ตัวรับความรู้สึก

ในระบบรับความรู้สึก (sensory system) ตัวรับความรู้สึก หรือ รีเซ็ปเตอร์รับความรู้สึก หรือ ปลายประสาทรับความรู้สึก[1] (อังกฤษ: sensory receptor) เป็นส่วนปลายของเส้นประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve) ที่ตอบสนองต่อตัวกระตุ้นในสิ่งแวดล้อมทั้งภายในภายนอกของสิ่งมีชีวิต และเมื่อตอบสนองต่อตัวกระตุ้น ตัวรับความรู้สึกก็จะทำการถ่ายโอนความรู้สึกที่รับรู้ โดยการสร้าง graded potential หรือศักยะงาน (action potential) ในเซลล์เดียวกันหรือเซลล์ที่อยู่ใกล้ๆ กัน

โครงสร้างของระบบรับความรู้สึกในมนุษย์ (ส่วนบนแสดงตัวรับความรู้สึกประเภทต่างๆ, ส่วนกลางแสดงปมประสาทเกี่ยวข้องกับระบบรับความรู้สึกที่สื่อสัญญาณไปยังระบบประสาทกลาง, และส่วนล่างแสดงระบบประสาทกลาง)

กิจหน้าที่

ตัวรับความรู้สึกที่เกี่ยวกับการลิ้มรสและการได้กลิ่น ประกอบด้วยโมเลกุลหน่วยรับความรู้สึกที่มีการเข้าไปยึดกับสารเคมีเฉพาะอย่าง ตัวอย่างเช่น หน่วยรับกลิ่นในเซลล์ประสาทตัวรับกลิ่น เริ่มทำงานด้วยการมีปฏิกิริยากับโครงสร้างทางโมเลกุลของโมเลกุลมีกลิ่น และโดยนัยเดียวกัน หน่วยรับรสในปุ่มรับรส ทำปฏิกิริยากับสารเคมีในอาหารที่ก่อให้เกิดศักยะงาน

หน่วยรับความรู้สึกอย่างอื่นๆ เช่นหน่วยรับแรงกลและหน่วยรับแสง ทำการตอบสนองกับตัวกระตุ้นทางกายภาพ ยกตัวอย่างเช่น เซลล์รับแสงในเรตินามีโปรตีนที่มีกิจเฉพาะเช่นโรด็อปซิน (rhodopsin) ที่ทำการถ่ายโอนแรงงานทางกายภาพของแสงไปเป็นสัญญาณไฟฟ้า และตัวรับแรงกล (mechanoreceptor) บางอย่างยิงศักยะงานเมื่อเยื่อหุ้มเซลล์ของตนยืดออก

กิจการงานของตัวรับความรู้สึกเป็นองค์ประกอบแรกสุดของระบบรับความรู้สึก (sensory system) เป็นการตอบสนองต่อลักษณะเฉพาะอย่างของตัวกระตุ้น ซึ่งกำหนดโดยการกระตุ้นที่เหมาะสม (adequate stimulus) ของตัวรับความรู้สึก โดยเริ่มกระบวนการถ่ายโอนความรู้สึก ที่อาจเกิดขึ้นโดยการเปลี่ยนสภาพของตัวรับความรู้สีก(ดูรูปของสภาวะตามสันนิษฐานทั่วไปที่ [1] โดยมีการอธิบายภาษาอังกฤษที่ [2])

การจำแนกประเภท

โดยการกระตุ้นที่เหมาะสม

การกระตุ้นที่เหมาะสม (adequate stimulus) ของตัวรับความรู้สึก เป็นลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของตัวกระตุ้น ที่ตัวรับความรู้สึกมีตัวช่วยที่เหมาะสมในการถ่ายโอนลักษณะเฉพาะอย่างนั้น (เช่นตัวรับแสงมีโรด็อปซินที่สามารถทำการถ่ายโอนแสงไปเป็นสัญญาณไฟฟ้า) การกระตุ้นที่เหมาะสมใช้แยกประเภทตัวรับความรู้สึกได้ คือ

โดยตำแหน่ง

ตัวรับรู้ความรู้สึกอาจจะจำแนกได้โดยตำแหน่งที่อยู่ คือ

โดยโครงสร้างสัณฐาน

ตัวรับความรู้สึกของร่างกายที่ใกล้กับผิวหนัง สามารถจำแนกได้เป็นสองกลุ่มตามโครงสร้างสัณฐาน คือ

โดยอัตราการปรับตัว

  • Encapsulated receptor (ตัวรับความรู้สึกมีถุงหุ้ม) ประกอบด้วยตัวรับความรู้สึกที่ผิวหนังประเภทที่เหลือทั้งหมด การมีแคปซูลหรือถุงหุ้มนั้น สามารถยังตัวรับความรู้สึกให้ทำหน้าที่เฉพาะกิจ (ดูรูปด้านบน)
  • tonic receptor เป็นตัวรับความรู้สึกที่ปรับตัวอย่างช้า ๆ ไปตามตัวกระตุ้น[4] และจะสร้างศักยะงานต่อไปเรื่อย ๆ ตราบเท่าที่ตัวกระตุ้นยังดำรงอยู่[5] ดังนั้น มันจึงสามารถส่งข้อมูลเกี่ยวกับช่วงระยะเวลาของการกระตุ้น นอกจากนั้นแล้ว tonic receptor บางประเภทมีการทำงานอยู่ตลอดเวลา เพื่อแสดงระดับตัวกระตุ้นพื้นหลัง ตัวอย่างของ tonic receptor แบบนี้ก็คือ โนซิเซ็ปเตอร์, joint capsule และ muscle spindle[6]

เส้นประสาท

ตัวรับความรู้สึกต่างๆ กัน มีใยประสาทต่างๆ กัน เช่นกล้ามเนื้อและตัวรับความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกัน มีใยประสาทแบบ 1 และแบบ 2 ในขณะที่ตัวรับความรู้สึกที่ผิวหนังมีใยประสาทแบบ Aβ, Aδ และ C

ดู

หมายเหตุและอ้างอิง

ข้อมูลอื่นๆ

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง