การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 นับเป็น การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 13[1] ของประเทศไทย การเลือกตั้งครั้งนี้ เกิดจากรัฐบาล โดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้ตราพระราชกฤษฎีกายุบสภา และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2526 โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในวันที่ 18 เมษายน ปีเดียวกัน หรืออีก 1 เดือนต่อมา

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526

← พ.ศ. 252218 เมษายน พ.ศ. 2526พ.ศ. 2529 →

ทั้งหมด 324 ที่นั่งในรัฐสภาไทย
ต้องการ 163 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ผู้ใช้สิทธิ50.8% เพิ่มขึ้น
 First partySecond partyThird party
 
ผู้นำประมาณ อดิเรกสารหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชพิชัย รัตตกุล
พรรคชาติไทยกิจสังคมประชาธิปัตย์
เขตของผู้นำ19 พฤศจิกายน 2517

ส.ส.สระบุรี

4 พฤศจิกายน 2517

ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 9

3 เมษายน 2525

ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 4

เลือกตั้งล่าสุด428835
ที่นั่งที่ชนะ 110 9956
ที่นั่งเปลี่ยนเพิ่มขึ้น 68เพิ่มขึ้น 11เพิ่มขึ้น 21
คะแนนเสียง6,315,5687,103,1774,144,414
%23.8%26.8%15.6%

 Fourth partyFifth party
 
ผู้นำสมัคร สุนทรเวชเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
พรรคประชากรไทยชาติประชาธิปไตย
เขตของผู้นำ9 มีนาคม 2522

ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 1

9 สิงหาคม 2525

ส.ส.ร้อยเอ็ด เขต 1

เลือกตั้งล่าสุด32ไม่ได้ลงเลือกตั้ง
ที่นั่งที่ชนะ3315
ที่นั่งเปลี่ยนเพิ่มขึ้น 1เพิ่มขึ้น 15
คะแนนเสียง2,395,7952,137,780
%15.6%9.0%

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

เปรม ติณสูลานนท์
อิสระ

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

เปรม ติณสูลานนท์
อิสระ

สืบเนื่องจากการที่ ส.ส. และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ฝ่ายที่ทางกองทัพสนับสนุนมีความขัดแย้งกันกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 เพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้งแบบรวมเขต รวมเบอร์

ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคชาติไทย ที่มี พลตรีประมาณ อดิเรกสาร เป็นหัวหน้าพรรค ได้รับเลือกมาเป็นลำดับที่หนึ่ง โดยได้ที่นั่งไปทั้งสิ้น 110 ที่นั่ง รองลงไปคือ พรรคกิจสังคม ที่มี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นหัวหน้าพรรคได้ 99 ที่นั่ง และพรรคประชาธิปัตย์ ที่มี นายพิชัย รัตตกุล เป็นหัวหน้าพรรค ได้ 56 ที่นั่ง ซึ่งไม่มีพรรคใดได้เสียงเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร ที่มีทั้งหมด 324 เสียง ซึ่งผลการจัดตั้งรัฐบาล ปรากฏว่า พรรคกิจสังคม, พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชากรไทยตกลงกันที่จะสนับสนุน พล.อ.เปรม เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ขณะที่พรรคชาติไทย รวมกันกับพรรคการเมืองอื่น ๆ เป็นฝ่ายค้าน[2]ต่อมา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นับเป็นสมัยที่ 2 ในวันที่ 30 เมษายน ปีเดียวกัน การจัดตั้งคณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยรัฐมนตรีต่าง ๆ 44 คน นับเป็นคณะรัฐมนตรีคณะที่ 43 และได้เข้าทำการปฏิญาณตนหน้าพระพักตร์เพื่อเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 9 พฤษภาคม ปีเดียวกัน[3]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง