ความรู้สึกต่อต้านไทย

ความรู้สึกต่อต้านไทย เป็นความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์หรือเกลียดชังต่อผู้คนจากประเทศไทยซึ่งเรียกว่าคนไทย หรือต่อรัฐไทย

เหตุการณ์รายประเทศ

กัมพูชา

ในประเทศกัมพูชา ความเกลียดชังคนไทยเกิดขึ้นตั้งแต่ปลายสมัยจักรวรรดิเขมร เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาเคยย่ำยีจักรวรรดิเขมรหลายครั้ง ทิ้งรอยแผลลึกไว้ในใจชาวเขมร และกรุงรัตนโกสินทร์ยังเคยยึดครองประเทศกัมพูชา ทำให้ชาวกัมพูชารู้สึกต่อต้านคนไทย

ความรู้สึกต่อต้านไทยรุนแรงขึ้นเพราะชาวกัมพูชาระแวงว่าไทยมีแผนการยึดภาคตะวันตกของกัมพูชา[1] จนนำไปสู่การประท้วงรุนแรงใน พ.ศ. 2546 ซึ่งมีการเผาสถานทูตไทยและทำลายธุรกิจการค้าของคนไทย หลังจากที่บทความในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งของกัมพูชาระบุว่า สุวนันท์ คงยิ่ง นักแสดงชาวไทย กล่าวว่า นครวัดเป็นของไทย และไทยควรยึดนครวัดคืน[2][3] เหตุการณ์บานปลายอีกใน พ.ศ. 2551 เมื่อประเทศทั้งสองเกิดพิพาทเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารขึ้นอีกครั้ง[4]

จีน

ในประเทศจีน ความเกลียดชังคนไทยเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองไทยบังคับให้ชาวจีนผสมกลมกลืนกับชาวไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 ชาวจีนบางคนที่ถูกไทยเนรเทศนำความรู้สึกต่อต้านไทยไปเผยแพร่ในประเทศจีนและเรียกร้องให้รัฐบาลจีนคว่ำบาตรสินค้าไทย[5]

เกาหลีใต้

นักท่องเที่ยวชาวไทยจะถูกตรวจสอบเพิ่มเติมจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเกาหลี เหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ เช่น ผู้หญิงถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าทั้ง ๆ ที่มีตั๋วไปกลับและจองตั๋วไว้แล้ว มีการกระตุ้นให้เกิดการอภิปรายทางโซเชียลมีเดียในปี พ.ศ. 2566 จำนวนเรื่องราวที่นักท่องเที่ยวที่ถูกเนรเทศแบ่งปันมากขึ้นเรื่อย ๆ เน้นย้ำถึงความกังวลเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เลือกปฏิบัติ มีความพยายามทางการฑูตเพื่อจัดการกับความรู้สึกต่อต้านไทย[6]

การตรวจสอบอย่างเข้มงวดต่อบุคคลสัญชาติไทยในเกาหลีมีต้นกำเนิดมาจากประเด็นปัญหาผู้อพยพชาวไทยที่ไม่มีเอกสารซึ่งมีมายาวนาน ตามที่ระบุโดยทั้งกระทรวงการต่างประเทศของเกาหลีและกระทรวงยุติธรรม ตามข้อมูลจากกระทรวงยุติธรรม ปัจจุบันมีคนไทยประมาณ 157,000 คนอาศัยอยู่ในเกาหลีโดยไม่ต้องมีใบอนุญาตที่จำเป็น ในกลุ่มประชากรนี้ ส่วนใหญ่เรียกว่า "ผีน้อย" บุคคลเหล่านี้เริ่มแรกเดินทางมาถึงเกาหลีใต้ในฐานะนักท่องเที่ยวเกินระยะเวลาการเข้าพักที่ได้รับอนุญาต หางานในภาคการผลิตและเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่[7]

ลาว

ถึงแม้ลาวกับไทยจะมีวัฒนธรรมร่วมกันหลายประการ แต่ลาวก็ต่อสู้ปลดแอกดินแดนตนเองจากสยามมาเสมอ ทั้งยังเคยขอให้เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสเรียกให้สยามคืนที่ราบสูงโคราชกับพระแก้วมรกตแก่ลาว[8] หลังลาวพ้นจากความเป็นอาณานิคมมาจนปัจจุบัน รัฐบาลลาวนิยมเวียดนามมากกว่าไทย และชาวลาวยังมีความรู้สึกไม่เอาคนไทย เนื่องเพราะระบอบการปกครองที่แตกต่าง[9]

พม่า

เช่นเดียวกับลาว พม่ากับไทยมีวัฒนธรรมร่วมกัน และเคยเป็นคู่สงครามกันหลายครั้งในอดีต แต่ในปัจจุบัน ความรู้สึกที่ไทยชังพม่ามีมากกว่าความรู้สึกที่พม่าชังไทย ดังที่เห็นในตำราเรียน ภาพยนตร์ และสื่อสมัยใหม่ของไทย สำหรับรัฐบาลพม่าเองนั้น มิได้มองไทยเป็นศัตรู แต่ก็ไม่ถือว่าไทยเป็นเพื่อนที่วางใจได้เช่นกัน[10]

เวียดนาม

สงครามระหว่างทั้งสองประเทศในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 ทำให้ความรู้สึกต่อต้านไทยเริ่มพุ่งขึ้นในประชากรเวียดนาม ทั้งในและนอกประเทศเวียดนามเอง สำหรับชาวเวียดนามโพ้นทะเลนั้น มีภาพจำเกี่ยวกับไทยว่าเป็นโจรสลัดป่าเถื่อน เนื่องเพราะพฤติกรรมโหดร้ายที่ไทยกระทำต่อผู้ลี้ภัยชาวเวียดนามในช่วงพุทธทศวรรษ 2520[11] ส่วนบทบาทของไทยในสงครามเวียดนามและในการแข่งขันกีฬาช่วงหลัง ๆ ทำให้ชาวเวียดนามในประเทศเวียดนามมองไทยว่าเป็นประเทศที่ไร้จุดยืนทางการเมืองและมักเข้าข้างผู้ชนะในสงคราม[ต้องการอ้างอิง]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร