การดำน้ำ

(เปลี่ยนทางจาก ดำน้ำ)

การดำน้ำ (อังกฤษ: underwater diving) เป็นการลดตัวใต้ผิวน้ำเพื่อทำกิจกรรมใต้น้ำ มักเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทางทะเลเป็นหลัก หรืออาจเป็นภารกิจทางทหาร การแช่น้ำและการสัมผัสกับน้ำเย็นและความดันสูงมีผลทางสรีรวิทยาต่อนักดำน้ำซึ่งจะจำกัดความลึกและระยะเวลาในการดำน้ำโดยรวม การกลั้นหายใจเป็นข้อจำกัดสำคัญ และการหายใจที่ความดันสูงยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม การพัฒนาวิธีการทางด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีเพิ่มความลึกและระยะเวลาในการดำน้ำโดยรอบของมนุษย์และยังช่วยให้ทำงานใต้น้ำได้นานยิ่งขึ้น[1]

การดำน้ำโดยใช้ต่อท่ออากาศจากผิวน้ำ (surface-supplied)

สภาพแวดล้อมทำให้กิจกรรมดำน้ำมีความอันตรายหลากหลายอย่างและความเสี่ยงส่วนใหญ่จะถูกควบคุมโดยทักษะการดำน้ำที่เหมาะสม การฝึกอบรม ประเภทของอุปกรณ์ที่ใช้ และก๊าซหายใจที่ใช้ ที่ขึ้นอยู่กับความลึกและวัตถุประสงค์ในการดำน้ำ กิจกรรมดำน้ำมีความลึกสูงสุดประมาณ 40 เมตร (130 ฟุต)[2][3] สำหรับการดำน้ำลึกเชิงสันทนาการ 530 เมตร (1,740 ฟุต) สำหรับการดำน้ำเชิงพาณิชย์และ 610 เมตร (2,000 ฟุต) ที่สวมใส่ชุด atmospheric suit การดำน้ำยังถูกจำกัด ให้อยู่ในสภาพที่ไม่อันตรายมากเกินไป แม้ว่าระดับความเสี่ยงอาจผันผวน [4][5][6]

ประเภทของการดำน้ำ

ประเภทของการดำน้ำสามารถแบ่งได้เป็นหลายแบบตามอุปกรณ์ดำน้ำที่ใช้

ฟรีไดวิงกับโลมา

ฟรีไดวิง (freediving)

การกลั้นหายใจขณะดำน้ำหรือว่ายน้ำ นับเป็นทักษะที่มีประโยชน์ในยามฉุกเฉินและเป็นส่วนสำคัญของกีฬาทางน้ำ การฝึกอบรมด้านความปลอดภัยของกองทัพเรือ และยังช่วยให้สนุกกับกิจกรรมทางน้ำได้อย่างเต็มที่[7] การดำน้ำลึกใต้น้ำโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจสามารถแบ่งเป็น 3 แบบ การว่ายน้ำใต้น้ำ สนอร์เกอลิง (snorkeling) และฟรีไดวิง ทั้งหมดมีความคล้ายกันมาก ทั้งนี้ยังมีการแข่งขันกีฬาใต้น้ำหลายชนิดที่แข่งโดยปราศจากอุปกรณ์ช่วยหายใจ [8][9][10][11][12]

ฟรีไดวิง เป็นการดำน้ำอิสระที่ไม้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจแต่อาศัยความสามารถของนักดำน้ำในการกลั้นลมหายใจไว้จนกว่าจะขึ้นสู่ผิวน้ำใหม่ เทคนิคนี้มีตั้งแต่การดำน้ำแบบง่าย ๆ ไปจนถึงการดำน้ำแบบแข่งขัน Apnea ตีนกบและหน้ากากดำน้ำมักใช้ในการดำน้ำฟรีไดวิ่ง เพื่อปรับปรุงวิสัยทัศน์และการเคลื่อนไหวใต้น้ำ ท่อหายใจ (snorkel) ช่วยให้นักดำน้ำสามารถหายใจบนผิวน้ำในขณะที่ใบหน้าแช่อยู่ในน้ำ สนอร์เกอลิง จะว่ายอยู่บนผิวน้ำบนพื้นผิวที่ไม่มีเจตนาในการลงไปใต้น้ำเป็นกีฬาทางน้ำและกิจกรรมสันทนาการที่เป็นที่นิยม [7][13]

การดำน้ำสกูบา

การดำน้ำสกูบาเป็นการดำน้ำลึกที่นักดำน้ำใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจติดกับตัวลงไปใต้น้ำ ทำให้สามารถดำน้ำได้โดยอิสระ และเคลื่อนที่ไปมาใต้น้ำได้ โดยไม่ติดกับสายอากาศที่ต่อมาจากเครื่องอัดอากาศบนผิวน้ำ (surface-supplied diving equipment หรือ SSDE) [14]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง