ความไม่สงบในอาเจะฮ์

ความไม่สงบในอาเจะฮ์ หรือชื่อทางการโดยรัฐบาลอินโดนีเซียคือ การกบฏในจังหวัดอาเจะฮ์ (อินโดนีเซีย: Pemberontakan di Aceh) เป็นความขัดแย้งที่ขบวนการปลดปล่อยอาเจะฮ์ (GAM) นำการต่อสู้ในระหว่างปี 1976 ถึง 2005 โดยมีเป้าหมายในการประกาศเอกราชให้กับอาเจะฮ์เป็นอิสระจากประเทศอินโดนีเซีย หลังการโจมตีทางยุทธการอย่างหนักในปี 2003 ประกอบกับเหตุแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดียในปี 2004 ได้นำไปสู่ข้อตกลงสันติภาพและสิ้นสุดความไม่สงบลงอย่างเป็นทางการในปี 2005[11]

ความไม่สงบในจังหวัดอาเจะฮ์
ส่วนหนึ่งของ สงครามต่อต้านการก่อการร้าย, การก่อการร้ายในประเทศอินโดนีเซีย

ผู้นำและทหารสตรีของขบวนการปลดปล่อยอาเจะฮ์ ภาพถ่ายปี 1999
วันที่4 ธันวาคม 1976 – 15 สิงหาคม 2005
(28 ปี 8 เดือน 1 สัปดาห์ 4 วัน)
สถานที่
ผล

อินโดนีเซียชนะ; การลงนามสนธิสัญญาเฮลซิงกิ

  • อาเจะฮ์ได้รับสถานะการปกครองตนเองพิเศษ
  • สิ้นสุดขบวนการ GAM และการยึดครอง
  • กองทัพอินโดนีเซียจากต่างจังหวัดถอนทัพออก เหลือ 25,000 นายในจังหวัดอาเจะฮ์
  • โครงการติดตามสอดส่องอาเจะฮ์
  • มีการเลือกตั้งท้องถิ่นเกิดขึ้น
คู่สงคราม
 อินโดนีเซีย
สนับสนุนโดย:
 สหรัฐ[1]
ขบวนการปลดปล่อยอาเจะฮ์
สนับสนุนโดย:
ลิเบีย[2]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ซูอาร์โต
บีเจ ฮาบีบี
อับดูระฮ์มัน วาฮีด
เมกวัตตี ซูการ์โนปูตรี
ซูลีโซ บัมบัง ยูโดโยโน
ฮาซัน ดี ตีโร
ไซนี อับดูลละฮ์
Abdullah Syafei'i [3]
มูซากีร์ มานัฟ
Sofyan Daud
Ayah Muni [4]
กำลัง
อินโดนีเซีย 12,000 (1990)[5]
อินโดนีเซีย 30,000 (2001)[5]
อินโดนีเซีย 35,000[6]–50,000 (2003)[5]
25 (1976)[7]
200 (1979–1989)[7]
15,000–27,000 (1999)[7]
3,000 (2005)[8]
ความสูญเสีย
น้อยกว่า 100[9]

พลเรือนและทหารเสียชีวิตรสม:
100 (1976–79)[7]
2,000–10,000 (1991–1992)[7]
393 (1993)[7]
1,041 (2000)[7]
1,700 (2001)[7]
1,230 (2002)[7]

รวม: 15,000[10]

ข้อตกลงสันติภาพบรรลุผลในปี 2005 ถือเป็นการสิ้นสุดสงครามยาวนาน 29 ปี อินโดนีเซียยุคหลังซูฮาร์โตเข้าสู่การปฏิรูปประชาธิปไตยเสรีนิยม ประกอบกับการปรับเปลี่ยนภายในกองทัพ ช่วยให้บรรยากาศเหมาะสมขึ้นกับการเจรจาสันติภาพ ประธานาธิบดี ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ซึ่งพึ่งได้รับเลือกตั้งมา มีบทบาทอย่างมากในการเจรจาสันติภาพนี้[12] การเจรจาสันติภาพนี้ได้รับการสนับสนุนโดยโครงการบริหารจัดการวิกฤต และอดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ มาร์ทที อาทีซารี เป็นผู้นำการเจรจา[13] ข้อตกลงสันติภาพลงนามในวันที่ 15 สิงหาคม 2005 ที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ โดยมีใจความมอบสถานะการปกครองตนเองให้แก่จังหวัดอาเจะฮ์, ให้ถอนกำลังทหารอินโดนีเซียที่ไม่ใช่คนอาเจะฮ์ออก เหลือทหารอินโดนีเซียประจำในอาเจะฮ์เพียง 25,000 นาย แลกกับการสลายตัวของกองกำลังปลดปล่อยอาเจะฮ์ และให้มีการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นขึ้นในอาเจะฮ์ ซึ่งมีขึ้นในปี 2006

ภูมิหลัง

ที่ตั้งของจังหวัดอาเจะฮ์ในประเทศอินโดนีเซีย

อาเจะฮ์มีความแตกต่างทั้งทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจากที่เหลือของอินโดนีเซีย ในอาเจะฮ์นั้น การปฏิบัติศาสนาอิสลามเป็นรูปแบบที่อนุรักษนิยมมากกว่า และนโยบายซึ่งโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นโลกวิสัยชองซูฮาร์โต ในระบบระเบียบใหม่ (1965–1998) ไม่ได้รับความนิยมสูงเป็นพิเศษในอาเจะฮ์ โดยถูกมองว่าเป็นนโยบายจากรัฐบาลที่พยายามสนับสนุนวัฒนธรรมอินโดนีเซียหลักกลาง[14] นอกจากนี้ ด้วยตำแหน่งที่ตั้งของอาเจะฮ์ซึ่งอยู่ปลายตอนเหนือของประเทศอินโดนีเซียทำให้เกิดความรู้สึกไปทั่วว่าผู้นำในจาการ์ตาที่อยู่ห่างออกไปนั้นไม่ได้เข้าใจปัญหาของอาเจะฮ์ รวมถึงไม่มีความใส่ใจหรือเห็นใจต่อความต้องการและวัฒนธรรมประเพณีของอาเจะฮ์[15]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง