ทวิบถเท็จ

ทวิบถเท็จ (อังกฤษ: false dilemma, false dichotomy) เป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัยซึ่งเกิดจากข้อตั้งที่จำกัดทางเลือกอย่างผิด ๆ โดยเหตุผลไม่ได้วิบัติเพราะการอนุมานที่ผิด ๆ แต่เกิดจากข้อตั้งที่ผิดอยู่ในรูปแบบเป็นการเลือกเชิงตรรกศาสตร์ว่า ทางเลือกทางใดทางหนึ่งที่ระบุจะต้องเป็นจริงเป็นปัญหาเพราะกันทางเลือกอื่น ๆ ที่อาจเป็นไปได้เช่น เมื่อกล่าวว่า "ก. พูดต่อต้านระบบทุนนิยม ดังนั้น เขาต้องเป็นคอมมิวนิสต์"ทางเลือกที่ถูกกันออกก็คือ ก. อาจไม่ใช่คอมมิวนิสต์ แต่ก็ไม่ใช่นักทุนนิยมด้วย

ดิเล็มมาอย่างหนึ่งที่ปรากฏในสหรัฐช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือจะเป็นผู้มีปัญญาและวีรบุรุษ หรือจะเป็นคนรวยและมีอำนาจ (โปสเตอร์ปี 1901 หรือหลังจากนั้น)

ทวิบถเท็จมักมีรูปแบบเป็นข้อความตรงข้ามกันสองอย่าง โดยทั้งสองอาจเป็นเท็จ รูปแบบการอนุมานหลายอย่างสัมพันธ์กับทวิบถเท็จ เช่น constructive dilemma, destructive dilemma และ disjunctive syllogismปกติแล้วทวิบถเท็จจะใช้เมื่อให้เหตุผลแบบนิรนัย (deductive argument)แต่ก็พบในรูปแบบ defeasible argument ด้วยที่เรามักสร้างทวิบถเท็จขึ้นอาจเป็นเพราะว่า ต้องการทำเหตุการณ์ให้เป็นเรื่องง่าย ๆ โดยใช้วลีที่แบ่งความจริงออกเป็นสองพวก ซึ่งอาจมีอยู่ในโครงสร้างภาษาบางอย่างแล้วด้วยซ้ำ (เช่น สำนวนอังกฤษว่า either...or)หรืออาจเป็นเพราะต้องการความชัดเจนแล้วปฏิเสธความคลุมเครือที่มีอยู่โดยธรรมชาติในคำพูดรูปแบบต่าง ๆ

นิยาม

ทวิบถเท็จเป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัยชนิดหนึ่งที่อาศัยข้อตั้งที่จำกัดทางเลือกอย่างผิด ๆ[1][2][3]ในรูปแบบที่ง่ายสุด จะจำกัดเหลือทางเลือกเพียงสองทางเท่านั้นเหตุผลวิบัติก็คือข้อโต้แย้ง/อาร์กิวเมนต์ เป็นข้อตั้งชุดหนึ่งบวกกับข้อสรุปที่ไม่ถูกต้องและ/หรือไม่สมเหตุผล โดยปกติจะแบ่งประเภทเป็นรูปนัย (formal) และอรูปนัย (informal)เหตุผลวิบัติรูปนัยไม่สมเหตุผลเพราะมีโครงสร้างที่ไม่ดี เทียบกับเหตุผลวิบัติอรูปนัยที่ไม่สมเหตุผลเพราะเนื้อหาไม่ดี[3][4][1][5]เนื้อหาที่เป็นปัญหาของทวิบถเท็จมีรูปแบบเป็นการเลือกเชิงตรรกศาสตร์ (disjunctive claim) ซึ่งอ้างว่า ทางเลือกหนึ่งในบรรดาทางเลือกที่ยกขึ้นมาต้องเป็นจริงซึ่งเป็นปัญหาเพราะทำเรื่องให้ง่ายเกินไปโดยกันทางเลือกที่เป็นไปได้อย่างอื่นออก[1]

รูปแบบ

เหตุและการหลีกเลี่ยง

เพื่อให้เข้าใจเหตุผลวิบัติบางชนิดได้ก็จะต้องไม่มองแค่แง่มุมทางตรรกศาสตร์ แต่ต้องเข้าใจถึงจิตวิทยาเชิงประสบการณ์ซึ่งอาจอธิบายได้ว่าทำไมมนุษย์จึงมักพลาดเกิดเหตุผลวิบัติต่าง ๆ[6][1]ในทวิบถเท็จ แนวโน้มที่มนุษย์จะจัดเหตุการณ์ให้ง่ายโดยสร้างทางเลือกเพียงแค่สองทางอาจมีบทบาทสำคัญภาษาต่าง ๆ มักมีคำเกี่ยวกับคู่ที่เป็นเรื่องตรงข้ามกันจำนวนมาก (เช่น ขาว ดำ เป็นต้น)[5]การทำเรื่องให้ง่ายบางครั้งจำเป็นในการตัดสินใจเมื่อมีเวลาไม่พอเพื่อให้ได้ข้อมูลหรือเพื่อพิจารณาข้อมูลให้ถี่ถ้วน

เพื่อหลีกเลี่ยงทวิบถเท็จ บุคคลต้องรู้ว่ามีทางเลือกอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้การคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์อาจช่วยให้เห็นว่า การมีทางเลือกแค่สองทางไม่เป็นจริงแล้วหาทางเลือกอื่น ๆ ได้[1]

ตัวอย่าง

ทางเลือกเทียม

การใช้ทางเลือกเทียมเป็นเหตุผลมักเป็นการตั้งใจกำจัดทางเลือกในระหว่าง ๆ ทางเลือกส่วนสุดทั้งสองข้างเช่น การอ้างเหตุผลไม่ออกกฎหมายบังคับมลภาวะทางเสียงมักเป็นทางเลือกเทียมเช่น อาจกล่าวได้ว่า เสียงดังในกรุงเทพไม่ควรเข้าไปควบคุม เพราะถ้ามีกฎหมายควบคุม ก็จะทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ต้องปิดกิจการเหตุผลนี้สมมุติว่า ธุรกิจกลางคืนต่าง ๆ อาจจะต้องปิดตั้งแต่เช้าเพื่อไม่ให้มีเสียงดังหลังเที่ยงคืนโดยไม่ได้จำแนกว่า กฎหมายสามารถบังคับให้ธุรกิจกลางคืนติดตั้งวัสดุป้องกันเสียงเพื่อไม่ให้เสียงดังกระจายไปยังเพื่อนบ้านเรือนเคียงได้[7]

ความคิดขาวดำ

ในสาขาจิตวิทยา มีปรากฏการณ์หนึ่งคล้าย ๆ ทวิบถเท็จคือ ความคิดขาวดำมีคนที่คิดในลักษณะนี้เป็นปกติ เช่น จัดคนอื่นให้เป็นคนดีหรือคนเลวโดยสิ้นเชิง[8]

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร