ชายแดนไทย–กัมพูชา

ชายแดนระหว่างประเทศ

พรมแดนไทย–กัมพูชา เป็นพรมแดนระหว่างประเทศ ซึ่งมีทั้งทั้งบนบก เริ่มต้นจากสามเหลี่ยมมรกตผ่านสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรัก ร่องน้ำลึกต่าง ๆ[1] เทือกเขาบรรทัด และบรรจบทางน้ำบริเวณอ่าวไทย ต่อเนื่องไปจนถึงบนผืนน้ำ มีความยาวประมาณ 798[a] - 817[b] กิโลเมตร[2][3] โดยประเทศไทยอยู่บริเวณทิศตะวันตกและทิศเหนือของเส้นเขตแดน ส่วนประเทศกัมพูชาอยู่บริเวณทิศตะวันออกและทิศใต้ของเส้นเขตแดน จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกับพรมแดนกัมพูชาประกอบไปด้วย จังหวัดตราด จันทบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี[1]

ชายแดนไทย–กัมพูชา
พรมแดนตามธรรมชาติระหว่างกัมพูชา (ซ้าย) และไทย (ขวา) ในอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
ข้อมูลจำเพาะ
พรมแดนระหว่าง ไทย ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา
ความยาว798 - 817 กิโลเมตร
ประวัติ
มีผลตั้งแต่13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477
การเข้าปกครองกัมพูชาของฝรั่งเศส
พรมแดนปัจจุบันพ.ศ. 2450
สนธิสัญญา • อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส พ.ศ. 2447
 • สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส พ.ศ. 2450
 • อนุสัญญาโตเกียว พ.ศ. 2484
 • ความตกลงระงับกรณีระหว่างไทยกับฝรั่งเศส พ.ศ. 2489 มีผลยกเลิกอนุสัญญาโตเกียว
แผนที่พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา

ความเป็นมา

ในยุคก่อนหน้าที่รัฐชาติจะใช้เส้นเขตแดนเป็นการกำหนดเขตแดน ประเทศไทยและกัมพูชาไม่ได้มีอาณาเขตระหว่างกันที่ชัดเจนมากนัก ซึ่งแนวคิดของเส้นเขตแดนได้เข้ามาพร้อมกับประเทศอาณานิคมจากตะวันตก[4] โดยมีการเสียดินแดนเขมรส่วนนอกซึ่งขณะนั้นเป็นประเทศราชของไทยในปี พ.ศ. 2410 ให้ขึ้นเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส ต่อมาในปี พ.ศ. 2449 ได้ทำสัญญายกพื้นที่มณฑลบูรพา ประกอบด้วยเมืองพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณให้กับฝรั่งเศส เพื่อแลกกับจังหวัดตราด และพื้นที่ทางทะเลที่อยู่ใต้แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูดที่ฝรั่งเศสได้เข้ามายึดครอง[5][4]

สำหรับพรมแดนไทย–กัมพูชานั้น เป็นผลมาจากการปักปันเขตแดนร่วมกันระหว่างประเทศสยาม (ประเทศไทยในขณะนั้น) และประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมของกัมพูชาในขณะนั้น ออกมาเป็นอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2450 และพิธีสารแนบท้าย โดยได้จัดทำแผนที่เพื่อแสดงเส้นเขตแดนไว้จำนวน 2 ชุด[1] ประกอบไปด้วย

  • แผนที่ 11 ระวาง จัดทำขึ้นมาตามอนุสัญญาที่ทำขึ้นในปี พ.ศ. 2447
  • แผนที่ 5 ระวาง จัดทำขึ้นมาตามอนุสัญญาที่ทำขึ้นในปี พ.ศ. 2450

นอกจากนี้ได้มีการดำเนินการปักหลักเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาไว้จำนวน 73 หลัก ระหว่างปี พ.ศ. 2452 - 2453 และปี พ.ศ. 2462 - 2463 ในแต่ละหลักมีการบันทึกวาจาปักหลักหมายเขตประกอบ (Procès-verbal d'abornement)[1]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 ประเทศไทยในการนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม[4] ที่ดำเนินนโยบายชาตินิยมเป็นหลักซึ่งขณะนั้นประเทศฝรั่งเศสที่เป็นเจ้าอาณานิคมขณะนั้นเริ่มอ่อนแอลง จึงได้ขอปรับปรุงเขตแดนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในอดีต หลังจากลงสัตยาบันในสนธิสัญญาไม่รุกรานกันและกันเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ที่ทำร่วมกันกับฝรั่งเศสและญี่ปุ่น ทำให้เกิดกรณีพิพาทอินโดจีนที่มีการรบกันระหว่างประเทศไทยและฝรั่งเศส กระทั่งปลายปี พ.ศ. 2483 ญี่ปุ่นได้เข้ามาไกล่เกลี่ยและทำอนุสัญญากรุงโตเกียว พ.ศ. 2484 ทำให้ประเทศไทยได้ดินแดน ไชยบุรี จำปาศักดิ์ เสียมราฐ และพระตะบอง กลับมาในการดูแล[4] กระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยต้องมอบดินแดนดังกล่าวให้กับฝรั่งเศสอีกครั้ง ตามความตกลงระงับกรณีระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (Accord de rėglement Franco-Siamois) พ.ศ. 2489[6] หรือรู้จักในชื่ออนุสัญญากรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เนื่องจาประเทศญี่ปุ่นตกเป็นผู้แพ้สงคราม และไทยที่มีสถานะเป็นกลางจากการปฏิบัติงานของเสรีไทย หากจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติจะต้องทำตามข้อตกลงดังกล่าว[7] ทำให้พรมแดนระหว่างประเทศไทยและกัมพูชากลับสู่สภาพเดิมตามที่เคยทำอนุสัญญาไว้กับประเทศฝรั่งเศสอีกครั้ง[4]

การปักปันเขตแดน

จากสนธิสัญญาดังกล่าว ปัจจุบันรัฐบาลไทยและกัมพูชาได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ไทย - กัมพูชา (Joint Boundary Commission) เพื่อเป็นกลไกในการหารือการปักปันเขตแดนซึ่งขณะนี้ยังคงดำเนินการอยู่เนื่องจากแนวเขตแดนยังไม่ได้รับการปักปันอย่างชัดเจนในหลายพื้นที่[8]

ความขัดแย้ง

หลังจากกัมพูชาได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2496 ได้มีปัญหาระหว่างพรมแดนไทยกับกัมพูชาหลายครั้ง อาทิ

ปราสาทพระวิหาร

เขตปลอดทหารชั่วคราว ตามคำสั่งศาลฯ

คดีปราสาทพระวิหาร ที่กัมพูชากล่าวหาว่าประเทศไทยครอบครองสิทธิเหนือบริเวณปราสาทพระวิหารโดยมิชอบ จึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลโลก และมีผลการตัดสินในปี พ.ศ. 2505 ว่า

"...ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตกัมพูชา ไทยมีพันธกรณีต้องถอนทหารหรือตำรวจที่ประจำอยู่ที่นั่น และให้คืนวัตถุที่นำออกจากปราสาทตั้งแต่ปี 2497 แก่กัมพูชา..."

โดยฝ่ายไทยได้ประท้วงและสงวนสิทธิที่จะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคต ทำให้เกิดการประทะกันตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชา ด้วยกำลังทหารในช่วงปี พ.ศ. 2551 ส่งผลมาถึงการตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารอีกครั้งในปี พ.ศ. 2554 โดยศาลโลกได้ตัดสินยืนตามคำสั่งเดิมเฉพาะตัวปราสาท ไม่รับการตีความพื้นที่พรมแดนโดยรอบปราสาท รวมถึงได้สั่งให้ถอนทหารออกจากเขตปลอดทหารชั่วคราวโดยรอบปราสาท

เกาะกูด

พื้นที่เกาะกูด เป็นพื้นที่ที่ถูกกล่าวอ้างถึงการทับซ้อนระหว่างพรมแดนทางทะเลระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา ซึ่งมีพื้นที่ทับซ้อนกันทางทะเลมากกว่า 2.6 หมื่นตารางกิโลเมตร[9] โดยส่งผลถึงการจัดการสัมปทานแหล่งพลังงานในพื้นที่ทางทะเลดังกล่าว

ฝั่งไทยยืนยันว่าเกาะกูดไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ทับซ้อน แต่เป็นพื้นที่ของประเทศไทย ตามสนธิสัญญาในปี พ.ศ. 2450[10] ในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ประเทศฝรั่งเศส เจ้าอาณานิคมที่ปกครองกัมพูชาในขณะนั้นมีการระบุถึงการยกเกาะกูดให้กับประเทศไทย เพื่อป้องกันปัญหาการอ้างสิทธิในอนาคต[9] มีข้อความว่า

"...รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายแลเมืองตราดกับเกาะทั้งหลายซึ่ง อยู่ภายใต้แหลมสิงห์ลงไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม..."[10]

แนวพรมแดน

ป้ายบอกอาณาเขตประเทศกัมพูชาบริเวณจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม จังหวัดสุรินทร์

แนวพรมแดนไทย–กัมพูชาตามที่ได้มีการทำอนุสัญญากับฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2447 และปี 2450[1] ประกอบไปด้วย

  • แนวเขตเริ่มต้นจากสามเหลี่ยมมรกต ที่บรรจบระหว่างประเทศไทย กัมพูชา และลาว มาตามแนวเส้นสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรัก ความยาว 364 กิโลเมตร ตามแนวจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดบุรีรัมย์[3]
  • แนวเขตแดนตามลำน้ำต่าง ๆ ที่แบ่งกั้นระหว่างประเทศ ความยาว 216 กิโลเมตร ตามแนวจังหวัดสระแก้ว และจังหวัดจันทบุรี[3]
  • แนวเขตแดนตามแนวเส้นตรง ความยาว 57 กิโลเมตร ตามแนวจังหวัดสระแก้ว และจังหวัดจันทบุรี[3]
  • แนวเขตแดนตามแนวเส้นสันปันน้ำของเทือกเขาบรรทัด ความยาว 160 กิโลเมตร ตามแนวจังหวัดตราด[3]
  • แนวเขตแดนตามแนวเส้นตรง ความยาว 1 กิโลเมตร ตามแนวจังหวัดตราด[3] และต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตเศรษฐกิจจำเพาะในอ่าวไทย[11]

ปัจจุบันแนวพรมแดนไทย–กัมพูชายังคงอยู่ในระหว่างกระบวนการปักปันเขตแดนในหลายพื้นที่ ผ่านคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ไทย - กัมพูชา (Joint Boundary Commission)[12]

เขตการปกครองที่ติดพรมแดน

 ไทย  กัมพูชา
ประเทศลาว
จังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดพระวิหาร
จังหวัดศรีสะเกษ
จังหวัดอุดรมีชัย
จังหวัดสุรินทร์
จังหวัดบุรีรัมย์
จังหวัดบันทายมีชัย
จังหวัดสระแก้ว
จังหวัดพระตะบอง
จังหวัดจันทบุรี
จังหวัดไพลิน
จังหวัดตราด
จังหวัดพระตะบอง
จังหวัดโพธิสัตว์
จังหวัดเกาะกง
อ่าวไทย

จุดผ่านแดน

จุดผ่านแดนถาวร

ประเทศไทยและกัมพูชามีจุดผ่านแดนถาวรจำนวน 7 แห่ง[13] ในพื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบไปด้วย

ลำดับ ประเทศไทย ประเทศกัมพูชาหมายเหตุ
ถนนจุดผ่านแดนถนนจุดผ่านแดนเวลาทำการ[13]
1 ทล.2201จุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ, จังหวัดศรีสะเกษ66ช่องจวม อำเภออัลลองเวง จังหวัดอุดรมีชัย07.00 - 20.00
2 ทล.214จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม, จังหวัดสุรินทร์68บ้านโอร์เสม็ด อำเภอสำโรง จังหวัดอุดรมีชัย06.00 - 22.00
3 ถนนสุวรรณศรจุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก, จังหวัดสระแก้ว5เมืองปอยเปต อำเภอโอโจรว จังหวัดบันทายมีชัย06.00 - 22.00
4ทางหลวงชนบท สก.4058จุดผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน, จังหวัดสระแก้ว57Bบ้านพนมได อำเภอสำเภาลูน จังหวัดพระตะบอง06.00 - 22.00
5ทางหลวงชนบท จบ.4033จุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม, จังหวัดจันทบุรี4033บ้านตวง อำเภอกร็อมเรียง จังหวัดพระตะบอง06.00 - 22.00
6จบ. ถนนคลองใหญ่ - เมืองปรมจุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด, จังหวัดจันทบุรี57บ้านปรม อำเภอศารากราว จังหวัดไพลิน06.00 - 22.00
7 ถนนสุขุมวิท (ทล.3)จุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก, จังหวัดตราด48บ้านจามเยี่ยม อำเภอมณฑลสีมา จังหวัดเกาะกง06.00 - 22.00

จุดผ่านแดนชั่วคราว

ประเทศไทยและกัมพูชามีจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะทางต่าง ๆ อาทิ การนำเข้าและส่งออกสัมปทานไม้ในอดีต[14] โดยปัจจุบันมีไว้สำหรับการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่จะใช้เป็นจุดผ่านแดนถาวรในอนาคต[13]

จุดผ่านแดนชั่วคราวล่าสุดที่เปิดทำการคือ จุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อการก่อสร้างสะพานหนองเอี่ยน - สตึงบท[15]

จุดผ่อนปรนการค้า

จุดผ่อนปรนการค้า เป็นจุดผ่อนปรนที่ได้มีการประกาศโดยกระทรวงมหาดไทยเพื่ออนุญาตให้ทำการค้าขายระหว่างประเทศได้ ปัจจุบันมีอยู่ 9 แห่ง[13] ในพื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบไปด้วย

ลำดับ ประเทศไทย ประเทศกัมพูชาหมายเหตุ
จังหวัดจุดผ่านแดนจังหวัดจุดผ่านแดนเวลาทำการ[13]
1อุบลราชธานีจุดผ่อนปรนช่องอานม้าพระวิหารบ้านสะเตียลกวาง อำเภอจอมกระสาน09.00 - 15.00
2บุรีรัมย์จุดผ่อนปรนช่องสายตะกูอุดรมีชัยบ้านจุ๊บโกกี, อำเภอบันเตียอำปึล08.00 - 15.00
3สระแก้วจุดผ่อนปรนบ้านตาพระยาบันเตียเมียนเจยบ้านบึงตะกวน09.00 - 17.00
4จุดผ่อนปรนบ้านหนองปรือมาลัย
5จันทบุรีจุดผ่อนปรนบ้านซับตารีพระตะบองบ้านโอลำดวน อำเภอพนมปรึก06.00 - 18.00
6จุดผ่อนปรนบ้านสวนสมบ้านโอลั๊วะ อำเภอพนมปรึก
7จุดผ่อนปรนบ้านบึงชนังล่างบ้านสวายเลง อำเภอกร็อมเรียง
8ตราดจุดผ่อนปรนบ้านหมื่นด่านบ้านศาลเจ้า อำเภอสัมลูด08.30 - 17.00
9จุดผ่อนปรนบ้านมะม่วงบ้านฉอระกา, อำเภอสำรูด06.00 - 18.00

จุดผ่อนปรนเพื่อการท่องเที่ยว

จุดผ่อนปรนพิเศษเพื่อการท่องเที่ยว มีอยู่เพียงแห่งเดียวสำหรับพรมแดนประเทศไทยและกัมพูชา[13]

ลำดับ ประเทศไทย ประเทศกัมพูชาหมายเหตุ
พื้นที่จุดผ่านแดนพื้นที่จุดผ่านแดนเวลาทำการ
1ช่องทางขึ้นเขาพระวิหาร, อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษปราสาทเขาพระวิหาร, อำเภอจอมกระสาน จังหวัดพระวิหาร-ปิดตั้งแต่ มิ.ย. 2551 จากความไม่สงบของเขตแดน กำลังดำเนินการขอเปิดทำการอีกครั้ง[13]

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง