convention) ที่จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 ณ กรุงแคนเบอร์รา ซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งและการเลือกตั้งอย่างละครึ่ง ส่วนคำถามที่สองถามว่าควรเพิ่มบทนำ (preamble) เข้าไปในรัฐธรรมนูญด้วยหรือไม่ ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้วถือว่าคำถามที่สองนั้นมีความสำคัญในเชิงการเมืองน้อยกว่าคำถามแรกเป็นอย่างมาก

การลงประชามติว่าด้วยสาธารณรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2542[1]
6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 (1999-11-06)

ร่างกฎหมาย: แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อสถาปนาเครือรัฐออสเตรเลียในฐานะสาธารณรัฐ โดยสมเด็จพระราชินีนาถและผู้สำเร็จราชการถูกแทนที่ด้วยประธานาธิบดีซึ่งแต่งตั้งโดยเสียงส่วนมากสองในสามของสมาชิกรัฐสภาเครือรัฐออสเตรเลีย.

ท่านเห็นชอบการเสนอแก้ไขนี้หรือไม่?'

อังกฤษ:

A proposed law:To alter the Constitution to establish the Commonwealth of Australia as a republic with the Queen and Governor-General being replaced by a President appointed by a two-thirds majority of the members of the Commonwealth Parliament.

Do you approve this proposed alteration?'

สถานที่ประเทศออสเตรเลีย
วันที่6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 (1999-11-06)
ผล
คะแนน%
ใช่5,273,02445.13%
ไม่6,410,78754.87%
คะแนนสมบูรณ์11,683,81199.14%
คะแนนไม่สมบูรณ์หรือคะแนนเปล่า101,1890.86%
คะแนนทั้งหมด[2]11,785,000100.00%
ผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิ/ผู้ออกมาใช้สิทธิ12,392,04095.1%
ผลคะแนนแบ่งตามstate and territory
  ใช่     ไม่
เว็บไซต์: 1999 referendum report and statistics
หมายเหตุ: ความเข้มของสีแสดงถึงจำนวนผลโหวตรวม
ประเด็นบทนำ
6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 (1999-11-06)

ร่างกฎหมาย: แก้ไขเพื่อเพิ่มบทนำเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ ท่านเห็นชอบการเสนอแก้ไขนี้หรือไม่
อังกฤษ: A Proposed Law: To alter the Constitution to insert a preamble. Do you approve this proposed alteration?
สถานที่ประเทศออสเตรเลีย
วันที่6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 (1999-11-06)
ผล
คะแนน%
ใช่4,591,56339.34%
ไม่7,080,99860.66%
คะแนนสมบูรณ์11,672,56199.05%
คะแนนไม่สมบูรณ์หรือคะแนนเปล่า112,4740.95%
คะแนนทั้งหมด11,785,035100.00%
ผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิ/ผู้ออกมาใช้สิทธิ12,392,04095.1%
เว็บไซต์: 1999 referendum report and statistics

ในขณะที่ผลการสำรวจความคิดเห็นของหลายสำนักในช่วงหลายปีบ่งชี้ตรงกันว่าผู้มีสิทธิ์ออกเสียงส่วนมากเห็นชอบแนวทางการเปลี่ยนไปใช้ระบอบสาธารณรัฐ[3] อย่างไรก็ตามผลคะแนนจริงที่ออกมาแสดงให้เห็นถึงความพ้ายแพ้ของฝ่ายสนับสนุนสาธารณรัฐ อันมีสาเหตุมากจากเสียงคัดค้านรุนแรงจากกลุ่มราชาธิปไตยนิยมหลายกลุ่ม และความแตกแยกภายในฝ่ายสาธารณรัฐนิยมในประเด็นวิธีการเลือกประธานาธิบดี

ผลคะแนน

เนื่องจากมาตรา 128 แห่งรัฐธรรมนูญเครือรัฐออสเตรเลียกำหนดไว้ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องได้รับการเห็นชอบจาก เสียงส่วนมากสองชั้น (double majority) คือเสียงส่วนมากในระดับเขตปกครอง (เห็นชอบมากกว่า 4 แห่ง) และเสียงส่วนมากในระดับผู้มีสิทธิ์ออกเสียง[4] ส่วนคะแนนของผู้มีสิทธิ์ออกเสียงในเขตปกครองที่มีสถานะเป็นดินแดน (เทร์ริทอรี) จะถูกนับในระดับที่สองเท่านั้น (ระดับผู้มีสิทธิ์ออกเสียง)

ในการลงประชามติครั้งนี้มีผู้มาใช้สิทธิ์รวมทั้งสิ้น 11,785,000 คน คิดเป็นร้อยละ 95.10 ของจำนวนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงทั้งหมด (12,392,040 คน) ซึ่งในจำนวนนี้ มีคะแนนเสียงที่ถือเป็นโมฆะ (บัตรเสียหรือไม่ลงคะแนนเสียง) ประมาณ 100,000 เสียงหรือร้อยละ 0.9 ของคะแนนเสียงทั้งหมด[1]

การลงประชามติว่าด้วยสาธารณรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2542
ทางเลือกคะแนนเสียง%
ไม่เห็นชอบ6,410,78754.87%
เห็นชอบ5,273,02445.13%
บัตรดี11,683,81199.14%
บัตรเสียหรือไม่ลงคะแนน101,1890.86%
คะแนนเสียงทั้งหมด11,785,000100.00%
อัตราการลงคะแนน95.10%
แหล่งอ้างอิง: [1]

ประเด็นสาธารณรัฐ

ร่างกฎหมาย: แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อสถาปนาเครือรัฐออสเตรเลียในฐานะสาธารณรัฐ โดยสมเด็จพระราชินีนาถและผู้สำเร็จราชการถูกแทนที่ด้วยประธานาธิบดีซึ่งแต่งตั้งโดยเสียงส่วนมากสองในสามของสมาชิกรัฐสภาเครือรัฐออสเตรเลีย

ท่านเห็นชอบการเสนอแก้ไขนี้หรือไม่

เขตปกครองจำนวนผู้มีสิทธิ์ทั้งหมดจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์สนับสนุนคัดค้านโมฆะ
คะแนนร้อยละคะแนนร้อยละ
รัฐนิวเซาท์เวลส์4,146,6533,948,7141,817,38046.432,096,56253.5734,772
รัฐวิกตอเรีย3,164,8433,016,7371,489,53649.841,499,13850.1628,063
รัฐควีนส์แลนด์2,228,3772,108,694784,06037.441,309,99262.5614,642
รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย1,176,3111,114,326458,30641.48646,52058.529,500
รัฐเซาท์ออสเตรเลีย1,027,392986,394425,86943.57551,57556.438,950
รัฐแทสเมเนีย327,729315,641126,27140.37186,51359.632,857
ดินแดนออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี212,586202,614127,21163.2773,85036.731,553
ดินแดนนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี108,14991,88044,39148.7746,63751.23852
รวมเครือรัฐออสเตรเลีย12,392,04011,785,0005,273,02445.136,410,78754.87101,189

ผลคะแนนที่ได้คือไม่ได้รับการเห็นชอบจากเสียงส่วนมากทั้งในระดับเขตปกครองและระดับผู้มีสิทธิ์ออกเสียง (เสียงสนับสนุนน้อยกว่าเสียงคัดค้าน 1,137,763 คะแนน) ร่างกฎหมายที่เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวจึงถูกตีตกไป

ประเด็นบทนำ

ร่างกฎหมาย: แก้ไขเพื่อเพิ่มบทนำเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ

ท่านเห็นชอบการเสนอแก้ไขนี้หรือไม่

เขตปกครองจำนวนผู้มีสิทธิ์ทั้งหมดจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์สนับสนุนคัดค้านโมฆะ
คะแนนร้อยละคะแนนร้อยละ
รัฐนิวเซาท์เวลส์4,146,6533,948,4821,647,37842.142,261,96057.8639,144
รัฐวิกตอเรีย3,164,8433,016,7161,268,04442.461,718,33157.5430,341
รัฐควีนส์แลนด์2,228,3772,108,659686,64432.811,405,84167.1916,174
รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย1,176,3111,114,455383,47734.73720,54265.2710,436
รัฐเซาท์ออสเตรเลีย1,027,392986,535371,96538.10604,24561.9010,325
รัฐแทสเมเนีย327,729315,664111,41535.67200,90664.333,343
ดินแดนออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี212,586202,61887,62943.61113,29356.391,696
ดินแดนนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี108,14991,90635,01138.5255,88061.481,015
รวมเครือรัฐออสเตรเลีย12,392,04011,785,0354,591,56339.347,080,99860.66112,474

ผลคะแนนที่ได้คือไม่ได้รับการเห็นชอบจากเสียงส่วนมากทั้งในระดับเขตปกครองและระดับผู้มีสิทธิ์ออกเสียง (เสียงสนับสนุนน้อยกว่าเสียงคัดค้าน 2,489,435 คะแนน) ร่างกฎหมายที่เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวจึงถูกตีตกไป

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง