ฌูแซ ซารามากู

นักเขียนชาวโปรตุเกสและผู้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม พ.ศ. 2541

ฌูแซ ดึ โซซา ซารามากู (โปรตุเกส: José de Sousa Saramago; 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1922 – 18 มิถุนายน ค.ศ. 2010) เป็นนักเขียนนวนิยายและความเรียง นักเขียนบทละคร กวี นักแปล และนักหนังสือพิมพ์ชาวโปรตุเกส เขาได้รับรางวัลกามอยช์ (รางวัลนักเขียนภาษาโปรตุเกส) ประจำปี ค.ศ. 1995 และรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมประจำปี ค.ศ. 1998 นอกจากนี้ยังได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้ที่ทำให้งานร้อยแก้วภาษาโปรตุเกสเป็นที่รับรู้อย่างดีในระดับนานาชาติ[1]

ฌูแซ ซารามากู

GColSE
ซารามากูในเดือนมกราคม ค.ศ. 2008
ซารามากูในเดือนมกราคม ค.ศ. 2008
เกิดฌูแซ ดึ โซซา ซารามากู
16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1922(1922-11-16)
อาซีญากา ซังตาไร โปรตุเกส
เสียชีวิต18 มิถุนายน ค.ศ. 2010(2010-06-18) (87 ปี)
ติอัส ลันซาโรเต สเปน
อาชีพนักเขียน
สัญชาติโปรตุเกส
ช่วงเวลาค.ศ. 1947–2010
ผลงานที่สำคัญ
The Gospel According
to Jesus Christ
Baltasar and Blimunda
Blindness
All the Names
Death with Interruptions
The Double
The Year of the Death of Ricardo Reis
รางวัลสำคัญรางวัลกามอยช์ (ค.ศ. 1995)
รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม (ค.ศ. 1998)
คู่สมรสปิลาร์ เดล ริโอ (ค.ศ. 1988–2010, เขาเสียชีวิต)
อิลดา ไรช์ (ค.ศ. 1944–1970, หย่า)

ลายมือชื่อ
เว็บไซต์
www.josesaramago.org

นวนิยายของซารามากูมักมีเค้าโครงสถานการณ์อัศจรรย์ เขากล่าวถึงประเด็นจริงจังต่าง ๆ โดยมีอารมณ์ร่วมไปกับมนุษยภาวะและการแยกอยู่โดดเดี่ยวของชีวิตแบบเมืองในปัจจุบัน ตัวละครของเขาต้องต่อสู้กับความต้องการสร้างความสัมพันธ์กับตัวละครอื่น ๆ ทั้งในระดับบุคคลและในระดับสังคม แต่ในขณะเดียวกันก็ยังต้องการความเป็นปัจเจกและค้นหาความหมายและเกียรติภูมินอกโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจ แฮเริลด์ บลูม นักวิจารณ์วรรณกรรมชาวอเมริกัน พรรณนาซารามากูว่าเป็น "นักเขียนนวนิยายที่มีพรสวรรค์ที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกทุกวันนี้"[2] ใน ค.ศ. 2003 และกล่าวว่า เขาถือว่าซารามากูเป็น "ส่วนหนึ่งของบัญญัติตะวันตกอย่างถาวร" ใน ค.ศ. 2010[3] ส่วนเจมส์ วุด นักวิจารณ์วรรณกรรมชาวอังกฤษ ยกย่อง "น้ำเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ในบันเทิงคดีของเขา เพราะเขาเล่าเรื่องในนวนิยายราวกับว่าเขาเป็นคนที่ทั้งชาญฉลาดและไม่รู้เรื่องรู้ราว"[4]

หนังสือของซารามากูจำหน่ายได้มากกว่าสองล้านเล่มเฉพาะในโปรตุเกสประเทศเดียว และงานเขียนของเขายังได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ถึง 25 ภาษา[5][6] ในฐานะผู้สนับสนุนเรียกร้องลัทธิคอมมิวนิสต์แบบอิสรนิยม[7] ซารามากูได้วิพากษ์วิจารณ์สถาบันต่าง ๆ อย่างพระศาสนจักรคาทอลิก สหภาพยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นต้น ในฐานะผู้ถืออเทวนิยม เขาเสนอว่าความรักเป็นเครื่องมือสำหรับการพัฒนามนุษยภาวะ ใน ค.ศ. 1992 รัฐบาลโปรตุเกสสมัยนายกรัฐมนตรีอานีบัล กาวากู ซิลวา มีคำสั่งให้ถอนเรื่อง O Evangelho Segundo Jesus Cristo ("พระวรสารตามพระเยซูคริสต์") ออกจากการตัดสินรางวัลอาริสเทออน (Aristeion Prize) ในรอบสุดท้ายโดยอ้างว่างานชิ้นนี้มีเนื้อหาดูหมิ่นศาสนา ซารามากูรู้สึกท้อใจกับการตรวจพิจารณาทางการเมืองเช่นนี้[8] จึงลี้ภัยไปยังเกาะลันซาโรเตของสเปนและอาศัยอยู่ที่นั่นจนกระทั่งเสียชีวิตใน ค.ศ. 2010[9][10]

ซารามากูเป็นสมาชิกก่อตั้งของแนวหน้าแห่งชาติเพื่อการปกป้องวัฒนธรรม (Frente Nacional para a Defesa da Cultura) ในลิสบอนเมื่อ ค.ศ. 1992 และเป็นผู้ก่อตั้งสภานักเขียนยุโรป (European Writers’ Parliament) ร่วมกับออร์ฮัน พามุค

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง