การสังหารหมู่ที่ดัยร์ยาซีน

การสังหารหมู่ที่ดัยร์ยาซีน (อังกฤษ: Deir Yassin massacre) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 1948 เมื่อกลุ่มนักสู้ชาวยิวราว 130[1] คนจากกองกำลังกึ่งกอทัพยิว อีร์กูน และ เลฮี ฆาตกรรมชาวบ้านอย่างน้อย 107 ราย เหยื่อทั้งหมดเป็นชาวอาหรับปาเลสไตน์ รวมถึงเด็กและสตรี ในหมู่บ้านดัยร์ยาซีน ซึ่งมีขนาดประชากรราว 600 ใกล้กับนครเยรูซาเลม แม้ว่าหมู่บ้านจะบรรลุข้อตกลงในการอยู่โดยสันติก็ตาม การโจมตีนี้เกิดขึ้นขณะกองกำลังชาวยิวพยายามจะหาทางผ่อนปรนการล้อมนครเยรูซาเลมในระหว่างสงครามกลางเมืองปาเลสไตน์ในอาณัติที่เกิดขึ้นก่อนสิ้นสุดการปกครองในภูมิภาคปาเลสไตน์ของเจ้าอาณานิคมอังกฤษ[4]

การสังหารหมู่ดัยร์ยาซีน
เป็นส่วนหนึ่งของสงครามกลางเมืองในปาเลสไตน์ในอาณัติ 1947-48 และ การอพยพครั้งใหญ่ของชาวปาเลสไตน์ ปี 1948
ดวงตราไปรษณียากรปี 1965 ของเยเมนเหนือ ระลึกถึงเหตุสังหารหมู่
สถานที่ดัยร์ยาซีน ปาเลสไตน์ในอาณัติ (ปัจจุบัน ประเทศอิสราเอล)
วันที่9 เมษายน 1948; 76 ปีก่อน (1948-04-09)
เป้าหมายชาวบ้านชาวอาหรับ
อาวุธปืนกล, ระเบิด, วัตถุระเบิด[1]
ตายมีข้อกังขาอยู่: ชาวบ้านชาวปาเลสไตน์อาหรับ ≥107 คน และผู้โจมตี 5 คน[2]
เจ็บชาวบ้าน 12–50 คน[3] และกองกำลังชาวยิวหลายสิบคน[fn 1][1]
ผู้ก่อเหตุอีร์กูน, เลฮี ภายใต้ความช่วยเหลือของฮากานะฮ์[1]
จำนวนก่อเหตุทหารชาวยิว ราว 120–130[1]
ผู้ต่อต้านชาวบ้าน

ชาวบ้านในดัยร์ยาซีนมีความพยายามต้านทานกองกำลังยิวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้และกองกำลังยิวเองก็มีรายงานผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเช่นกัน ท้ายที่สุด ดัยร์ยาซีนก็ถูกยึดได้หลังการต่อสู้รายบ้านสิ้นสุด ชาวอาหรับปาเลสไตน์บางส่วนเสียชีวิตระหว่างการโจมตี ในขณะที่บางส่วนถูกสังหารชณะพยายามหลบหนีหรือแสดงการยอมจำนนแล้วก็ตาม มีนักโทษจำนวนหนึ่งถูกสังหาร บางส่วนหลังถูกนำไปขึ้นขบวนแห่ในเยรูซาเลมตะวันตกเพื่อถูกประชาชนถ่มถุย ขว้างปาหินใส่ ก่อนที่จะถูกสังหาร[1][5][6] นอกจากการฆาตกรรมแล้ว อาชญากรรมอื่น ๆ ที่ก่อในระหว่างการสังหารหมู่ยังมีการปล้นสะดมของมีค่า และมีความเป็นไปได้ว่าเกิดการข่มขืนและทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความพิการ[7] แม้ตอนแรก กองกำลังยิวจะประกาศชัยชนะและรุบว่าได้สังหารเหยื่อไปรวม 254 ราย แต่นักวิชาการในปัจจุบันระบุยอดเสียชีวิตอยู่ที่ต่ำกว่านั้น นักประวัติศาสตร์ชาวปาเลสไตน์ อาเรฟ อัลอาเรฟ นับเหยื่อได้รวม 117 ราย, เจ็ดรายในระหว่างการต่อสู้ และที่เหลือในบ้าน[8] จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บมีประมาณอยู่ระหว่าง 12 ถึง 50 นอกจากนี้ ฝั่งผู้โจมตีมีรายงานเสียชีวิตห้าราย บาดเจ็บอีกนับสิบคน[1]

การสังหารหมู่นี้ถูกประณามโดยผู้นำของฮากานะฮ์ซึ่งเป็นกองกำลังกึ่งกองทัพหลักของชุมชนชาวยิว และชาวยิวซึ่งรวมถึงหัวหน้าแรบไบประจำพื้นที่สองคน ไปจนถึงอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, เยสซูรูน การ์โดโซ, ฮันนะฮ์ อาเรนดต์, ซิดนีย์ ฮุก เป็นต้น องค์การชาวยิวเพื่อปาเลสไตน์ยังได้ส่งจดหมายขอโทษอย่างเป็นทางการแด่กษัตริย์อับดุลละฮ์แห่งจอร์แดนแต่ถูกปัดตกไป[4] และถือว่าคนยิวมีส่วนรับผิดชอบต่อเหตุการณ์นี้[9] รวมถึงยังเตือนถึง "ผลสืบเนื่องอย่างร้ายแรง" หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ที่ใดอีก[10]

เหตุสังหารหมู่นี้กลายมาเป็นเหตุการณ์จุดเปลี่ยนในความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับโลกอาหรับ มีวาทกรรมเกิดขึ้นจากหลายฝ่ายเพื่อใช้โจมตีกันและกัน เช่น วาทกรรมจากชาวปาเลสไตน์พุ่งเป้าโจมตีอิสราเอล, โดยกลุ่มฮากานะฮ์เพื่อลดทอนบทบาทตัวเองในเหตุการณ์นี้ลง และโดยชาวอิสราเอลเพื่อกล่าวโทษกลุ่มอีร์กูนกับเลฮีว่าทำให้ชื่อของอิสราเอลต้องหม่นหมองผ่านการละเมิดซึ่งหลักการยิวว่าด้วยความเป็นบริสุทธิ์จากอาวุธ[11]

สี่วันถัดมา ในวันที่ 13 เมษายน มีการโจมตีเพื่อล้างแค้นในเยรูซาเลม โดยการโจมตีขบวนความช่วยเหลือทางการแพทย์ฮาดัสซะฮ์นี้เป็นผลให้มีชาวยิวถูกสังหาร 78 ราย ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรทางการแพทย์[12][13] ส่วนแหล่งข้อมูลในหอจดหมายเหตุของกองทัพอิสราเอลที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการสังหารหมู่ที่ดัยร์ยาซีนยังคงมีสถานะเป็นความลับ[14]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง