ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียง

ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียง (อังกฤษ: proximity sensor) คือ ตัวรับรู้ (อังกฤษ: sensor) ชนิดหนึ่งที่สามารถตรวจหาการปรากฏตัวของวัตถุใกล้เคียงโดยปราศจากการสัมผัสทางกาย

ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียงด้วยรังสีใต้แดง(อินฟราเรด)

ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียงมักจะปล่อยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือลำรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่นรังสีอินฟราเรด) และมองหาการเปลี่ยนแปลงของสนามหรือสัญญาณที่ส่งกลับมา วัตถุที่กำลังตรวจหามักจะถูกเรียกว่าเป้าหมาย เป้าหมายต่างกันก็ใช้ตัวรับรู้ต่างกัน เช่นถ้าเป้าหมายเป็นพลาสติก ตัวรับรู้ก็จะเป็นแบบเก็บประจุ หรือ photoelectric ถ้าเป้าหมายเป็นโลหะ ตัวรับรู้ก็จะเป็นแบบเหนี่ยวนำ เป็นต้น

ระยะห่างสูงสุดที่ตัวรับรู้นี้จะสามารถตรวจพบได้จะถูกกำหนดให้เป็น "ระยะกำหนด" (อังกฤษ: nominal range) ตัวรับรู้บางตัวสามารถปรับระยะกำหนดได้หรือวิธีการรายงานระยะห่างที่วัดได้อีกด้วย

ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียงอาจมีความน่าเชื่อถือที่สูงและอายุการทำงานยืนยาวเพราะว่ามันไม่มีชิ้นส่วนกลไกที่เคลื่อนไหวและไม่มีการสัมผัสทางกายระหว่างตัวรับรู้และเป้าหมาย

ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียงถูกใช้ทั่วไปบนโทรศัพท์อัจฉริยะเพื่อตรวจหา (และกระโดดข้าม) การแตะหน้าจอโดยไม่ได้ตั้งใจขณะกำลังถือโทรสัพท์ติดกับหูเวลาพูดสาย[1] พวกมันยังถูกใช้อีกด้วยในการเฝ้าดูการสั่นของเครื่องยนต์เพื่อวัดการแปรเปลี่ยนของระยะทางระหว่างเพลากับแบริ่งที่รองรับมันอยู่ หน้าที่จะพบเห็นทั่วไปในเครื่องกังหันไอน้ำขนาดใหญ่ เครื่องอัดความดันด้วยก๊าซ และมอเตอร์ที่ใช้แบริ่งแบบปลอกแขนเสื้อ

International Electrotechnical Commission (IEC) 60947-5-2 เป็นผู้กำหนดรายละเอียดด้านเทคนิคของตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียง

ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียงที่ถูกปรับให้ทำงานในระยะที่ใกล้มากจะถูกใช้ใน สวิชต์แบบสัมผัส (อังกฤษ: touch switch)

ชนิดของตัวรับรู้

  • เก็บประจุ
  • Capacitive displacement sensor
  • Doppler effect (ตัวรับรู้ทำงานตามผลกระทบ)
  • กระแส-เอ็ดดี้
  • เหนี่ยวนำ
  • Laser rangefinder
  • แม่เหล็ก, รวมทั้ง Magnetic proximity fuse
  • Passive optical (เช่น อุปกรณ์ถ่ายเทประจุ)
  • Passive thermal อินฟราเรด
  • Photocell (สะท้อน)
  • เรดาร์
  • Reflection of ionising radiation
  • โซนาร์ (ทั่วไปแบบแอคทีฟหรือพาสซีฟ)
  • Ultrasonic sensor (โซนาร์ที่วิ่งในอากาศ)
  • Fiber optics sensor
  • Hall effect sensor

หลักการทำงานของเซนเซอร์แบบเหนี่ยวนำ

บริเวณส่วนหัวของเซนเซอร์จะมีสนามแม่เหล็กซึ่งมีความถี่สูง โดยได้รับสัญญาณมาจากวงจรกำเนิดความถี่ในกรณีที่มีวัตถุหรือชิ้นงานที่เป็นโลหะเข้ามาอยู่ในบริเวณที่สนามแม่เหล็กสามารถส่งไปถึง จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าความเหนี่ยวนำ จากเหตุการที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการหน่วงออสซิเลท (Oscilate) ลดลงไปหรือบางทีอาจถึงจุดที่หยุดการออสซิลเลท และเมื่อนำวัตถุนั้นออกจากบริเวณตรวจจับ วงจรกำเนิดคลื่นความถี่ก็เริ่มต้นการออสซิเลทใหม่อีกครั้งหนึ่ง สภาวะดังกล่าวจะถูกแยกแยะได้ด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายในหลังจากนั้นก็จะส่งผลไปยัง Out Put ว่าทำงานหรือไม่ทำงาน โดยทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของเอาต์พุตว่าเป็นแบบใด เพื่อเป็นการลดจินตนาการในการทำความเข้าใจการทำงานของเซนเซอร์ชนิดนี้[2]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง