ชาริล ชับปุยส์

ชาริล ยานนิส ชาปุย (เกิด 12 มกราคม พ.ศ. 2535) เป็นนักฟุตบอลลูกครึ่งไทย-สวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันเล่นตำแหน่งกองกลางให้กับเชียงใหม่ ในไทยลีก 2 โดยยืมตัวจากการท่าเรือ

ชาริล ชัปปุยส์
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็มชาริล ยานนิส ชาปุย
วันเกิด12 มกราคม พ.ศ. 2535 (32 ปี)
สถานที่เกิดโคลเทิน เมืองบือลัค
รัฐซูริก สวิตเซอร์แลนด์
ส่วนสูง1.76 m (5 ft 9 12 in)
ตำแหน่งกองกลาง
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
เชียงใหม่ (ยืมตัวจาก การท่าเรือ)
หมายเลข92
สโมสรเยาวชน
1999–2000โคลเทิน
2000–2003วายเอฟ ยูเวนตุส
2003–2009กราสฮอปเปอร์
สโมสรอาชีพ*
ปีทีมลงเล่น(ประตู)
2009–2011กราสฮอปเปอร์ 226(3)
2010–2012กราสฮอปเปอร์0(0)
2011–2012→ โลคาร์โน (ยืมตัว)26(2)
2012ลูกาโน (ยืมตัว)16(0)
2013-2014บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด28(4)
2014สุพรรณบุรี (ยืมตัว)17(2)
2015–2017สุพรรณบุรี36(3)
2017–2019เมืองทอง ยูไนเต็ด67(3)
2020–การท่าเรือ27(0)
2023–เชียงใหม่ (ยืมตัว)7(0)
ทีมชาติ
2008–2009สวิตเซอร์แลนด์ อายุไม่เกิน 17 ปี22(0)
2010–2011สวิตเซอร์แลนด์ อายุไม่เกิน 19 ปี6(0)
2013–2014ไทย อายุไม่เกิน 23 ปี14(5)
2014–ไทย21(5)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 2021
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด
ณ วันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2019

ชับปุยส์เคยเล่นให้กับทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์ รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี และรุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี ที่คว้าแชมป์ฟุตบอลโลกรุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี ที่ประเทศไนจีเรียใน พ.ศ. 2552 ก่อนมาเล่นให้ทีมชาติไทย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี โดยเป็นหนึ่งในนักเตะชุดที่ได้เหรียญทองในการแข่งขันซีเกมส์ 2013 ที่ประเทศพม่า และคว้าอันดับ 4 ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 2014 ที่ประเทศเกาหลีใต้ และก้าวขึ้นมาเป็นผู้เล่นในทีมชาติไทยชุดใหญ่ในชุดที่คว้าแชมป์เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014

ประวัติ

ชาริล เกิดวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2535 ที่เมืองโคลเทิน (Kloten) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[1] เป็นบุตรคนเดียวของดาเนียล ชัปปุยส์ ชาวสวิส และไพลิน ชัปปุยส์ ชาวไทย โดยมีพี่สาวต่างมารดา 1 คนชื่อซาบีนา[2]

ชาริล จบการศึกษาระดับเกรด 12 จากโรงเรียนกีฬาในเมืองโคลเทิน โดยเริ่มต้นหัดเล่นฟุตบอลกับบิดาแต่เด็ก จนเมื่ออายุได้ 7 ขวบมีโอกาสได้เล่นฟุตบอลระดับเยาวชนให้กับสโมสรโคลเทินที่สวิตเซอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2542 จากนั้น 1 ปี ก็ย้ายมาอยู่สโมสรเอสซี ยังเฟลโลวส์ยูเวนตุส [3]ต่อมาใน พ.ศ. 2546 ชาริล ชัปปุยส์ย้ายมาอยู่ทีมชุดเยาวชนของสโมสรกราสฮอปเปอร์ ซูริก ในสวิสซูเปอร์ลีก

การเล่นฟุตบอลอาชีพ

กราสฮอปเปอร์ ซูริก 2

ในขณะเป็นนักเตะชุดเยาวชนของกราสฮอปเปอร์ ซูริก ชาริล ชัปปุยส์ ได้มีโอกาสลงเล่นให้กับทีมกราสฮอปเปอร์ ซูริก 2 ซึ่งเป็นทีมสำรองที่ลงแข่งในระดับลีกาคลาสสิก หรือดิวิชัน 4 ของสวิตเซอร์แลนด์ ในฤดูกาล 2552-2553 โดยในฤดูกาลนั้นชาริลเคยมีชื่อเป็นตัวสำรองของทีมกราสฮอปเปอร์ ซูริกชุดใหญ่หลายนัดในการแข่งขันระดับซุปเปอร์ลีก ซึ่งเป็นลีกสูงสุด แต่ไม่ได้ถูกส่งลงสนาม

ชาริล ลงเล่นให้กราสฮอปเปอร์ ซูริก 2 ในระดับลีกาคลาสสิก (ดืวิชั่น 4) กลุ่มที่ 2 โดยลงเล่นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ในนัดที่เปิดบ้านถล่มสโมสรเอสเฟา ชัฟเฮาเซิน ไป 6-1 [4]

ปีต่อมาชาริล ชัปปุยส์ถูกส่งมาเล่นให้กับทีมสำรองในระดับดิวิชั่น 4 อีกครั้งในฤดูกาล 2553-2554 อย่างไรก็ตามชาริล ชัปปุยส์ มีโอกาสลงสนามให้ทีมชุดใหญ่ของกราสฮอปเปอร์ 1 นัด ในฟุตบอลถ้วยสวิส คัพ รอบแรก เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553 ในนัดที่ไปเยือนสโมสร แบร์โรช กอร์กีเย[5]

โลคาร์โน

เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 ชาริลย้ายไปเล่นให้กับสโมสรโลคาร์โน ในระดับแชลเลนจ์ ลีก หรือดิวิชั่น 2 ของสวิตเซอร์แลนด์ ด้วยสัญญายืมตัว ภายใต้การคุมทีมของดาวิเด โมรันดี และลงสนามให้โลคาร์โน นัดแรกในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ในแชลเลนจ์ลีกที่ต้องออกไปเยือนสโมสรโวห์เลน ที่สนามนีเดอร์แมทเทน โดยชาริลถูกส่งลงมาเป็นตัวสำรองในช่วงท้าย[6]

วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ชาริล ชัปปุยส์ ยิงประตูแรกในลีกให้กับโลคาร์โนได้ในนัดที่บุกไปชนะสโมสรเอฟซี วิล 2-1 ที่สนามแบร์กฮอลซ์ [7] เมื่อจบฤดูกาล สโมรโลคาร์โนได้อันดับที่ 9 โดยชาริล ชัปปุยส์ลงสนาม 28 นัด (ในแชลเลนจ์ลีก 26 นัด สวิสคัพ 2 นัด) ยิงในลีก 2 ประตู

เอฟซี ลูกาโน

ชาริล ชัปปุยส์ ย้ายทีมในรูปแบบยืมตัวอีกครั้ง โดยย้ายมาร่วมทีมเอฟซี ลูกาโน ในแชลเลนจ์ลีก ฤดูกาล 2555-2556 เป็นระยะเวลา 5 เดือน โดยลงเล่นภายใต้การคุมทีมของไรมอนโด ปอนเต

ชาริลลงสนามนัดแรกให้เอฟซี ลูกาโนในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 โดยเปิดบ้านชนะเอฟซี วิล 3-1 ที่สนามคอร์นาเรโด[8] และเป็นกำลังสำคัญในช่วงครึ่งฤดูกาลแรก โดยเมื่อหมดสัญญายืมตัวในเดือนธันวาคม จึงเดินทางกลับสโมสรกราสฮอปเปอร์ ตลอดการยืมตัวชาริลสนามให้เอฟซี ลูกาโน 17 นัด (ในแชลเลนจ์ลีก 16 นัด สวิสคัพ 1 นัด)

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

เดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ชาริล ชัปปุยส์ ย้ายมาเล่นฟุตบอลในประเทศไทยกับสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ภายใต้การคุมทีมของอรรถพล บุษปาคม ด้วยสัญญา 2 ปี และลงสนามให้บุรีรัมย์ ยูไนเต็ดนัดแรกเป็นตัวจริงเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ในเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก รอบเพลย์ออฟ ที่พบกับบริสเบน โรอา (ประเทศออสเตรเลีย) ที่สนามนิวไอโมบายสเตเดียม[9]

ต่อมาวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ชาริล ชับปุยส์ลงเล่นรายการฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานเป็นครั้งแรก ในการแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก. 2556 หรือ โค้ก แชริตี้ คัพ 2013 ที่พบกับสโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ที่สนามศุภชลาศัย โดยที่บุรีรัมย์เอาชนะไปได้ 2-0 และคว้าแชมป์ถ้วย ก.ไปครอง

การลงเล่นในไทยพรีเมียร์ลีกครั้งแรกของชาริล ชัปปุยส์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556 ในนัดที่บุรีรัมย์ฯ เปิดสนามนิวไอโมบาย สเตเดี้ยม พบกับสโมสรสุพรรณบุรี เอฟซี นัดนั้น เขาปั่นลูกเตะมุมโค้งเข้าประตูไปอย่างสวยงาม[10]

ต่อมาในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 ชาริล ได้รับบาดเจ็บหนักที่หัวเข่าจากเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก รอบแบ่งกลุ่มที่บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด พบกับสโมสรเจียงซู เสิ่นตี้ (ประเทศจีน) โดยชาริล ยิงประตูให้ทีมขึ้นนำ 2-0 ชาริลวิ่งแสดงความดีใจไปบริเวณมุมธงพร้อมกระโดดแบบสุดตัว แต่จังหวะลงขาขวาที่รับน้ำหนักกลับเสียหลักจนหัวเข่าบิดอย่างน่าหวาดเสียว ทำให้ไม่สามารถเล่นต่อได้ และต้องพักรักษาอาการบาดเจ็บ 3 เดือน[11] เขากลับมาลงสนามได้อีกครั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม ในการแข่งขันฟุตบอลถ้วยโตโยต้า ลีกคัพ 2556 รอบ 8 ทีมสุดท้าย นัดแรก ที่พบกับสโมสรอุดรธานี เอฟซี โดยชาริลถูกส่งลงมาในครึ่งหลังและเป็นคนยิงประตูชัยให้ทีมชนะ 1-0 โดยประตูดังกล่าวเป็นการยิงประตูในการแข่งขันถ้วยลีกคัพ ประตูแรกของชาริลอีกด้วย[12]

จากนั้นชาริลกลับมาลงสนามในไทยพรีเมียร์ลีก เลก 2 ในวันที่ 7 กรกฎาคม ที่ต้องออกไปเยือนสโมสรสุพรรณบุรี เอฟซี โดยถูกส่งลงมาเป็นตัวสำรองในครึ่งหลัง[13]

เมื่อจบฤดูกาล 2556 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ ด้วยการคว้าถึง 4 แชมป์ในฤดูกาลเดียว ได้แก่ แชมป์ถ้วย ก., แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก, แชมป์โตโยต้า ลีกคัพ และแชมป์ไทยคม เอฟเอคัพ และชาริลมีส่วนร่วมในทุกรายการ โดยเขาลงสนามในฤดูกาลนี้รวม 28 นัด (ไทยพรีเมียร์ลีก 16 นัด,เอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก 6 นัด,ไทยคม เอฟเอคัพ 2 นัด,โตโยต้า ลีกคัพ 2 นัด,ถ้วย ก.และเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก รอบเพลย์ออฟ รายการละ 1 นัด) ยิงได้ทั้งหมด 4 ประตู (ไทยพรีเมียร์ลีก 2 ประตู,โตโยต้า ลีกคัพ 1 ประตู และเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก 1 ประตู[14])

ฤดูกาลต่อมาชาริล เริ่มต้นกับสโมสรด้วยการคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก. 2557 โดยชนะสโมสรเมืองทอง ยูไนเต็ด 1-0 ซึ่งเป็นการคว้าแชมป์รายการนี้เป็นสมัยที่ 2 ของเขา แต่หลังจากนั้นเมื่อการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีก 2557 เริ่มต้นขึ้นเขากลับประสบปัญหาฟอร์มตก โดยในช่วงแรกเขายังรักษาตำแหน่งตัวจริงในทีมไว้ได้แต่มักถูกเปลี่ยนตัวออกและเล่นไม่เต็มเวลา จนกลางเดือนเมษายน สโมสรเปลี่ยนแปลงผู้ฝึกสอนเป็น โบซิดาร์ บันโดวิช โค้ชชาวเซอร์เบีย[15] ชาริลก็หลุดเป็นตัวสำรองของทีมและถูกเปลี่ยนตัวลงมาเล่นในช่วงก่อนหมดเวลาเป็นบางนัด

เดือน มิถุนายน บุรีรัมย์ฯ เปลี่ยนแปลงผู้ฝึกสอนอีกครั้ง โดยแต่งตั้ง อเล็กซานเดอร์ กามา เข้ามาเป็นโค้ชคนใหม่[16] และชาริล ชัปปุยส์ ที่เป็นตัวสำรองก็ถูกส่งตัวไปให้สโมสรสุพรรณบุรี เอฟซียืมใช้งานจนจบฤดูกาล เพื่อโอกาสในการลงสนามอย่างสม่ำเสมอ

โดยในเลกที่ 1 ของฤดูกาล 2014 นี้ ชาริลลงสนามให้บุรีรัมย์ทั้งหมด 19 นัด โดยเป็นการลงเล่นในไทยพรีเมียร์ลีกเพียง 12 นัด โตโยต้า ลีกคัพ และถ้วย ก. รายการละ 1 นัด แต่ก็ยังได้ลงสนามในการแข่งขันเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก รอบแบ่งกลุ่ม ถึง 5 นัดด้วยกัน

สุพรรณบุรี เอฟซี

เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 ช่วงเลกที่ 2 ของไทยพรีเมียร์ลีก สโมสรสุพรรณบุรี เอฟซียืมตัวชาริล มาเล่นจนจบฤดูกาล ภายใต้การคุมทีมของเวลิซาร์ เอมิลอฟ โปปอฟ โค้ชชาวบัลแกเรีย โดยชาริล ย้ายมาเพื่อโอกาสในการลงเล่นอย่างสม่ำเสมอ และได้เสื้อหมายเลข 40

ชาริล ชัปปุยส์ลงเล่นให้สุพรรณบุรี เอฟซีนัดแรกวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ที่พบกับสโมสรบีอีซี เทโรศาสน[17] และมาทำประตูแรกให้กับสุพรรณบุรี เอฟซี ได้จากลูกโหม่ง ในวันที่ 26 กรกฎาคม ที่พบสโมสรฟุตบอลสิงห์ท่าเรือ ที่สนามกีฬากลางจังหวัดสุพรรณบุรี[18] และมายิงในไทยพรีเมียร์ลีกได้อีก 1 ประตู ในนัดที่พบกับสโมสรอาร์มี่ ยูไนเต็ด ที่สนามกีฬากองทัพบก

การเล่นที่สุพรรณบุรี เอฟซี ชาริล เป็นผู้เล่นคนสำคัญและกลับมาทำผลงานได้อย่างดีอีกครั้ง จนสามารถยึดตำแหน่งในแดนกลางของทีมได้ และเกียรติศักดิ์ เสนาเมือง โค้ชทีมชาติไทย ได้เรียกเขาติดทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ไปแข่งขันในกีฬาเอเชียนเกมส์ 2014 ที่ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งไทยได้อันดับ 4 และก้าวขึ้นมาติดชุดใหญ่ในปลายปีซึ่งสามารถคว้าแชมป์ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014 มาครองได้สำเร็จ

ชาริลลงสนามในเลกที่ 2 ให้สุพรรณบุรีทั้งหมด 20 นัด (ไทยพรีเมียร์ลีก 17 นัด และไทยคม เอฟเอคัพ 3 นัด) ยิงในลีกได้ 2 ประตู และสโมสรจบฤดูกาล 2557 ด้วยอันดับ 6 ซึ่งเป็นอันดับสูงสุดของสโมสร และเข้าถึงรอบรองชนะเลิศถ้วยไทยคม เอฟเอคัพ ได้เป็นครั้งแรก โดยชาริลได้เซ็นสัญญาย้ายมาร่วมทีมสุพรรณบุรี เอฟซีอย่างถาวรเมื่อจบฤดูกาล[19]

ฤดูกาล 2558 ชาริล ได้เปลี่ยนมาใส่เสื้อเบอร์ 10[20][21]

สถิติ

สโมสรฤดูกาลลีกฟุตบอลถ้วยลีกคัพทวีปอื่นๆรวม
ดิวิชันนัดประตูนัดประตูนัดประตูนัดประตูนัดประตูนัดประตู
กราสฮอปเปอร์2009-2010ซุปเปอร์ลีก000000000000
2010-2011ซุปเปอร์ลีก000010000010
รวม000010000010
กราสฮอปเปอร์ 22009-2010ลีกาคลาสสิก กลุ่ม 213100000000131
2010-2011ลีกาคลาสสิก กลุ่ม 213200000000132
รวม26300000000263
โลคาร์โน (ยืมตัว)2011-2012แชลเลนจ์ลีก26200200000282
ลูการ์โน (ยืมตัว)2012-2013แชลเลนจ์ลีก16000100000170
รวม42200300000452
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด2013ไทยพรีเมียร์ลีก16220216120284
2014ไทยพรีเมียร์ลีก12000105010190
สุพรรณบุรี (ยืมตัว)2014ไทยพรีเมียร์ลีก17230000000202
สุพรรณบุรี2015ไทยพรีเมียร์ลีก
รวม454503111130676
รวมทั้งหมด[22]

ทีมชาติ

สวิตเซอร์แลนด์

ในระดับทีมชาติ ชาริล ชัปปุยส์ เริ่มเข้าทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์ตั้งแต่รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี และคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกรุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี ที่สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย ได้ในปี พ.ศ. 2552 โดยเขามีส่วนช่วยทีมครบทุกนัดในการแข่งขันรายการระดับโลก[23] ด้วยผลงานยอดเยี่ยมดังกล่าวจึงทำให้ชาริลเคยตกเป็นข่าวกับสโมสรฟุตบอลระดับโลกทั้งฮัมบวร์คและยูเวนตุสทีเดียว[24]

ทีมชาติไทย

ชาริล ชัปปุยส์ เคยถูกเรียกเข้าร่วมทีมชาติไทย โดยวินฟรีด เชฟเฟอร์ อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติไทยเพื่อเข้าร่วมศึกฟุตบอลเอเชียนคัพ 2015 แต่เนื่องจากเขาเคยเล่นให้กับทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์ในการแข่งขันฟุตบอลโลกรุ่นอายุไม่เกิน 17 ปีมาก่อน จึงต้องให้ฟีฟ่าพิจารณาการเปลี่ยนสัญชาติ ซึ่งไม่ทันกับการแข่งขันในครั้งนั้น จึงยังไม่ได้ร่วมแข่งขันในนามทีมชาติไทย[14]

หลังฟีฟ่ารับรองให้ชาริลเป็นนักเตะทีมชาติไทย เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง หัวหน้าฝึกสอนนักฟุตบอลทีมชาติไทยในขณะนั้น ก็เรียกให้ชาริลเข้าร่วมทีมชาติรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ซึ่งเขาเล่นนัดแรกที่รับการมาเยือนของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาในเดือนสิงหาคม ก่อนเปิดตัวในนามทีมชาติอย่างเป็นทางการในนัดที่พบกับทีมชาติยูกันดา เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 และร่วมทีมชาติอีกในการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 27 ที่ประเทศพม่า[25]

หลังจากประสบความสำเร็จจากการคว้าแชมป์เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014 มาแล้ว ในฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพครั้งที่ 43 ชับปุยส์ได้รับบาดเจ็บที่หัวเข่า ทำให้พลาดการลงเล่นในครั้งนี้ โดยต้องพักรักษาตัวนาน 1-2 เดือน[26] แต่ต่อมาในกลางปีเดียวกัน พบว่าต้องพักรักษาร่างกายนานจนถึงต้นปีหน้า

เกียรติประวัติ

ทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์

เมืองทอง ยูไนเต็ด

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

ทีมชาติไทย

 เครื่องราชอิสริยาภรณ์

รางวัล

  • เอ็มไทยท็อปทอล์กอะเบาต์ 2015 สาขานักกีฬาชายที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด[28]
  • แคช อวอร์ด 2015 สาขา Talk of the towninnnews.co.th</ref>

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง