ฒากาโฏปี

ฒากาโฏปี (เนปาล: ढाका टोपी, ออกเสียง [ɖʱaka ʈopi]) หรือ โฏปีเนปาล เป็นหมวกพื้นถิ่นซึ่งเป็นที่นิยมของประเทศเนปาล ส่วนหนึ่งของเครื่องแต่งกายประจำชาติเนปาล สวมใส่โดยผู้ชาย คำส่า ฒากาโฏปี มีความหมายตรงตัวว่า "เครื่องสวมศีรษะอันทำมาจากผ้าธากา" ผ้าธากาเป็นผ้าฝ้ายชั้นดีที่นำเข้ามาจากธากาซึ่งในปัจจุบันคือเมืองหลวงของประเทศบังกลาเทศ[1][2][3]

ฒากาโฏปีเป็นส่วนประกอบหนึ่งของชุดประจำชาติเนปาล และเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นชาติเนปาล[2][3][4]

ประวัติศาสตร์

หมวกนี้กลายมาเป็นที่นิยมในรัชสมัยของสมเด็จพระราชาธิบดีมเหนทระซึ่งครองราชย์ระหว่างปี 1955 ถึง 1972 และประกาศบังคับให้สวมฒากาโฏปีในภาพถ่ายสำหรับทำหนังสือเดินทางและเอกสารทางการทั้งหมด[5] ฒากาโฏปีนิยมนำมามอบให้กันในระหว่างเทศกาลดาเชนและติหาร์[6] เจ้าหน้าที่ของรัฐยังสวมใส่ฒากาโฏปีในฐานะเครื่องแต่งกายประจำชาติ[7] ในรัชสมัยของสมเด็จพระราชาธิบดีมเหนทระ มีจุดเปิดให้เช่าฒากาโฏปีใกล้กับสิงหดูร์บาร์ในกาฐมาณฑุ[5] สำหรับเจ้าหน้าที่รัฐในกาฐมาณฑุและชาวเนปาลที่เดินทางเข้าในพระราชวังของเนปาล จะต้องติดตรากูกรีบนหมวกนี้ด้วย[8]

ตำนานที่เป็นที่นิยมที่สุดว่าด้วยที่มาของการถักทอผ้าธากาเชื่อว่ามาจาก คเณศ มาน มหรรชน (Ganesh Man Maharjan) คนงานของโรงงานชัมทนี (Jamdani factory) ในทศวรรษ 1950 เขามีแรงบันดาลใจที่จะเรียนการทอผ้าธากาหลังเขาสังเกตเห็นทัมพร กุมารี (Dambar Kumari) ลูกสาวของศรี ตีน ชุงคะ บะหาดูร รานา (Shree Teen Junga Bahadur Rana) สวมเสื้อผ้าธากาที่นำกลับมาจากพนารัส หลังเดินทางกลับมาบ้านเกิด เขาและภรรยา ปัลปา (Palpa) ได้ตั้งโรงงานผลิตผ้าธากาขึ้นในปี 1957 โดยมีเพียงหลอดม้วนสายและจักรทำมือเพียงอย่างละชิ้น ที่เขาซื้อมาจากกาฐมาณฑุ เขาได้สอนคนท้องถิ่นทอผ้า และกิจการของเขาก็ได้เติบโตสืบเนื่องมา[5][9] หลังรัฐบาลของจักรวรรดิชาห์แสดงให้เห็นถึงความสนใจในผ้าธากาและโฏปี จึงเกิดอุตสาหกรรมทอผ้าธากาขึ้นมากมาย ภายในต้นทศวรรษ 1970 โรงงานของเขาซึ่งชื่อสวเทศี วัสตรกละ ปัลปาลี ฒากา อุธโยค (Swadeshi Vastrakala Palpali Dhaka Udhyog) ได้เติบโตขึ้นจนมีคนงานถึง 350 คน[5]

ความสำคัญ

แม้ในปัจจุบันผู้คนในเนปาลจะไม่ได้สวมใส่ฒากาโฏปีเป็นประจำเช่นในอดีต แต่หมวกนี้ยังคงสถานะส่วนหนึ่งของความเป็นชาติเนปาล[10] และยังคงสวมใส่เมื่อชาวเนปาลเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรม[8]

ผ้าธากามีส่วนสำคัญในพิธีกรรมต่าง ๆ ของชาวเนปาล เช่นงานมงคลสมรส และพิธีศพ สำหรับชนเผ่าต่าง ๆ ในหุบเขาของเนปาล[10] และอุปทานของฒากาโฏปีถือว่ามีมากเกินกว่าที่อุตสาหกรรมผลิตมือจะรับไหว[4] นักข่าวและผู้ชำนาญด้านวัฒนธรรม เตเชศวร บาบู โกนกาห์ (Tejeswar Babu Gongah) ระบุว่าโฏปี "ที่มีฐานกลม สูง 3-4 นิ้ว" บ่งบอกถือเทือกเขาหิมาลัย และว่ากันว่า "ฒากาโฏปีนี้เป็นสื่อที่แสดงถึงภูเขาที่มีน้ำแข็งละลายแล้ว น้ำแข็งที่ละลายทำให้พืชพันธุ์ต่าง ๆ และดอกไม้สีสันสดใสสามารถเติบโตได้ในภูมิภาคตอนลุ่มของภูเขา"[11]

ชาวเนปาลยังจัดให้มีวันโฏปีขึ้นในวันที่ 1 กรกฎาคม เพื่อช่วยคงให้ธรรมเนียมนี้คงอยู่ ในวันดังกล่าว ชาวเนปาล, ชาวมเธศ และชาวฐารู จะสวมผ้าโฒฏี ส่วนคนเนปาลจะสวมฒากาโฏปีและภัณเฑาเลโฏปี[12]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง