คดีระหว่างบอสต็อกกับเทศมณฑลเคลย์ตัน (รัฐจอร์เจีย)

คดีระหว่างบอสต็อกและเทศมณฑลเคลย์ตัน รัฐจอร์เจีย (อังกฤษ: Bostock v. Clayton County, Georgia) (590 U.S. ___ (2020)) เป็นคดีหมุดหมายสำคัญของศาลสูงสุดสหรัฐซึ่งศาลตัดสินคดีว่าลักษณะ 7 ในรัฐบัญญัติสิทธิพลเมือง ปี 1964 คุ้มครองลูกจ้างจากการเลือกปฏิบัติเพราะรสนิยมทางเพศหรืออัตลักษณ์ทางเพศ[1]

คดีระหว่างเจอรัลด์ ลินน์ บอสต็อก กับเทศมณฑลเคลย์ตัน รัฐจอร์เจีย
Gerald Lynn Bostock v. Clayton County, Georgia
ตราศาลสูงสุดสหรัฐ
สาระแห่งคดี
คำฟ้องขอให้วินิจฉัยว่า การเลือกปฏิบัติต่อลูกจ้างเนื่องจากรสนิยมทางเพศประกอบเป็นการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน "เนื่องจาก...เพศ" อันต้องห้ามในความหมายของลักษณะ 7 ของรัฐบัญญัติสิทธิพลเมือง ค.ศ. 1964 หรือไม่
คู่ความ
โจทก์เจอรัลด์ ลินน์ บอสต็อก
จำเลยเทศมณฑลเคลย์ตัน (รัฐจอร์เจีย)
ศาล
ศาลศาลสูงสุดสหรัฐ
ตุลาการประธาน: John Roberts
ตุลาการสมทบ:
  • Clarence Thomas
  • Ruth Bader Ginsburg
  • Stephen Breyer
  • Samuel Alito
  • Sonia Sotomayor
  • Elena Kagan
  • Neil Gorsuch
  • Brett Kavanaugh
วินิจฉัย
" นายจ้างที่ไล่ลูกจ้างออกด้วยเหตุผลว่าเป็นเกย์หรือบุคคลข้ามเพศละเมิดลักษณะ 7 ของรัฐบัญญัติสิทธิพลเมือง ค.ศ. 1964 "
ลงวันที่15 มิถุนายน 2020
กฎหมายรัฐบัญญัติสิทธิพลเมือง ค.ศ. 1964
เว็บไซต์
No. 17-1618

เจอรัลด์ บอสต็อก (Gerald Bostock) โจทก์ของคดี ถูกไล่ออกหลังเขาแสดงความสนใจในลีกซอฟต์บอลของเกย์แห่งหนึ่งในที่ทำงาน ศาลชั้นต้นยึดตัดสินตามคดีเดิมของศาลอุทธรณ์ภาคสิบเอ็ด ว่าลักษณะ 7 ไม่ครอบคลุมการคุ้มครองการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานจากรสนิยมทางเพศ มีการรวมคดีพิจารณากับ คดีระหว่างบริษัท อัลติจูดเอ็กซ์เพรส จำกัด กับซาร์ดา (Altitude Express, Inc. v. Zarda) เป็นคดีคล้ายกันซึ่งว่าด้วยการเลือกปฏิบัติตามที่ปรากฏเนื่องจากรสนิยมทางเพศจากศาลอุทธรณ์ภาคสองแต่ท้ายที่สุดได้ถูกเพิ่มเข้าไปในการแยกอุธรณ์ (circuit split) ศาลนั่งพิจารณาคำแถลงการณ์ด้วยวาจาในวันที่ 8 ตุลาคม 2019 ไปพร้อมกับ คดีระหว่างอาร์.จี แอนด์ จี.อาร์ แฮร์ริสฟิวนรอลโฮมส์ จำกัด กับคณะกรรมาธิการเพื่อโอกาสการจ้างงานที่เท่าเทียม (R.G. & G.R. Harris Funeral Homes Inc. v. Equal Employment Opportunity Commission) ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกันว่าด้วยการเลือกปฏิบัติในลักษณะ 7 ภายใต้รัฐบัญญัติสิทธิพลเมืองที่เกียวช่วยข้องกับบุคคลข้ามเพศ

ในวันที่ 15 มิถุนายน 2020 ศาลวินิจฉัยโดยมีมติเสียงข้างมาก 6–3 ครอบคลุมทั้งสามคดีว่าการเลือกปฏิบัติโดยเกณฑ์รสนิยมทางเพศหรืออัตลักษณ์ทางเพศจัดเป็นการเลือกปฏิบัติ "ด้วยเหตุเพศ" ซึ่งต้องห้ามตามลักษณะ 7 ในความเห็นฝ่ายข้างมากของศาลฯ ซึ่งตุลาการ นีล กอร์ซัช (Neil Gorsuch) เป็นผู้ร่างขึ้นนั้นระบุว่า เนื่องจากนายจ้างเลือกปฏิบัติต่อลูกจ้างที่เป็นเกย์หรือบุคคลข้ามเพศยอมรับพฤติกรรมบางอย่าง (เช่นดึงดูดต่อหญิง) ในลูกจ้างเพศหนึ่ง แต่ไม่ยอมรับพฤติกรรมอย่างเดียวกันในลูกจ้างเพศอื่น

คำวินิจฉัยดังกล่าวได้รับการเชิดชูว่าเป็นหนึ่งในคำวินิจฉัยทางกฎหมายที่สำคัญที่สุดต่อสิทธิบุคคลที่มีความหลากหมายทางเพศในสหรัฐ ควบคู่กับคดีระหว่างลอว์เรนซ์ กับรัฐเท็กซัส (Lawrence v. Texas, ปี 2003) และคดีระหว่างออเบอร์จเฟลล์ กับฮอกเจส (Obergefell v. Hodges, ปี 2015)[2]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร