การโอนมาเป็นของรัฐ

การโอนมาเป็นของรัฐ[1] (อังกฤษ: nationalization หรือ nationalisation) คือกระบวนการแปลงทรัพย์สินของเอกชนมาเป็นของรัฐบาล โดยทำให้เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐบาลระดับชาติหรือรัฐ[2] ซึ่งมักจะหมายถึงการที่ทรัพย์สินถูกถ่ายโอนจากภาคเอกชนหรือหน่วยราชการระดับล่าง เช่น เทศบาล มาเป็นของหน่วยราชการระดับที่ใหญ่กว่าอย่างรัฐบาล การโอนมาเป็นของรัฐมีความหมายตรงข้ามกับการโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน (privatization) การโอนมาเป็นของเทศบาล (municipalization) และการแปรรูปตลาดหลักทรัพย์[3] (demutualization) ทั้งนี้การถ่ายโอนทรัพย์สินของรัฐที่เคยแปรรูปเป็นของเอกชนไปแล้วแต่ภายหลังได้โอนกลับมาเป็นของรัฐอีกครั้งหนึ่งจะเรียกว่า การโอนกลับมาเป็นของรัฐ (อังกฤษ: renationalization หรือ renationalisation) ซึ่งอุตสาหกรรมที่มักจะตกเป็นเป้าของการโอนมาเป็นของรัฐได้แก่ การขนส่ง การสื่อสาร พลังงาน ธนาคาร และทรัพยากรธรรมชาติ

รัฐอาจโอนทรัพย์สินกลับมาเป็นของตนโดยไม่จ่ายค่าชดเชยต่อผู้ครอบครองรายก่อนหน้าก็ได้ ทั้งนี้การโอนดังกล่าวแตกต่างจากการกระจายทรัพย์สิน (property redistribution) ตรงที่รัฐยังคงเป็นเจ้าของและมีอำนาจควบคุมในทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ ในบางครั้งรัฐจะทำการโอนทรัพย์สินที่ยึดมาจากการทำผิดกฎหมายมาเป็นของตนได้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างคือในปี ค.ศ. 1945 รัฐบาลฝรั่งเศสยึดกิจการของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ เรอโนลต์ เนื่องจากให้ความร่วมมือกับนาซีเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้ยึดครองฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[4]

นอกจากนี้การโอนมาเป็นของรัฐยังแตกต่างจาก "การโอนมาเป็นของสังคม" (socialization) ซึ่งใช้หมายถึงกระบวนการปรับเปลี่ยนกรอบแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ โครงสร้างองค์กร และสถาบันทางเศรษฐกิจ ให้เป็นไปในแนวทางสังคมนิยม ในทางกลับกันการโอนกิจการมาเป็นของรัฐไม่ได้หมายความว่าจำเป็นจะต้องให้สังคมมารวมเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ที่ได้มาหรือต้องมีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และกระบวนการดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวข้องกับแนวคิดสังคมนิยมแต่ประการใด โดยในประวัติศาสตร์สามารถเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุภายใต้ระบบการเมืองและระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกันไปหลายแบบ[5] อย่างไรก็ตาม การโอนกิจการมาเป็นของรัฐในกรณีส่วนมากมักจะถูกต่อต้านโดยนักทุนนิยมเสรี (เลเซแฟร์) เนื่องจากมองว่าเป็นการแทรกแซงและควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชนแต่ละปัจเจกบุคคลที่มากเกินความจำเป็น

ภาพรวม

อุตสาหกรรมที่ถูกโอนมาเป็นของรัฐอาจถูกสังคมและการเมืองกดดันอย่างมากให้ใส่ใจต่อผลกระทบภายนอกมากขึ้น และอาจยินยอมดำเนินธุรกิจทั้ง ๆ ที่ทำให้มีผลขาดทุน เนื่องจากมองว่าผลประโยชน์ของสังคมต้องมาก่อนต้นทุนทางธุรกิจ เช่น บริการขนส่งและไปรษณีย์ในถิ่นทุรกันดาร เป็นต้น ส่วนรัฐบาลก็อาจตระหนักถึงภารกิจด้านสังคมเหล่านี้ และในบางกรณีได้ร่วมสมทบเงินทุน (อุดหนุนราคา) เพื่อให้มีบริการที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ (ไม่ใช่เพื่อกำไร) อยู่ต่อไป

เนื่องจากอุตสาหกรรมที่โอนมาเหล่านี้มีรัฐเป็นผู้ครอบครอง จึงเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลต่อหนี้สินใด ๆ ก็ตามที่อุตสาหกรรมนั้นมีอยู่ ทั้งนี้อุตสาหกรรมดังกล่าวไม่นิยมกู้ยืมหนี้สินจากแหล่งเงินทุนภายในประเทศ เว้นแต่ว่าเป็นการกู้ยืมระยะสั้นเท่านั้น และถ้าหากมีผลประกอบการเป็นกำไรก็มักจะนำไปช่วยเหลือหรืออุดหนุนบริการของรัฐในด้านอื่น ๆ เช่น โครงการสวัสดิการสังคมหรืองานวิจัยของรัฐ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดภาระงบประมาณที่ต้องจัดหามาจากการเก็บภาษีลง

การชดเชย

จุดยืนต่อการเรียกร้องค่าชดเชยของโลกตะวันตกในแบบฉบับดั้งเดิมคือในกรณีการยึดอุตสาหกรรมปิโตรเลียมมาเป็นของรัฐบาลเม็กซิโก ค.ศ. 1938 เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา คอร์เดลล์ ฮัลล์ เรียกร้องว่าการชดเชยควรจะ "รวดเร็ว เพียงพอ และมีประสิทธิผล" จากมุมมองนี้ รัฐบาลที่ทำการโอนกิจการมาเป็นของตนจึงมีภาระผูกพันต่อกฎหมายระหว่างประเทศให้ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่คู่กรณีที่ถูกรอนสิทธิ์ด้วยมูลค่าเต็มของทรัพย์สินที่ถูกโอนมานั้น ซึ่งบรรดาประเทศกำลังพัฒนาส่วนมากต่างพากันต่อต้านแนวคิดนี้ โดยอ้างว่าปัญหาการจ่ายค่าชดเชยควรขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐอธิปไตยแต่ละแห่งล้วน ๆ ตามแนวทางในลัทธิกัลโบ

ด้านประเทศสังคมนิยมหลายแห่งก็มองว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยใด ๆ เนื่องจากมีแนวคิดที่ว่าการครอบครองส่วนบุคคล (private ownership) เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย เป็นการแสวงหาประโยชน์ และเป็นอุปสรรคต่อตัฒนการทางเศรษฐกิจในภายภาคหน้า

ในปี ค.ศ. 1962 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติออกมติที่ 1803 "อธิปไตยถาวรเหนือทรัพยกรธรรมชาติ" (Permanent Sovereignty over National Resources) โดยระบุว่าเมื่อเกิดการโอนกิจการมาเป็นของรัฐขึ้น ผู้ครอบครองทรัพย์สินนั้น "จะต้องจ่ายค่าชดเชยที่เหมาะสมสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ" เท่ากับว่าสหประชาชาติปฏิเสธมุมมองของฝ่ายคอมมิวนิสต์และฝ่ายผู้สนับสนุนลัทธิกัลโบ ทั้งนี้คำว่า "ค่าชดเชยที่เหมาะสม" ใช้เป็นตัวแทนของการประณีประนอมระหว่างมุมมองแบบดั้งเดิมที่ใส่ใจต่อความจำเป็นของประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องดำเนินการปฏิรูปแม้ว่าจะไม่สามารถจ่ายค่าชดเชยได้เต็มจำนวน กับความกังวลของโลกตะวันตกในประเด็นความคุ้มครอต่อทรัพย์สินส่วนบุคคล

ในสหรัฐอเมริกา บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ห้า (Fifth Amendment) กำหนดว่าจะต้องมีการจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ทรัพย์สินส่วนบุคคล (หรือเอกชน) ถูกนำไปใช้ในกิจสาธารณะ

การสนับสนุนทางการเมือง

การโอนมาเป็นของรัฐถือเป็นหนึ่งในกลไกหลักที่นักปฏิรูปฝ่ายสังคมนิยมและนักสังคมประชาธิปไตยใช้ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบสังคมนิยมแบบค่อยเป็นค่อยไป ในบริบทนี้การโอนทรัพย์สินดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อลิดรอนสิทธิครอบครองของนายทุนรายใหญ่ และเพื่อถ่ายโอนกำไรจากอุตสาหกรรมมาเป็นของสาธารณะส่วนรวม รวมถึงเพื่อก่อตั้งระบบการจัดการด้วยตนเองของชนชั้นแรงงาน (workers' self-management) อันจะนำไปสู่การสถานาระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมในที่สุด[6]

ในสหราชอาณาจักรช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง พรรคแรงงานและพรรคการเมืองแนวสังคมประชาธิปไตยทั่วยุโรปบางส่วนสนับสนุนให้มีการโอนกิจการมาเป็นของรัฐ เพื่อใช้เป็นกลไกในการปกป้องและพัฒนาอุตสาหกรรมที่ถือว่าสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น อุตสาหกรรมผลิตเครื่องบินและอุตสาหกรรมต่อเรือ เป็นต้น หรือเพื่อปกป้องตำแหน่งงานในบางอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ แม้ว่าบางครั้งการโอนกิจการมาเป็นของรัฐนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ในการสร้างระบบสังคมนิยมขึ้นมาก็ตาม

การโอนกิจการจากเอกชนกลับมาเป็นของรัฐอีกครั้งเกิดขึ้นเมื่อกิจการที่รัฐเคยแปรรูปไปเป็นของเอกชนแล้วภายหลังได้โอนกลับมาเป็นของรัฐอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมักจะเกิดจากพรรคการเมืองหรือขั้วอำนาจทางการเมืองอีกฝ่ายที่ขึ้นมามีอำนาจในภายหลังย้อนการกระทำหรือการตัดสินใจของผู้มีอำนาจชุดก่อน การโอนกิจการกลับมาเช่นนี้อาจเรียกว่าเป็น "การโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชนแบบสวนทาง" (reverse privatization) ทั้งนี้คำว่าการโอนกิจการมาเป็นของรัฐถูกใช้หมายถึงทั้งการที่รัฐเข้าไปจัดการหรือครอบครองกิจการใด ๆ โดยตรง และการที่รัฐบาลเข้าไปถือหุ้นของบริษัทมหาชน (บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) ในจำนวนที่มากพอจนได้อำนาจควบคุมกิจการนั้น[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

การโอนกิจการธนาคารเป็นของรัฐ

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง