นิคม ไวยรัชพานิช

รองประธานรัฐสภาไทยและประธานวุฒิสภาไทย

นิคม ไวยรัชพานิช ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ชัชชาติ สิทธิพันธุ์)[1] อดีตประธานวุฒิสภา และเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดฉะเชิงเทรา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2551

นิคม ไวยรัชพานิช
รองประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานวุฒิสภาไทย
ดำรงตำแหน่ง
14 สิงหาคม พ.ศ. 2555 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2557
(1 ปี 218 วัน)
ก่อนหน้าพลเอกธีรเดช มีเพียร
ถัดไปพรเพชร วิชิตชลชัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 ตุลาคม พ.ศ. 2490 (76 ปี)
อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพรรคไทยรักษาชาติ (2561-2562)
คู่สมรสนพมาศ ไวยรัชพานิช

ประวัติ

นายนิคม ไวยรัชพานิช เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2490 ที่อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาสุขาภิบาล) จากมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ศาสตร์) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ M.PA. Public Affairs จากมหาวิทยาลัย San Jose State University สหรัฐอเมริกา

การทำงาน

นายนิคม เคยรับราชการในสังกัดกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 เคยดำรงตำแหน่งสูงสุดคือ รองปลัดกรุงเทพมหานคร (ระดับ 10) ต่อมาหลังเกษียณอายุได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดฉะเชิงเทรา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2551 และได้รับเลือกจากวุฒิสภา ให้ดำรงตำแหน่งรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2551[2]

จากนั้นในปี พ.ศ. 2555 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา โดยเอาชนะนายพิเชต สุนทรพิพิธ ด้วยคะแนน 77 ต่อ 69[3] นายนิคมได้ใช้อำนาจในฐานะประธานวุฒิสภาทุกวิถีทาง ในการผลักดันการแก้รัฐธรรมนูญให้ ส.ว. ทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้รัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของส.ว. ไม่เป็นไปตามเจตจำนงค์ของรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ชี้มูลความผิดกรณีจงใจใช้อำนาจหน้าที่กระทำผิดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ทำให้เขาต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557[4]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 18 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง[5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2565 ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

ก่อนหน้านิคม ไวยรัชพานิชถัดไป
ธีรเดช มีเพียร
รองประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานวุฒิสภาไทย

(14 สิงหาคม 2555 - 20 มีนาคม พ.ศ. 2557)
พรเพชร วิชิตชลชัย
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง