คณะ ซี. เอ็ม. เอ.

องค์การเดอะคริสเตียนแอนด์มิชชันนารีอะไลแอนซ์ (อังกฤษ: Christian and Missionary Alliance) เรียกโดยย่อว่า คณะ ซี. เอ็ม. เอ. (CMA) เป็นองค์การทางศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์กลุ่มอีแวนเจลิคัล เป็นคณะคริสตจักรที่สหรัฐอเมริกาและเป็นคณะมิชชันนารีที่ดำเนินงานเผยแพร่ศาสนาคริสตในประเทศต่าง ๆ เอกลักษณ์ของคณะนี้คือความเชื่อว่างานคริสตจักรและงานมิชชันนารีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่ใช่กิจกรรมที่แยกออกจากกัน

คณะ ซี. เอ็ม. เอ.
กลุ่มโปรเตสแตนต์
ความโน้มเอียงEvangelical
เทววิทยาKeswickian[1][2]
แผนการปกครองแนวคิด Congregationalist, เพรสไบทีเรียน และอิปิสโคปัลแบบไม่ศักดิ์สิทธิ์
ประธานJura Yanagihara
ภูมิภาค88 ประเทศ
ศูนย์กลางเซาเปาลู ประเทศบราซิล
ผู้ก่อตั้งอัลเบิร์ต เบนจามิน ซิมป์สัน[1]
ต้นกำเนิด1975
การชุมนุม22,000
สมาชิก6,200,000
เว็บไซต์ทางการawf.world

ประวัติ

คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ก่อตั้งในปี ค.ศ.1884 โดย ดร. อัลเบิร์ต เบนจามิน ซิมป์สัน (Albert B. Simpson) ศาสนาจารย์ประจำคริสตจักรเพรสไบทีเรียนในแคนาดา เพื่อทำการประกาศข่าวดีไปทั่วโลก คณะนี้เกิดจากการที่ซิมป์สันได้พบผู้ลี้ภัยในนครนิวยอร์ก จึงเป็นเหตุให้ซิมป์สันได้คิดว่ายังมีประชากรอีกเป็นจำนวนมากในแถบทวีปอื่น ๆ ที่ไม่มีโอกาสได้ยินเรื่องของพระเยซู เขาเชื่อว่าหากคริสเตียนประกาศเรื่องพระเยซูไปทุกชนชาติทั่วโลกเร็วแค่ไหน พระเยซูจะเสด็จกลับมาเร็วแค่นั้น ความเชื่อในเรื่องนี้เป็นจุดกำเนิดของ คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ซิมป์สันมุ่งหมายที่จะประกาศเรื่องพระเยซูคริสต์ และสร้างคริสตจักรไปทั่วโลกสำหรับทุกชนชั้น ในปี ค.ศ. 1974 คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ได้สถาปนาเป็นคณะนิกายในศาสนาคริสต์อย่างเป็นทางการ ต่อมาในปี ค.ศ. 1998 คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ได้ก่อตั้งโรงเรียนมัธยม 2 แห่ง ระดับวิทยาลัย 4 แห่งในสหรัฐอเมริกา และสถาบันด้านเทววิทยาศาสนาคริสต์อีกหนึ่งแห่งในประเทศฟิลิปปินส์

งานผู้ลี้ภัย

คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ช่วยเหลือและทำการประกาศข่าวดีเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์แก่ผู้ลี้ภัยประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ค่ายผู้อพยพในประเทศไทยในยุคของเขมรแดง ผู้ลี้ภัยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนในฮ่องกง ผู้ลี้ภัยในเลบานอน เด็กขาดอาหารในทวีปแอฟริกา เป็นต้น

สัญลักษณ์

คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ได้ออกแบบสัญลักษณ์เป็นรูปกางเขน ถ้วยยา ขันชำระ และมงกุฎ เพื่อสะท้อนถึงความเชื่อและหลักคำสอนของคณะ ซี. เอ็ม. เอ. ว่าแกนหลักคำสอนของศาสนาคริสต์มี 4 ด้าน คือ พระเยซูทรงเป็นทั้งพระผู้ช่วยให้รอด เป็นผู้ชำระให้บริสุทธิ์ เป็นแพทย์ และเป็นกษัตริย์ผู้จะเสด็จกลับมา คณะ ซี. เอ็ม. เอ. เรียกคุณลักษณะเหล่านี้ว่า พระกิตติคุณ 4 ด้าน

ขอบเขตงานของคณะ ซี. เอ็ม. เอ. ในปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้ คณะ ซี. เอ็ม. เอ. มีงานการประกาศและก่อตั้งคริสตจักรอยู่ในหลายที่ ได้แก่ แอฟริกา เอเชีย/แปซิฟิก ยุโรป ตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา จากฐานข้อมูลสถิติของ Association of Religion Data Archives แสดงตัวเลขการเติบโตของจำนวนคริสตจักรและสมาชิกดังปรากฏในตารางข้างล่างนี้ (ตัวเลขประมาณการ)[3]

ตารางแสดงข้อมูลสถิติเกี่ยวกับจำนวน
คริสตจักรและสมาชิกของคณะ ซี. เอ็ม. เอ.
ช่วงปี ค.ศ.จำนวนคริสตจักรจำนวนสมาชิก
192939225,000
1930–19601,01659,657
1961–19801,382189,710
1981–20001,959364,949
2001–20092,021432,471
20133,000600,000

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 เป็นต้นมา คณะ ซี. เอ็ม. เอ. มีโครงการ Envision ที่ส่งเยาวชนและฆราวาสกว่า 1,000 คนทุก ๆ ปี เดินทางไป 40 ประเทศ ประเทศที่คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ เพื่องานประกาศเรื่องพระเยซูคริสตเป็นพิเศษมีจำนวน 11 ประเทศ เช่น กรุงไทเป-ประเทศไต้หวัน, กรุงพนมเปญ-ประเทศกัมพูชา, กรุงเอนเซนาดา-ประเทศเม๊กซิโก, กรุงซาน ซัลวาดอร์-ประเทศ เอล ซัลวาดอร์, กรุงกาบอน-ประเทศอาฟริกา, กรุงปารีส-ประเทศฝรั่งเศส, รัฐฟิลาเดลเฟียและชิคาโก-ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

งานของ คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ในประเทศไทย

คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ได้เริ่มทำงานในประเทศไทยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1929 ซึ่งใช้ชื่อเป็นภาษาไทยว่า "สยามมิชชั่น" ในเวลานั้นคณะ ซี. เอ็ม. เอ. ได้ส่งมิชชันนารี 6 คนและพวกเขาได้เริ่มประกาศเรื่องพระเยซูคริสต์แก่ชาวบ้าน โดยการล่องแพไม้ไผ่ไปตามลำคลองของหมู่บ้านต่าง ๆ ในปี ค.ศ. 1950 พวกเขาได้เยียวยารักษาคนไทยที่เป็นโรคเรื้อนนับพันคน และได้ก่อตั้งโรงเรียนเพื่อสอนพระคัมภีร์ให้แก่เด็กโรคเรื้อน ซึ่งเป็นหลักสูตร 4 ปี จากจำนวนมิชชันนารี 6 คน พวกเขาได้ก่อตั้งคริสตจักรในประเทศไทยกว่า 110 แห่ง และมีสมาชิกกว่า 7,000 คนในช่วง 20 ปีแรก เมื่อปี 2001 คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ประเทศไทย หรือสยามมิชชั่นในประเทศไทยก่อตั้งกลุ่มช่วยเหลือคู่แต่งงานภายใต้ชื่อ แอลมา (ALMA) โครงการนี้มีเป้าหมายช่วยคู่แต่งงานไม่ต้องหย่าร้างและนำไปสู่การนับถือพระเยซูคริสต์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น


🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง