ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส

ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส[a] (อังกฤษ: Open source software, OSS คือ ซอฟต์แวร์ที่เผยแพร่โดยใช้ใบอนุญาตที่ผู้ถือครองลิขสิทธ์อนุญาตให้ผู้ใช้มีสิทธิในการใช้ ศึกษา แก้ไข และแจกจ่ายซอฟต์แวร์และรหัสต้นทางของมันแก่ใคร เพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ได้ [4][5]

ภาพหน้าจอ ของแมนจาโร ที่ติดตั้ง สิ่งแวดล้อมเดสก์ท็อปซินนามอน, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ กำลังเปิด วิกิพีเดีย ที่ใช้ MediaWiki, LibreOffice Writer, Vim, GNOME Calculator, VLC media player และ ตัวจัดการไฟล์เนโม, ทั้งหมดนี้เป็นซอฟต์แวร์ต้นทางเปิด

รายงานปีพ.ศ. 2551 โดย the Standish Group ระบุว่าการใช้โมเดลซอฟต์แวร์ต้นทางเปิดช่วยใช้ผู้บริโภคประหยัดเงินได้มากถึง 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปี [6][7]


ประวัติ

แรกเริ่มเดิมทีในช่วงทศวรรษ 1950 และ 1960 โปรแกรมเมอร์กับนักพัฒนาจะแบ่งปันซอฟต์แวร์แก่กัน [8] ตัวอย่างเช่น ยูนิกซ์ มาพร้อมกับซอร์สโค้ดเพื่อให้ผู้ใช้ แต่ในทศวรรษ 1970-1980 ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ก็ได้มาแทนที่ระบบต้นทางเปิดเดิม ข้อยกเว้นมีน้อยแต่มีบ้างในด้านการศึกษา เช่นDonald Knuth กับระบบTeX ใสปี ค.ศ. 1979 [9] และริชาร์ด สตอลล์แมน กับ กนู ในปี ค.ศ. 1983[10] ในปี 1997 Eric S. Raymond ได้เผยแพร๋ มหาวิหารกับตลาดสด (อังกฤษ: The Cathedral and the Bazaar) ซึ่งเป็นงานวิเคราะห์วัฒนธรรมแฮกเกอร์และซอฟต์แวร์เสรี วิทยานิพนธ์นี้ได้รับความสนใจอย่างมากในต้นปี ค.ศ. 1998 และทำให้บริษัทเน็ตสเคปได้ปล่อยโปรแกรม Netscape Communicator ของตนเป็นซอฟต์แวร์เสรี รหัสต้นทางดังกล่าวได้พัฒนาต่อมาเป็น ซีมังกี, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์, Mozilla Thunderbird และ KompoZer.

Raymond กับผู้อื่นเห็นการกระทำนี้ของเน็ตสเคปแล้วจึงได้พิจารณาว่าจะทำอย่างไรจึงจะให้แนวคิดซอฟต์แวร์เสรีของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี เป็นที่นิยมต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ได้อย่างไร พวกเขาสรุปว่าการเคลื่อนไหวของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีไม่น่าดึงดูดในสายตาบริษัทอย่างเน็ตสเคป จึงได้คิดหาวิธีที่จะรีแบรด์การเคลื่อนไหวภายใต้ชื่อซอฟต์แวร์เสรี ที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 เสียใหม่ เพื่อเน้นยำศักยภาพทางธุรกิจในการแบ่งปันและทำงานบนรหัสต้นทางร่วมกัน [11] ต่อมาในปี พ.ศ. 2541, ได้มีความคิดเสนอว่าคำว่าซอฟต์แวร์เสรีควรถูกแทนที่ด้วยคำว่าซอฟต์แวร์ต้นทางเปิด แทนเพื่อลดความกำกวม [12][13][14] และทำให้ผู้คนในโลกทุนนิยมชมชอบมากขึ้น [15] Eric Raymond และ Bruce Perens ได้สร้าง Open Source Initiative (OSI) ในเดือนกุมภาพันธ์ปีพ.ศ. 2541 โดยทาง OSI หวังว่าคำว่า "ต้นทางเปิด", คำพูดที่เสนอโดย Christine Peterson[10][16] จาก Foresight Institute จะกำจัดความกำกวมไปได้

ถึงแม้ว่าซอฟต์แวร์เสรีและต้นทางเปิด จะเดิมอยู่นอกสายตาของบริษัทโดยส่วนใหม่ ปัจจุบันนี้บริษัทใหญ่ๆ อย่างไมโครซอฟต์, ไอบีเอ็ม, ออราเคิล และกูเกิลก็ได้ทำธุรกิจด้านซอฟต์แวร์ต้นทางเปิดกันอย่างแข็งขันมากขึ้น[17]

คำนิยาม

โลโก้ของ Open Source Initiative (OSI)

เอกสารชื่อนิยามต้นทางเปิดที่เขียนโดย Open Source Initiative วางข้อกำหนดคำนิยาม 10 ประการของซอฟต์แวร์ต้นทางเปิด[18][19]

Richard Stallman คัดค้านการใช้คำว่า "ซอฟต์แวร์ต้นทางเปิด"[20]

หมายเหตุ

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

  • ซอฟต์แวร์เสรีและต้นทางเปิด
  • การต้นทางเปิด
  • สัญญาอนุญาตต้นทางเปิด

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง