ธานินทร์ กรัยวิเชียร

อดีตนายกรัฐมนตรีไทย

ศาสตราจารย์[1] ธานินทร์ กรัยวิเชียร ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ภ.ป.ร. ๒ (เกิด 5 เมษายน พ.ศ. 2470) เป็นนักกฎหมายและนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 14 อดีตองคมนตรีและผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานองคมนตรี อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานองคมนตรี

ธานินทร์ กรัยวิเชียร
ธานินทร์ ใน พ.ศ. 2554
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานองคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(0 ปี 49 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าเปรม ติณสูลานนท์
(ประธานองคมนตรี)
ถัดไปเปรม ติณสูลานนท์
(ประธานองคมนตรี)
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 14
ดำรงตำแหน่ง
8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520
(1 ปี 12 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รองบุญชัย บำรุงพงศ์
อัมพร จันทรวิจิตร
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ถัดไปเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 เมษายน พ.ศ. 2470 (97 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เชื้อชาติไทย
พรรคการเมืองอิสระ
คู่สมรสคาเรน แอนเดอร์เซน (เสียชีวิต)
บุตร
  • รูบีนา
  • มหินทร์
  • เขมทัต
  • นิติกร
  • รีเบ้กก้า
บุพการี
  • แห กรัยวิเชียร (บิดา)
  • ผะอบ กรัยวิเชียร (มารดา)
ศิษย์เก่า
วิชาชีพ
ลายมือชื่อ

ประวัติ

ธานินทร์ กรัยวิเชียร เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2470 ภูมิลำเนา ณ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของแหและผะอบ กรัยวิเชียร สมรสกับคุณหญิงคาเรน กรัยวิเชียร (สกุลเดิม แอนเดอเซ่น) มีบุตรด้วยกัน 5 คน ได้แก่

  1. รูบีนา สุวรรณพงษ์
  2. มหินทร์ กรัยวิเชียร
  3. เขมทัต กรัยวิเชียร
  4. นิติกร กรัยวิเชียร
  5. ทันตแพทย์หญิงรีเบ้กก้า กรัยวิเชียร

การศึกษา

ธานินทร์ กรัยวิเชียร จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่น พ.ศ.2479 ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 ได้ไปศึกษาวิชากฎหมายต่อที่ ณ วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร และ พ.ศ. 2496 เนติบัณฑิตอังกฤษจาก สำนักอบรมศึกษากฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา สำนักเกรย์สอินน์ ประเทศอังกฤษ

การทำงาน

บทบาททางการเมือง

ธานินทร์ กรัยวิเชียร (ซ้าย) ถ่ายภาพกับนายชาร์ลส์ ไวท์เฮาส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย เมื่อปี 2519

ธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของไทย[4] ภายหลังจากที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินโดยการนำของ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 สาเหตุที่เขาได้เป็นนายกรัฐมนตรีเนื่องจาก ขณะที่พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ เข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ทรงพระราชทานคำแนะนำแก่พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ให้ปรึกษาธานินทร์ กรัยวิเชียร [5] ผู้พิพากษาศาลฎีกา ณ ขณะนั้น

ในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน รัฐบาลของธานินทร์ กรัยวิเชียร มีนโยบายโดดเด่นคือ การต่อต้านภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่กำลังมีอิทธิพลอย่างสูงในขณะนั้น นโยบายปราบปรามยาเสพติด โดยจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) อีกทั้งนโยบายด้านการปราบปรามคอรัปชั่น รัฐบาลของธานินทร์ กรัยวิเชียร นับว่าเป็นรัฐบาลเผด็จการพลเรือนที่ใช้อำนาจจัดการประชาชนในข้อหาคอมมิวนิสต์ จนมีประชาชนส่วนหนึ่งหนีข้อหานี้เข้าป่าไปเป็นจำนวนมาก มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ควบคุมเสรีภาพสื่อมวลชน สั่งปิดหนังสือพิมพ์ ซึ่งในระยะเวลา 1 ปี มีคำสั่งปิดหนังสือพิมพ์ถึง 22 ครั้ง[6] ซึ่งผู้สั่งปิดได้แก่ สมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอาศัยอำนาจคำสั่งปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 เป็นยุคมืดของวงการสื่อสารมวลชนและนักหนังสือพิมพ์[7]

อย่างไรก็ตามเขาได้รับการยกย่องว่าเป็นนายกรัฐมนตรีที่ซื่อสัตย์สุจริตที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย ภายหลังจากที่คณะปฏิวัติได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของธานินทร์แล้ว พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งธานินทร์ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี และได้ดำรงตำแหน่งนี้มาจนสิ้นรัชกาล โดยก่อนหน้านั้นเขาได้รับแต่งตั้งเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516[8]

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคต และพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จะปฏิบัติหน้าที่องคมนตรีในคราวเดียวกันไม่ได้ ดังนั้น คณะองคมนตรีจึงได้มีมติเลือกธานินทร์ ซึ่งเป็นผู้มีอาวุโสสูงสุด เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานองคมนตรี[9][10]

รางวัลและเกียรติยศ

ศาสตราจารย์ ธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดนเป็น ศาสตราจารย์ นายกองใหญ่ ธานินทร์ กรัยวิเชียร เมื่อ พ.ศ. 2520[11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ศาสตราจารย์ ธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[12] ดังนี้

อ้างอิง

ก่อนหน้าธานินทร์ กรัยวิเชียรถัดไป
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
นายกรัฐมนตรีไทย (ครม. 39)
(8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520)
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง