ผู้ประกอบการ

ผู้มีหน้าที่ดำเนินกิจการ
(เปลี่ยนทางจาก การเป็นผู้ประกอบการ)

การเป็นผู้ประกอบการ (อังกฤษ: Entrepreneurship) คือ การสร้างหรือการสกัดคุณค่า [1][2][3] หากใช้คำนิยามเบื้องต้นนี้ การเป็นผู้ประกอบการอาจมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งเพื่อทำให้เกิดคุณค่าขึ้น นิยามเบื้องต้นนี้มีความหมายที่ครอบคลุมมากกว่าการประกอบธุรกิจ

ในนิยามที่แคบลงมานั้น การเป็นผู้ประกอบการ คือ กระบวนการในการออกแบบธุรกิจ เปิดตัวสินค้าหรือบริการของธุรกิจสู่สาธารณะ และ การประกอบธุรกิจใหม่ ซึ่งมักจะเริ่มต้นด้วยการเป็นธุรกิจขนาดเล็ก (small business) ตัวอย่างเช่น ธุรกิจครอบครัวโดยมีสมาชิกในครอบครัวมาช่วยกันทำงานและสร้างกำไรกันในครอบครัว ธุรกิจสตาร์ทอัพที่เริ่มจากผู้ก่อตั้งประมาณ 3-4 คน ช่วยกันสร้างผลิตภัณฑ์ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด เช่น Wongnai และ Okkbee หรือแม้แต่จะเป็นธุรกิจที่เริ่มและดำเนินการด้วยตัวคนเดียว (Solopreneur) ก็ถือเป็นผู้ประกอบการเช่นกัน[4]

ส่วน ความเป็นผู้ประกอบการ หมายถึง "ความสามารถและความต้องการอย่างแรงกล้าในการพัฒนา ลงทุน และ บริหารจัดการธุรกิจ โดยพร้อมที่จะกล้ารับความเสี่ยงเพื่อให้ได้กำไร (profit)"[5] โดยเรียกกลุ่มคนที่สร้างธุรกิจของตัวเองขว่า ผู้ประกอบการ (entrepreneurs)[6][7]

ในทางเศรษฐศาสตร์ นิยามคำว่า ผู้ประกอบการ หมายถึง ผู้ที่มีความสามารถในการค้นหาโอกาส (เช่น สิ่งประดิษฐ์ หรือ เทคโนโลยี) และใช้โอกาสนั้นในการสร้างสินค้าและบริการ "ผู้ประกอบการสามารถเห็นศักยภาพเชิงพาณิชย์ของสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ และบริหารจัดการเงินทุน, ความสามารถในการผลิต หรือ ทรัพยากรการผลิตอื่น ๆ ที่มี เพื่อประยุกต์สิ่งประดิษฐ์ใหม่นั้น ให้กลายเป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ที่สร้างผลกำไรได้"[8] ในนิยามนี้ คำว่า การเป็นผู้ประกอบการ จะรวมไปถึงการทำกิจกรรมทีเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมของกิจการ ความหมายในเชิงเศรษฐศาสตร์ จะโฟกัสไปที่การสร้างคุณค่าเชิงพาณิชย์ จากสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม

มุมมองต่อการเป็นผู้ประกอบการ

ในเชิงวิชาการ คำว่า Entrepreneurship (ความเป็นผู้ประกอบการ) มีแนวคิดหลากหลายมุมมองจากหลายสำนักในสาขาต่าง ๆ เช่น เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา และ ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ[9][10] โดยนักวิชาการหลายคนมองว่าการเป็นผู้ประกอบการเกี่ยวข้องอย่างมากผู้ประกอบการ นักวิชาการเหล่านี้มักจะให้ความสำคัญกับสิ่งที่ผู้ประกอบการทำและลักษณะพิเศษที่ผู้ประกอบการมี บางครั้งเรียกว่าวิธีการทำงานเพื่อการเป็นผู้ประกอบการ ส่วนนักวิชาการสำนักอื่นมองที่กระบวนการการประกอบการ[11] แทนการเจาะกลุ่มไปที่กลุ่มบุคคลที่ประกอบกิจการ แนวทางนี้บางครั้งเรียกว่า แนวทางเชิงกระบวนการ (processual approach)[12]

พฤติกรรมความเป็นผู้ประกอบการ

ผู้ประกอบการมักถูกมองว่าเป็นนวัตกร (innovator) — ผู้ออกแบบไอเดียใหม่ ๆ และกระบวนการทางธุรกิจใหม่[13] ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จม มักเป็นผู้ความเป็นผู้นำ (leadership) สูง มีทักษะการจัดการและการสร้างทีม[14] นักเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวอเมริกัน โรเบิร์ต ไรช์ (Robert Reich) ได้กล่าวถึงคุณลักษณะที่จำเป็น 3 อย่างของผู้ประกอบการ ประกอบกอบด้วย ความเป็นผู้นำ (leadership), ความสามารถในการจัดการ (management ability) และ ความสามารถในการสร้างทีม (team-building)[15][16]

มุมมองต่อความไม่แน่นอน และ การรับความเสี่ยง

นักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีชาวอเมริกัน แฟรงค์ ไนท์ (Frank Knight)[17] และ ปีเตอร์ ดรักเคอร์ (Peter Drucker) ได้ให้นิยามคำว่า "ความเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneurship)" ว่าเป็นความสามารถในการรับความเสี่ยงสูงได้ (risk-taking) ผู้ประกอบการคือผู้ที่ยอมเอาหน้าที่การงานหรือความปลอดภัยทางการเงินของพวกเขาแขวนไว้บนเส้นได้ และยอมรับความเสี่ยงเพื่อการสร้างธุรกิจจากไอเดีย ใช้ทรัพยากรเงินทุนและทรัพยากรเวลาไปกับการลงทุนที่ไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการมักจะไม่เชื่อว่าตัวเองรับความเสียงที่สูง เนื่องจากผู้ประกอบการมักจะมองเห็นความไม่แน่นอนในระดับที่ต่ำกว่าคนทั่วไป โดยแฟรงก์ ไนท์ ได้แยกความไม่แน่นอนออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้:

  • Risk (ความเสี่ยง) คือ ความไม่แน่นอนที่สามารถวัดได้ในทางสถิติ (เช่น โอกาสที่หยิบจะได้บอลสีแดง จากโถที่มีบอลสีแดง 5 ลูก และ สีฟ้า 5 ลูก)
  • Ambiguity (ความคลุมเครือ) คือ ความไม่แน่นอนที่วัดได้ยากในทางสถิติ (เช่น โอกาสที่จะหยิบได้บอลสีแดง จากโถที่มีบอลสีแดง 5 ลูก และบอลสีฟ้าที่ไม่รู้จำนวนลูกที่แน่นอน) ball from a jar containing five red balls but an unknown number of white balls)
  • True uncertainty (ความไม่แน่นอนที่แท้จริง) หรือ ความไม่แน่นอนแบบไนท์ (Knightian uncertainty) คือ ความไม่แน่นอนที่เป็นไปไม่ได้ที่จะวัดด้วยหลักสถิติ (เช่น โอกาสที่จะหยิบได้บอลสีแดง จากโถที่ไม่รู้จำนวนบอล และไม่รู้สีของบอล)

การเป็นผู้ประกอบการมักเกี่ยวโยงกับความไม่แน่นอนที่แท้จริง โดยเฉพาะเวลาสร้างสินค้าและบริการสำหรับตลาดผู้บริโภคที่ไม่เคยมีมาก่อน (Blur ocean) แทนที่จะลงทุนสร้างสินค้าหรือบริการที่มีมาก่อนแล้ว มีงานวิจัย ปี ค.ศ.2014 ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส ซือริช (ETH Zürich) ได้ทำการเปรียบเทียบผู้จัดการทั่วไปกับผู้ประกอบการ พบว่าผู้ประกอบการจะมีประสิทธิภาพในการตัดสินใจที่สูงกว่า และ มีกิจกรรมในสมองส่วน frontopolar cortex (FPC) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกับการสำรวจตัวเลือกต่าง ๆ (explorative choice)[18]

ความสามารถในการรับคำแนะนำ

ความสามารถในการทำงานร่วมและรับคำแนะนำ จากนักลงทุนรายเริ่มแรก (early investors) และหุ้นส่วนผู้ร่วมลงทุนคนอื่น ๆ (ความสามารถในการรับคำแนะนำ) คือปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับความสำเร็จของผู้ประกอบการ[19] ในอีกทางหนึ่ง นักเศรษฐศาสตร์ก็ได้โต้เถียงว่าผู้ประกอบการไม่ควรทำตามึคำแนะนำทุกอย่างที่ได้รับ แม้ว่าคำแนะนำนั้นจะมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือก็ตาม เพราะผู้ประกอบการมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งในธุรกิจที่ทำ มากกว่าบุคคลภายนอก ความสามารถในการรับคำแนะนำ (Coachability) ไม่ได้เป็นตัวกำหนดความสำเร็จของผู้ประกอบการ (เช่น การวัดอัตราการรอดของกิจการ) งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ทีมผู้ก่อตั้งบริษัทที่ใหญ่และประกอบกิจการมายาวนาน (ซึ่งมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งอย่างมากในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตนเอง) จะมีความสามารถในการรับคำแนะนำ (Coachability) ที่ต่ำกว่าทีมผู้ก่อตั้งบริษัทที่มีขนาดเล็กและก่อตั้งมาไม่นาน

กลยุทธ์

กลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการอาจใช้ มีดังนี้:

  • การสร้างนวัตกรรม (Innovation) ใหม่ (สินค้า บริการ หรือ กระบวนการผลิต)[20]
  • การปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง (Continuous process improvement (CPI))[20]
  • การสำรวจโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ
  • การใช้เทคโนโลยี[20]
  • การใช้การวิเคราะห์ธุรกิจอัจฉริยะ (business intelligence)
  • การใช้กลยุทธ์ทางเศรษฐศาสตร์
  • การพัฒนาสินค้าและบริการแห่งอนาคต[20]
  • การพัฒนาและบริหารจัดการความสามารถของทีม[20]
  • กลยุทธ์การตลาดสำหรับเครือข่ายเชิงนวัตกรรม[21]

จิตวิทยาผู้ประกอบการ

ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแอปเปิล และ ผู้บริหารบริษัทแอปเปิลในอดีต สตีฟ จ็อบส์ Steve Jobs (รูปถ่าย ปี 2010) คือผู้ที่เปิดตัวนวัตกรรมหลายอย่างปฏิวัติวงการธุรกิจคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และ ธุรกิจเพลงดิจิทัล

นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน เอ็ดเวิร์ด ลาซีร์ (Edward Lazear) อาจารย์เศรษฐศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยในปี ค.ศ.2005 เพื่อหาคุณสมบัติเฉพาะเจาะจงในการแยกคนที่มีความเป็นผู้ประกอบการและคนที่ไม่มีความเป็นผู้ประกอบการ พบว่าการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน คือสองคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดในการจำแนกผู้คนที่มีความเป็นผู้ประกอบการ[22] ในปี ค.ศ.2013 มีการวิจัยโดยอาจารย์อูชิ บาเคส-เกลเนอร์ (Uschi Backes-Gellner) อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยซือริช ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และ เปตรา มูก อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยซีเกน ประเทศเยอรมนี ได้ค้นพบว่าการมีเครือข่ายทางสังคมที่กว้างขวางนั้น ก็เป็นหนึ่งในอีกปัจจัยที่ทำให้บุคคล (นักศึกษา) คนหนึ่งนั้นกลายเป็นผู้ประกอบการ[23][24]

การวิจัยแสดงให้เห็นว่าทั้งผู้ประกอบการเพศชายและเพศหญิงนั้น มีความคล้างคลึงกันด้านพฤติกรรมที่ค่อนข้างสูง โดยจากการศึกษาด้วยการสังเกตการณ์ พบว่าผู้ประกอบการเพศหญิงจะมีทักษะด้านการต่อรองและทักษะการตัดสินใจอย่างแน่วแน่ที่สูง[25] นักวิจัยชาวสวีเดน โอซ่า แฮนสัน (Åsa Hansson) ที่ได้ทำวิจัยเรื่องความแตกต่างของผู้ประกอบการเพศหญิงและเพศชาย ได้ให้ข้อสรุปว่า ยิ่งผู้หญิงอายุมากขึ้น โอกาสที่จะเป็นผู้ประกอบการก็ยิ่งน้อยลง ในทางกลับกัน ผู้ชายยิ่งอายุมากขึ้น ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะเป็นผู้ประกอบการสูงขึ้นตาม[26]

อาจารย์จิตวิทยาชาวเดนมาร์ก เยสปา โชแอนเซิน (Jesper Sørensen) ได้เขียนถึงเรื่องของอิทธิพลที่มีต่อการตัดสินใจเป็นผู้ประกอบการ ไว้ในปี ค.ศ.2010 ซึ่งได้รวมไปถึงปัจจัยด้านเพื่อนร่วมงานและปัจจัยด้านสภาพสังคม โดยเขาได้พบว่าการที่ทำงานกับคนที่เป็นผู้ประกอบการที่สำเร็จนั้น มีอิทธิพลให้บุคคลดังกล่าวกลายเป็นผู้ประกอบการในอนาคต เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ทำงานกับผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ[27] เนื่องจากทำให้บุคคลดังกล่าวมองเห็นความเป็นไปได้ที่จะประสบความสำเร็จ กล่าวคือ "ถ้าเขาทำได้ ทำไมฉันถึงจะทำไม่ได้?" อาจารย์โชแอนเซินได้กล่าวว่า "เมื่อคุณเจอคนที่ได้ประสบความสำเร็จแล้ว คุณก็จะรู้ว่าการประสบความสำเร็จนั้น มันเป็นไปได้"[28]

ผู้ประกอบการอาจได้แรงบันดาลใจให้กลายเป็นผู้ประกอบการได้จากประสบการณ์ที่ตนเองได้ประสบในอดีต โดยเฉพาะคนที่ถูกเลิกจ้าง มักจะมีแนวโน้มในการเป็นผู้ประกอบการที่สูง[26] จากแบบทศสอบบุคลิกภาพของเรย์มอน์ แคทเทลเกี่ยวกับบุคลิกภาพ แคทเทลได้กล่าวว่าการเป็นผู้ประกอบการนั้น เกี่ยวข้องกับทั้งบุคลิกภาพประจำตัวบุคคลและทัศนคติของบุคคล ทั้งสองอย่างคือปัจจัยทางจิตวิทยาที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของบุคคล[29]

ผู้ประกอบการนวัตกรรม มักจะมีประสบการณ์ทางจิตวิทยาแบบหนึ่ง ที่นักจิตวิทยาชาวฮังการี มิฮาย ชีคแซ็นต์มิฮายิ (Mihaly Csikszentmihalyi) เรียกว่า "โฟลว์ (flow)". "โฟลว์" คือ พฤติกรรมทางจิตวิทยาเวลาที่คนคนหนึ่งลืมสิ่งรอบตัวภายนอกเวลาทำงาน หรือ ทำกิจกรรมอะไรสักอย่างหนึ่ง มิฮายได้กล่าวว่านวัตกรรมที่ปฏิวัติวงการต่าง ๆ นั้น มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาทางจิตวิทยาดังกล่าว[30]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง