ฟุตบอลทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์

ฟุตบอลทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์ (อังกฤษ: Switzerland national football team, เยอรมัน: Schweizer Fußballnationalmannschaft, ฝรั่งเศส: Équipe de Suisse de football, อิตาลี: Nazionale di calcio della Svizzera, รูมันช์: Squadra naziunala da ballape da la Svizra) เป็นตัวแทนทีมฟุตบอลจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลสวิส

สวิตเซอร์แลนด์
Shirt badge/Association crest
ฉายาNati (ทีมชาติ)
สมาคมสมาคมฟุตบอลสวิส
สมาพันธ์ยูฟ่า (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนมูรัท ยาคิน
กัปตันกรานิต จากา
ติดทีมชาติสูงสุดไฮนซ์ แฮร์มัน (118)[1]
ทำประตูสูงสุดอเล็กซานเดอร์ ฟราย (42)
รหัสฟีฟ่าSUI
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 19 Steady (4 เมษายน 2024)[2]
อันดับสูงสุด3 (สิงหาคม ค.ศ. 1993)
อันดับต่ำสุด83 (ธันวาคม ค.ศ. 1998)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 1–0 สวิตเซอร์แลนด์ ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์
(ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส; 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1905)
ชนะสูงสุด
ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ 9–0 ลิทัวเนีย ธงชาติลิทัวเนีย
(ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส; 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1924)
แพ้สูงสุด
ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ 9–0 สวิตเซอร์แลนด์ ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์
(บาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์; 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1909)
ธงชาติฮังการี ฮังการี 9–0 สวิตเซอร์แลนด์ ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์
(บูดาเปสต์, ประเทศฮังการี; 29 ตุลาคม ค.ศ. 1911)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม12 (ครั้งแรกใน 1934)
ผลงานดีที่สุด8 ทีมสุดท้าย (1934, 1938, 1954)
ยูฟ่ายูโรปาลีก
เข้าร่วม5 (ครั้งแรกใน 1996)
ผลงานดีที่สุด8 ทีมสุดท้าย (2020)
ยูฟ่าเนชันส์ลีก รอบสุดท้าย
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 2019)
ผลงานดีที่สุดอันดับที่สี่ (2019)
เกียรติยศ

ทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์มีผลงานที่ดีที่สุดคือ สามารถเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย 3 ครั้งในฟุตบอลโลก คือในปี 1934, 1938 และ 1954 โดยใน 1954 ที่พวกเขาเป็นเจ้าภาพนั้น พวกเขาแพ้ให้กับออสเตรียในรอบก่อนรองชนะเลิศ 7–5 ซึ่งถือเป็นนัดที่มีการทำประตูกันมากที่สุดในฟุตบอลโลก[3] ต่อมาในฟุตบอลโลก 2006 สวิตเซอร์แลนด์ทำสถิติใหม่ในรายการนี้ด้วยการตกรอบทั้งที่ไม่เสียประตูเลยแม้แต่ลูกเดียว โดยพวกเขาแพ้การยิงลูกโทษต่อยูเครนในรอบ 16 ทีมสุดท้าย พวกเขาเสียประตูอีกครั้งหนึ่งในนัดที่พบกับชิลีในฟุตบอลโลก 2010 ทำให้สวิตเซอร์แลนด์กลายเป็นทีมชาติที่ไม่เสียประตูติดต่อกันนานที่สุดในฟุตบอลโลก[4]

สวิตเซอร์แลนด์และออสเตรียเป็นเจ้าภาพร่วมในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 โดยสวิตเซอร์แลนด์ได้ลงเล่นเป็นครั้งที่สามในรายการนี้ แต่ก็ตกรอบแบ่งกลุ่มเป็นครั้งที่สามด้วยเช่นกัน[5][6]

ผลงานที่ดีที่สุดของทีมชาติในการแข่งขันฟุตบอลอย่างเป็นทางการคือรางวัลเหรียญเงินในปี 1924 ที่พวกเขาได้มาหลังจากที่แพ้อุรุกวัย 3–0 ในรอบชิงชนะเลิศของโอลิมปิกฤดูร้อน 1924[7]

ประวัติ

ในฟุตบอลโลก 2006 ทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์ตกรอบ 16 ทีมสุดท้ายด้วยการแพ้ดวลลูกโทษให้กับยูเครน 3-0 ต่อมาในฟุตบอลโลก 2010 พวกเขาอยู่กลุ่มเดียวกันกับสเปน ชิลี และฮอนดูรัส ซึ่งสวิตเซอร์แลนด์จบอันดับที่ 3 ของกลุ่ม ไม่สามารถผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกได้ ต่อมาในฟุตบอลโลก 2014 พวกเขาตกรอบ 16 ทีมสุดท้ายด้วยการพ่ายแพ้ต่ออาร์เจนตินาในช่วงต่อเวลาพิเศษ

2016–2021: ยุคของวลาดิมีร์ เป็ตกอวิช

ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 สวิตเซอร์แลนด์อยู่ในกลุ่มเอร่วมกับเจ้าภาพอย่างฝรั่งเศส, แอลเบเนีย และโรมาเนีย โดยในนัดแรก สวิตเซอร์แลนด์ชนะแอลเบเนีย 1–0 จากการทำประตูชัยของฟาบีอาน แชร์ในนาทีที่ 5 ของเกม[8] นัดถัดมา พวกเขาเสมอกับโรมาเนีย 1–1 โดยถูกขึ้นนำจากการเสียลูกโทษ แต่ก็ตามตีเสมอได้จากการทำประตูของอัดมีร์ เมห์เมดีในช่วงครึ่งหลัง[9] และในนัดสุดท้ายของกลุ่ม พวกเขาเสมอกับฝรั่งเศส 0–0 อย่างไรก็ตาม เกมนั้นถูกวิพากษ์วิจารณ์ในกรณีที่เสื้อของผู้เล่นสวิสฉีกขาดในตอนที่กำลังเบียดแย่งกับผู้เล่นฝรั่งเศส และลูกบอลแตกในตอนที่อ็องตวน กรีแยซมานและวาลอน เบห์รามีกำลังแย่งบอลกัน นอกจากนี้ เกมยังแข่งขันบนสนามที่พื้นผิวแย่ จนผู้จัดการและผู้เล่นของทั้งสองทีมออกมาวิจารณ์ หลังจากเกมนั้น ผู้ผลิตชุดแข่งของสวิตเซอร์แลนด์ออกมากล่าวว่าชุดแข่งผลิตจากวัสดุที่บกพร่องจนฉีดขาดในระหว่างการเล่น[10][11][12] สวิตเซอร์แลนด์จบเป็นอันดับที่สองกลุ่มและผ่านเข้ารอบไปเจอกับโปแลนด์ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย พวกเขาเสียประตูก่อนแต่ก็ตีเสมอได้จากลูกยิงจักรยานอากาศของแจร์ดัน ชาชีรี เกมยังคงเสมอเมื่อจบช่วงต่อเวลาพิเศษ ทำให้ต้องตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ ผู้เล่นคนอื่นยิงลูกโทษเข้ากันหมด ยกเว้นเสียแต่กรานิต จากาซึ่งเป็นคนยิงคนที่สอง ยิงลูกโทษไม่เข้า ทำให้โปแลนด์เอาชนะการยิงลูกโทษไปได้ 5–4[13][14][15]

ในรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลก 2018 สวิตเซอร์แลนด์อยู่กลุ่มเดียวกันกับโปรตุเกส, ฮังการี, หมู่เกาะแฟโร, ลัตเวีย และอันดอร์รา[16] สวิสเริ่มต้นรอบคัดเลือกด้วยการเอาชนะแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปอย่างโปรตุเกส 2–0 ทั้งที่โปรตุเกสเพิ่งชนะเลิศรายการนั้นมาได้ไม่ถึงสองเดือน ณ วันที่แข่งขัน (6 กันยายน)[17] หลังจากนั้น พวกเขาเอาชนะฮังการี 3–2, อันดอร์รา 2–1, หมู่เกาะแฟโร 2–0 และลัตเวีย 1–0 ทำให้พวกเขาชนะห้านัดแรก ขึ้นเป็นอันดันที่หนึ่งของกลุ่มด้วยคะแนน 15 แต้มเต็ม[18][19][20][21] ต่อมาในห้าเกมที่เหลือ พวกเขาชนะหมู่เกาะแฟโร 2–0, อันดอร์รา 3–0, ลัตเวีย 3–0 และฮังการี 5–2[22][23][24][25] อย่างไรก็ตาม พวกเขาพ่ายแพ้ต่อโปรตุเกส 2–0 ในนัดสุดท้ายของกลุ่ม[26] ทำให้พวกเขาจบอันดับที่ 2 ของกลุ่ม ต้องไปแข่งขันในรอบเพลย์ออฟ[16][27] ซึ่งพวกเขาจับสลากพบกับนอร์เทิร์นไอร์แลนด์ ในเลกแรกซึ่งแข่งขันวันที่ 9 พฤศจิกายน พวกเขาชนะ 1–0 จากการยิงลูกโทษที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ของรีการ์โด โรดรีเกซ และในเลกที่สองซึ่งแข่งในอีกสามวันถัดมา ทั้งสองทีมเสมอกัน 0–0 ทำให้สวิตเซอร์แลนด์ได้เข้าไปเล่นในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายที่ประเทศรัสเซียด้วยผลประตูรวม 1–0[28][29][30] ก่อนที่การแข่งขันฟุตบอลโลกจะเริ่มขึ้น สวิตเซอร์แลนด์อยู่อันดับที่ 6 จากการจัดอันดับโลกฟีฟ่า นับเป็นอันดับที่สูงกว่าแชมป์ฟุตบอลโลกสมัยนั้นอย่างฝรั่งเศสเสียอีก[31]

ผู้เล่นทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์ก่อนที่จะแข่งขันกับสวีเดนเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 ที่สนามกีฬาเครสตอฟสกีในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก[32]

ในฟุตบอลโลก สวิตเซอร์แลนด์อยู่ในกลุ่มอีร่วมกับบราซิล, เซอร์เบีย และคอสตาริกา[33] พวกเขาแข่งขันนัดเปิดสนามด้วยการเสมอกับบราซิล 1–1[34] ก่อนที่นัดถัดมาจะเอาชนะเซอร์เบียด้วยการทำประตูชัยของแจร์ดัน ชาชีรี[35] ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์จากทางเซอร์เบียเนื่องจากเขา, กรานิต จากา และชเต็ฟฟัน ลิชท์ชไตเนอร์ (ซึ่งมีเชื้อสายแอลเบเนีย) ทำท่าดีใจด้วยการไขว้มือเป็นรูปนกอินทรีสองหัวซึ่งเป็นตราแผ่นดินของแอลเบเนีย เพื่อแสดงถึงความเป็นชาตินิยมแอลเบเนีย อย่างไรก็ตาม ฟีฟ่าไม่ได้สั่งแบนพวกเขาทั้งสามคน[36][37][38][39] นัดสุดท้ายของกลุ่ม พวกเขาเสมอกับคอสตาริกา 2–2 จากการทำประตูของเบลริม เจไมลีและยอซิป เดอร์มิช ทำให้พวกเขาจบอันดับที่สองของกลุ่ม[40] ต่อมาในรอบ 16 ทีมสุดท้าย พวกเขาพ่ายแพ้ต่อสวีเดน 1–0 ทำให้พวกเขายุติเส้นทางในฟุตบอลโลกแต่เพียงเท่านี้[41]

วันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 2018 สวิตเซอร์แลนด์ได้รับเลือกให้เข้าร่วมแข่งขันในฤดูกาลเปิดตัวของยูฟ่าเนชันส์ลีก ซึ่งเป็นการแข่งขันโดยทีมชาติสมาชิกของยูฟ่า พวกเขาถูกจับสลากให้อยู่ในกลุ่มที่ 2 ของลีกเอ ร่วมกับเบลเยียมและไอซ์แลนด์[42][43]

ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 สวิตเซอร์แลนด์จบอันดับที่สามของกลุ่มเอซึ่งมีทีมร่วมกลุ่มของอิตาลี, เวลส์ และตุรกี อย่างไรก็ตาม พวกเขาสามารถผ่านเข้าสู่รอบถัดไปได้ด้วยการเป็นอันดับสามที่ดีที่สุด ต่อมาในรอบ 16 ทีมสุดท้าย พวกเขาเอาชนะฝรั่งเศสด้วยการยิงลูกโทษหลังจากที่เสมอกันในเวลา 120 นาที 3–3 ทั้ง ๆ ที่ถูกนำถึง 1-3 ในช่วงครึ่งหลัง ทำให้พวกเขาชนะในรอบแพ้คัดออกของรายการใหญ่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1938[44][45]

ภาพลักษณ์ทีม

ชุดแข่งขัน

ชุดเหย้าของทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์เป็นเสื้อสีแดง กางเกงขาสั้นสีขาว และถุงเท้าสีแดง ในขณะที่ชุดเยือนจะสลับสีเป็นเสื้อสีขาว กางเกงขาสั้นสีแดง และถุงเท้าสีขาว โดยสีกางเกงและถุงเท้าสามารถสลับสีกันได้ในบางกรณี นับตั้งแต่ที่ก่อตั้งทีมใน ค.ศ. 1895 ทีมชาติในชุดแข่งตามสีที่ปรากฏบนธงชาติ ผู้ผลิตชุดในปัจจุบันคือพูมาซึ่งผลิตชุดแข่งมาตั้งแต่ ค.ศ. 1998

ผู้ผลิตชุดแข่ง

ผู้ผลิตช่วงปี
อาดิดาส1976–1989
แบล็กกี1990–1992
ลอตโต1992–1998
พูมา1998–

ทีมงานฝึกสอน

มูรัท ยาคิน เป็นผู้จัดการทีมมาตั้งแต่ ค.ศ. 2021
ตำแหน่งชื่อ
หัวหน้าผู้ฝึกสอน มูรัท ยาคิน
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน Hakan Yakin
Vincent Cavin
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู Patrick Foletti
ผู้ฝึกสอนกายภาพ Oliver Riedwyl

ทำเนียบหัวหน้าผู้ฝึกสอน

รายชื่อผู้เล่น

รายชื่อผู้เล่น 26 คนที่ถูกเรียกตัวในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022[46]

ข้อมูลการลงเล่นและการทำประตูนับถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 หลังจากการพบกับ เช็กเกีย[47][48]

0#0ตำแหน่งผู้เล่นวันเกิด (อายุ)ลงเล่นประตูสโมสร
11GKยัน ซ็อมเมอร์ (1988-12-17) 17 ธันวาคม ค.ศ. 1988 (35 ปี)760 โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค
121GKโยนัส อ็อมลีน (1994-01-10) 10 มกราคม ค.ศ. 1994 (30 ปี)40 มงเปอลีเย
211GKเกรกอร์ โคเบิล (1997-12-06) 6 ธันวาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี)30 โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
241GKPhilipp Köhn (1998-04-02) 2 เมษายน ค.ศ. 1998 (26 ปี)00 เร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค
132DFริการ์โด โรดริเกซ (1992-08-25) 25 สิงหาคม ค.ศ. 1992 (31 ปี)1009 โตรีโน
222DFฟาบีอาน แชร์ (1991-12-20) 20 ธันวาคม ค.ศ. 1991 (32 ปี)728 นิวคาสเซิลยูไนเต็ด
52DFมานูเอ็ล อาคันจี (1995-07-19) 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1995 (28 ปี)421 แมนเชสเตอร์ซิตี
42DFนีโค เอ็ลเวดี (1996-09-30) 30 กันยายน ค.ศ. 1996 (27 ปี)401 โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค
32DFซิลวาน วิทเมอร์ (1993-03-05) 5 มีนาคม ค.ศ. 1993 (31 ปี)332 ไมนทซ์ 05
182DFเอรัย เจอแมร์ท (1998-02-04) 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998 (26 ปี)90 บาเลนเซีย
233MFแจร์ดัน ชาชีรี (รองกัปตัน) (1991-10-10) 10 ตุลาคม ค.ศ. 1991 (32 ปี)10826 ชิคาโกไฟเออร์
103MFกรานิต จากา (กัปตัน) (1992-09-27) 27 กันยายน ค.ศ. 1992 (31 ปี)10612 อาร์เซนอล
83MFเรโม ฟร็อยเลอร์ (1992-04-15) 15 เมษายน ค.ศ. 1992 (32 ปี)485 นอตทิงแฮมฟอเรสต์
63MFเดอนี ซาการียา (1996-11-20) 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1996 (27 ปี)423 เชลซี
153MFจีบรีล โซ (1997-02-06) 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 (27 ปี)320 ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท
113MFRenato Steffen (1991-11-03) 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1991 (32 ปี)271 ลูกาโน
23MFแอดีมิลซง ฟือร์นังดึช (1996-04-15) 15 เมษายน ค.ศ. 1996 (28 ปี)222 ไมนทซ์ 05
253MFFabian Frei (1989-01-08) 8 มกราคม ค.ศ. 1989 (35 ปี)223 บาเซิล
143MFMichel Aebischer (1997-01-06) 6 มกราคม ค.ศ. 1997 (27 ปี)110 โบโลญญา
263MFArdon Jashari (2002-06-30) 30 มิถุนายน ค.ศ. 2002 (21 ปี)10 ลูเซิร์น
253MFFabian Rieder (2002-02-16) 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002 (22 ปี)00 ยังบอยส์
94FWฮาริส เซเฟรอวิช (1992-02-22) 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 (32 ปี)8825 กาลาทาซาไร
74FWเบรล เอ็มโบโล (1997-02-14) 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 (27 ปี)5811 มอนาโก
174FWรูเบน บาร์กัส (1998-08-05) 5 สิงหาคม ค.ศ. 1998 (25 ปี)264 เอาคส์บวร์ค
164FWคริสทีอัน ฟัสนัคท์ (1993-11-11) 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1993 (30 ปี)154 ยังบอยส์
194FWNoah Okafor (2000-05-24) 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 (23 ปี)82 เร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค

สถิติผู้เล่น

ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2021[49]
ผู้เล่น ตัวหนา หมายถึง ผู้เล่นที่ยังคงลงเล่นให้กับทีมชาติในปัจจุบัน
ผู้เล่นที่ทำประตูสูงสุด
อันดับชื่อประตูลงเล่นสัดส่วนช่วงปี
1อเล็กซานเดอร์ ฟราย42840.52001–2011
2Kubilay Türkyilmaz34620.551988–2001
Max Abegglen680.51922–1937
4André Abegglen29520.561927–1943
5Jacques Fatton28530.531946–1955
6Adrian Knup26490.531989–1996
7แจร์ดัน ชาชีรี25950.272010–
8ฮาริส เซเฟรอวิช24780.282013–
9Josef Hügi22340.651951–1961
Charles Antenen560.391948–1962

สถิติการแข่งขัน

สวิตเซอร์แลนด์ยังไม่เคยชนะเลิศการแข่งขันระดับนานาชาติ ผลงานที่ดีที่สุดของพวกเขาคือการเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศในฟุตบอลโลกสามครั้งในปี 1934, 1938 และ 1954 และการเป็นรองแชมป์โอลิมปิกฤดูร้อน 1924 ที่พวกเข้าพ่ายแพ้ต่ออุรุกวัยในรอบชิงชนะเลิศที่ปารีส 3–0[50] อย่างไรก็ตาม ทีมชาติชุดเยาวชนมีความสำเร็จมากกว่า โดยทีมชาติรุ่นอายุไม่เกิน 17 ปีเคยชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2002 และ 2009 ในขณะที่ทีมชาติรุ่นอายุไม่เกิน 21 ปีเคยเข้าถึงรอบรองชนะเลิศของฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2002 และเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2011[51][52][53][54]

ฟุตบอลโลก

สถิติในฟุตบอลโลกสถิติในรอบคัดเลือก
ปีรอบอันดับแข่งชนะเสมอ*แพ้ได้เสียผู้เล่นแข่งชนะเสมอแพ้ได้เสีย
1930ไม่ได้เข้าร่วมถูกเชิญเข้าร่วม
1934รอบก่อนรองชนะเลิศ7210155ผู้เล่น202044
19387311155ผู้เล่น110021
1950รอบแบ่งกลุ่ม6311146ผู้เล่น220084
1954รอบก่อนรองชนะเลิศ842021111ผู้เล่นผ่านเข้ารอบด้วยการเป็นเจ้าภาพ
1958ไม่ผ่านรอบคัดเลือก4013611
1962รอบแบ่งกลุ่ม16300328ผู้เล่น54011110
196616300319ผู้เล่น641173
1970ไม่ผ่านรอบคัดเลือก621358
1974622224
1978410335
19828233912
19868242510
199082151014
1994รอบ 16 ทีมสุดท้าย16411257ผู้เล่น10631236
1998ไม่ผ่านรอบคัดเลือก83141112
2002104241812
2006รอบ 16 ทีมสุดท้าย10422040ผู้เล่น125612211
2010รอบแบ่งกลุ่ม19311111ผู้เล่น10631188
2014รอบ 16 ทีมสุดท้าย11420277ผู้เล่น10730176
201814412155ผู้เล่น121011247
202212420259ผู้เล่น8530152
2026รอแข่งขันรอแข่งขัน
ทั้งหมดรอบก่อนรองชนะเลิศ12/2241148195573140683735220150
*การเสมอนับรวมถึงนัดที่ตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป

สถิติในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปสถิติในรอบคัดเลือก
ปีรอบอันดับแข่งชนะเสมอ*แพ้ได้เสียผู้เล่นแข่งชนะเสมอแพ้ได้เสีย
1960ไม่ได้เข้าร่วมแข่งขันไม่ได้เข้าร่วมแข่งขัน
1964ไม่ผ่านรอบคัดเลือก201124
196862131713
19726411125
19766114510
19808206718
1984622279
1988815299
19928422197
1996รอบแบ่งกลุ่ม13301214ผู้เล่น8521157
2000ไม่ผ่านรอบคัดเลือก842295
2004รอบแบ่งกลุ่ม15301216ผู้เล่น84311511
2008รอบแบ่งกลุ่ม11310233ผู้เล่นผ่านเข้ารอบด้วยการเป็นเจ้าภาพ
2012ไม่ผ่านรอบคัดเลือก83231210
2016รอบ 16 ทีมสุดท้าย11413032ผู้เล่น10703248
2020รอบก่อนรองชนะเลิศ7522189ผู้เล่น8521196
2024รอแข่งขันรอแข่งขัน
ทั้งหมดรอบก่อนรองชนะเลิศ5/16183871624100442432172122
*การเสมอนับรวมถึงนัดที่ตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ
**กรอบสีแดงหมายถึงการแข่งขันที่สวิตเซอร์แลนด์เป็นเจ้าภาพ

เกียรติประวัติ

อันดับ 4 (1): 2018–19

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง