การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปครั้งที่ 26 กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 เพื่อเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวน 500 คน นับเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562

← พ.ศ. 2557 (โมฆะ)24 มีนาคม พ.ศ. 2562พ.ศ. 2566 →

ทั้งหมด 500 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย
ต้องการ 251 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ลงทะเบียน51,239,638
ผู้ใช้สิทธิ74.69% (ลดลง 0.34 จุด)
 First partySecond partyThird party
 
Sudarat Keyuraphan in 2019.png
Prayuth 2018 cropped.jpg
Thanathorn official 2019.jpg
ผู้นำสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ประยุทธ์ จันทร์โอชา (อิสระ)ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
พรรคเพื่อไทยพลังประชารัฐอนาคตใหม่
ผู้นำตั้งแต่31 มกราคม 25628 กุมภาพันธ์ 256227 พฤษภาคม 2561
เขตของผู้นำบัญชีรายชื่อ (#2)ไม่ใช่สมาชิกพรรคบัญชีรายชื่อ (#1)
เลือกตั้งล่าสุด265 ที่นั่ง, 48.41%
ที่นั่งที่ชนะ13611681
ที่นั่งเปลี่ยนลดลง129พรรคใหม่พรรคใหม่
คะแนนเสียง7,881,0068,441,2746,330,617
%22.16%23.74%17.80%
%เปลี่ยนลดลง 26.25 จุดพรรคใหม่พรรคใหม่

 Fourth partyFifth partySixth party
 
Abhisit Vejjajiva 2010.jpg
อนุทิน ชาญวีรกูล 2019 ครอบตัด.jpg
เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ทางการ.jpg
ผู้นำอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะอนุทิน ชาญวีรกูลเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส
พรรคประชาธิปัตย์ภูมิใจไทยเสรีรวมไทย
ผู้นำตั้งแต่6 มีนาคม 254814 ตุลาคม 255524 ตุลาคม 2561
เขตของผู้นำบัญชีรายชื่อ (#1)บัญชีรายชื่อ (#1)บัญชีรายชื่อ (#1)
เลือกตั้งล่าสุด159 ที่นั่ง, 35.15%34 ที่นั่ง, 3.94%
ที่นั่งที่ชนะ535110
ที่นั่งเปลี่ยนลดลง106เพิ่มขึ้น17พรรคใหม่
คะแนนเสียง3,959,3583,734,459824,284
%11.13%10.50%2.32%
%เปลี่ยนลดลง 24.02 จุดเพิ่มขึ้น 6.56 จุดพรรคใหม่

ผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ (คลิกเพื่อดูภาพขยายและคำอธิบายสีของพรรคการเมือง)

องค์ประกอบของสภาผู้แทนราษฎร หลังจากการเลือกตั้ง

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

ประยุทธ์ จันทร์โอชา
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คณะรัฐประหาร)

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

ประยุทธ์ จันทร์โอชา
อิสระ

ปฏิทินการเลือกตั้ง
23 ม.ค.ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งทั่วไป
28 ม.ค. - 19 ก.พ.วันลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า
4 - 8 ก.พ.วันรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
17 มี.ค.วันเลือกตั้งล่วงหน้า
24 มี.ค.วันเลือกตั้งทั่วไป
9 พ.ค.วันประกาศรับรองผลการเลือกตั้งร้อยละ 95

การเลือกตั้งครั้งนี้มีการเอื้อประโยชน์แก่พรรคพลังประชารัฐตั้งแต่การออกแบบระบบการเลือกตั้ง[1] การรณรงค์หาเสียง และการตัดสินของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบบการเลือกตั้งเป็นแบบจัดสรรปันส่วนผสม โดย ส.ส. 500 คนมาจากระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด 350 เขต เขตละคน และอีก 150 คนมาจากที่นั่งปรับระดับ (leveling seat) ผู้ที่มิใช่ ส.ส. สามารถได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีได้ หลายพรรคสนับสนุนพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งต่อ จึงมีการแบ่งพรรคการเมืองออกเป็นสามฝ่ายหลัก คือ ฝ่ายสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ ฝ่ายคัดค้าน และอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ประกาศตัวชัดเจน บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในช่วงเลือกตั้งก็เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้น่าจดจำด้วย[a]

พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเคยเป็นพรรคการเมืองใหญ่ที่สุดสองพรรคในสภาผู้แทนราษฎรเสียที่นั่งมากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้ ส่วนพรรคพลังประชารัฐและพรรคอนาคตใหม่ซึ่งเป็นพรรคเพิ่งตั้งได้ที่นั่งเพิ่มมากที่สุด คืนวันเลือกตั้ง หลังการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการแล้วเสร็จร้อยละ 93 พบว่าพรรคเพื่อไทยได้ ส.ส. แบบแบ่งเขตมากที่สุด วันที่ 25 มีนาคม 2562 มีการประกาศผลผู้ชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตอย่างไม่เป็นทางการทั้ง 350 เขต หลังจากการสั่งนับคะแนนใหม่และเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งจำนวนหนึ่ง วันที่ 7 พฤษภาคม กกต. รับรองผลการเลือกตั้ง 349 เขต วันที่ 8 พฤษภาคม ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเปิดช่องให้ใช้สูตรคำนวณ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อให้พรรคการเมืองที่ได้ที่นั่งน้อยกว่า ส.ส. พึงมี ต่อมาวันที่ 26 พฤษภาคม กกต. สรุปรายชื่อ ส.ส. ทั้ง 500 คน ทำให้มีพรรคการเมืองรวม 26 พรรคในสภาล่างนับว่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์ บทบาทของ กกต. ถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวางและมีความพยายามเข้าชื่อถอดถอน กกต.[b]

วันที่ 5 มิถุนายน รัฐสภามีมติเลือกพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย ในสภาผู้แทนราษฎรประยุทธ์ได้รับคะแนนเสียงจาก ส.ส. 19 พรรค นับเป็นรัฐบาลผสมที่มีจำนวนพรรคมากที่สุดในประวัติศาสตร์ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีในวันที่ 9 มิถุนายนและ 10 กรกฎาคมตามลำดับ

เบื้องหลัง

รัฐประหารปี 2557 และรัฐบาลประยุทธ์ 1

ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ในห้วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยุบสภาผู้แทนราษฎรและมีกำหนดจัดการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในเดือนมีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเพราะการเลือกตั้งไม่เกิดในวันเดียวกันทั่วประเทศ[2] หลังข้อตกลงระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีการกำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 20 กรกฎาคม[2] ต่อมา เกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น เป็นหัวหน้าคณะ และมีประกาศจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปหลังดำเนินการปฏิรูปและร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ไม่นานหลังรัฐประหาร พลเอกประยุทธ์กล่าวว่าการเลือกตั้งน่าจะจัด "ภายในสิ้นปี 2558" ทว่า เมื่อสิ้นปี 2557 เจ้าหน้าที่ของรัฐหลายคนกล่าวต่อสาธารณะว่า จะไม่จัดการเลือกตั้งจนถึงประมาณกลางปี 2559[3] ในเดือนพฤษภาคม 2558 รองนายกรัฐมนตรี วิษณุ เครืองาม กล่าวว่า บัดนี้จะจัดการเลือกตั้ง "ประมาณเดือนสิงหาคมหรือในเดือนกันยายน" 2559 หลังรัฐบาลประกาศเจตนาว่าจะจัดการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคาดว่าจะจัดในช่วงต้นปี 2559[4] ในเดือนมิถุนายน 2558 พลเอกประยุทธ์กล่าวว่า เขาเต็มใจรั้งตำแหน่งอีกสองปีหาก "ประชาชนต้องการ" หลังสภาปฏิรูปแห่งชาติผลักดันเพื่อจัดการลงคะแนนว่าการปฏิรูปของรัฐบาลควรเสร็จสิ้นก่อนจัดการเลือกตั้งหรือไม่ หมายความว่า การเลือกตั้งทั่วไปอาจไม่จัดจนกว่าต้นปี 2561 แต่ไม่กี่วันต่อมา เขาวางตัวห่างจากการริเริ่มของสภาปฏิรูปแห่งชาติหลังเผชิญปฏิกิริยาสะท้อนสำหรับความเห็นของเขา[5] ทว่า การนี้เปิดประตูไว้ให้ "การสำเร็จการปฏิรูป" ภายใต้รัฐบาลใหม่ซึ่งจะเลื่อนการเลือกตั้งไปอีก หากการริเริ่มของสภาปฏิรูปแห่งชาติสำเร็จ

ในเดือนตุลาคม 2560 พลเอกประยุทธ์ให้คำมั่นว่าจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปประมาณเดือนพฤศจิกายน 2561 ทว่า การเลือกวันเลือกตั้งทำให้เกิดข่าวลือว่าเขาพยายามรั้งอำนาจหลังการเลือกตั้งครั้งถัดไปผ่านพรรคการเมืองที่กองทัพหนุนหลัง ในเดือนมกราคม 2561 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงมติเลื่อนการใช้บังคับกฎหมายการเลือกตั้งใหม่อีก 90 วัน ซึ่งยิ่งเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปอีก ในเวลานั้น รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การตัดสินใจของ สนช. อาจเลื่อนการเลือกตั้งไปจนเดือนกุมภาพันธ์ 2562[6]

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 ตัวแทนกลุ่มการเมืองเข้าร่วมประชุมกับ กกต. เพื่อรับทราบข้อมูลในการยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560[7]

ภายหลังจากการประชุมหารือ 4 ฝ่ายประกอบไปด้วยคณะรัฐมนตรี คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ กกต. และพรรคการเมืองที่สโมสรทหารบกเมื่อวันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2561 วิษณุ เครืองามให้สัมภาษณ์ว่าได้กำหนดวันเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรก โดยมีตัวเลือกได้แก่ 24 กุมภาพันธ์, 31 มีนาคม, 28 เมษายน หรือ 5 พฤษภาคม 2562 ทั้งนี้ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดวันเลือกตั้ง[8] การเลือกตั้งครั้งนี้จะจัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ซึ่งมีทหารหนุนหลัง และจะนำไปสู่การสิ้นสุดลงของช่วงเวลาเผด็จการทหารที่ยาวนานที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของไทย[9]

ระบบเลือกตั้ง

รัฐธรรมนูญกำหนดระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม (Mixed Member Apportionment System: MMA) โดยกำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต 350 คน ซึ่งมาจากผู้ที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุดในเขตนั้น ๆ ฝ่ายสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อมาจากคะแนนเสียงของพรรคการเมืองที่ได้รับทั้งประเทศหารด้วย 150 ได้เป็นจำนวน ส.ส. ที่พึงมีของพรรคการเมืองนั้น ๆ แล้วนำจำนวนดังกล่าวมาเพิ่มให้ ส.ส. เขตที่พรรคการเมืองดังกล่าวได้อยู่ก่อนแล้ว[10] ลักษณะของระบบนี้ทำให้คะแนนเสียงของผู้สมัครที่แพ้ในระดับเขตไปนับรวมในระดับชาติ อย่างไรก็ดี หากเกิดการเลือกตั้งใหม่หรือเลือกตั้งซ่อมจะมีผลกระทบต่อคะแนนเสียงทั่วประเทศและต้องมีการคำนวณที่นั่งตามสัดส่วนใหม่ การคำนวณ ส.ส. แบบดังกล่าวออกแบบมาให้เกิดรัฐสภาที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและต้องตั้งรัฐบาลผสม[11]: 29  ด้านบีบีซีไทยคำนวณว่าหากใช้ระบบดังกล่าวไปคิดในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2554 พรรคเพื่อไทยจะได้ที่นั่งน้อยลง 61 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์จะได้ที่นั่งน้อยลง 14 ที่นั่ง ส่วนพรรคภูมิใจไทยจะได้ที่นั่งเพิ่มขึ้น 16 ที่นั่ง และพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินจะได้ที่นั่งเพิ่มขึ้น 11 ที่นั่ง[12] รศ. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำนายว่าพรรคที่จะได้ที่นั่งเกิน 25 ที่นั่งน่าจะมีไม่เกิน 5 พรรค[13]

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เปลี่ยนแปลงวิธีการออกเสียงเลือก ส.ส. โดยเดิมจะมีบัตรเลือกตั้งสองบัตร แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้จะลดบัตรเลือกตั้งเหลือบัตรเดียว โดยเลือกทั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อพร้อมกัน[14] เป็นการเลือกตั้งทั่วไปของไทยครั้งแรกที่การเลือกตั้ง ส.ส. สองแบบใช้บัตรเดียว และไม่มีใช้ในประเทศเยอรมนีและนิวซีแลนด์ที่ใช้ระบบเลือกตั้ง MMA เช่นเดียวกัน[11]: 28–29  นอกจากนี้ กกต. ไม่ได้กำหนดเบอร์เดียวกันทั่วประเทศสำหรับพรรคการเมือง และบนบัตรลงคะแนนยังแสดงเฉพาะเบอร์ ชื่อและโลโก้พรรคการเมืองเท่านั้น ไม่มีชื่อผู้สมัคร[11]: 33  นิด้าโพลจัดทำการสำรวจในเดือนพฤศจิกายน 2561 พบว่าผู้ตอบแบบสำรวจกว่าสามในสี่ไม่ทราบว่าจะมีบัตรลงคะแนนใบเดียวและพรรคการเมืองจะไม่ได้ใช้เบอร์เดียวกันทั่วประเทศ[15]

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ คสช. แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ทั้ง 250 คน ซึ่งมีอำนาจลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ดังนั้น ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงต้องการคะแนนเสียงของสมาชิกรัฐสภารวมกันตั้งแต่ 376 คนขึ้นไป นักวิจารณ์กล่าวว่าวุฒิสภาชุดนี้ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่ประยุทธ์จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปแม้พรรคที่นิยมประยุทธ์จะได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรน้อยกว่า ทั้งนี้ หาก ส.ว. ทั้ง 250 คนสนับสนุนประยุทธ์ ทำให้พรรคการเมืองที่นิยมประยุทธ์ต้องการอีกเพียง 126 ที่นั่งก็สามารถเลือกเขาเป็นนายกรัฐมนตรีได้[1] นักวิจารณ์ทำนายว่าพรรคพลังประชารัฐและพรรคการเมืองอื่นที่นิยมทหารอาจได้ที่นั่งรวมกันไม่ถึง 126 ที่นั่ง และจะต้องการการสนับสนุนของพรรคประชาธิปัตย์

การเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้ง

รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 กำหนดเขตเลือกตั้ง ส.ส. ไว้ 350 เขต ลดลงจากการเลือกตั้งครั้งก่อนที่กำหนดไว้ 400 เขต[16] ในปี 2561 กกต. มีหน้าที่วาดเขตเลือกตั้งใหม่ แต่ก่อนมีการประกาศ ประยุทธ์ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งเลื่อนการประกาศเขตเลือกตั้ง นอกจากนี้ กกต. ยังได้รับยกเว้นจากกฎหมายเขตเลือกตั้งเดิม ทำให้ กกต. สามารถวาดเขตเลือกตั้งใหม่อย่างไรก็ได้ ฝ่ายพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ ตลอดจนมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตยแสดงการคัดค้านรุนแรง[17] ซึ่งแย้งว่าการเลื่อนเวลาจะทำให้ กกต. วาดแผนที่ให้เอื้อต่อพรรคพลังประชารัฐ นักหนังสือพิมพ์และนักวิจารณ์เปรียบเทียบการณ์นี้ว่าเหมือนกับการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบในสหรัฐ บางคนออกความเห็นว่า คสช. ชนะการเลือกตั้งแล้ว[18][1][19]

วันที่ 29 พฤศจิกายน กกต. วาดเขตเลือกตั้งใหม่แล้วเสร็จและประกาศ[20] ซึ่งพรรคการเมืองหลายพรรคและองค์การควบคุมดูแลพบว่ามีการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบซึ่งพรรคพลังประชารัฐจะได้ประโยชน์หลายกรณี[21][22] เขตเลือกตั้งใหม่บางเขตมีรูปทรงประหลาดและไม่ได้ยึดแบบจำลองที่ กกต. แถลงว่าจะใช้ก่อนหน้านี้ กระบวนการวาดเขตเลือกตั้งใหม่ยังเป็นความลับและมีการพิจารณาไตร่ตรองน้อยมาก[11]: 32–33 

เขตเลือกตั้ง 350 เขต แบ่งจำนวนเขตเลือกตั้งตามจังหวัดดังต่อไปนี้ [23]

พื้นที่จำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร30
นครราชสีมา14
ขอนแก่น และอุบลราชธานี10
เชียงใหม่9
ชลบุรี, นครศรีธรรมราช, บุรีรัมย์, ศรีสะเกษ, สงขลา และอุดรธานี8
เชียงราย, ร้อยเอ็ด, สมุทรปราการ และสุรินทร์7
ชัยภูมิ, นครสวรรค์, นนทบุรี, ปทุมธานี, สกลนคร และสุราษฎร์ธานี6
กาญจนบุรี, กาฬสินธุ์, นครปฐม, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, มหาสารคาม และราชบุรี5
กำแพงเพชร, ฉะเชิงเทรา, นครพนม, นราธิวาส, ปัตตานี, พระนครศรีอยุธยา, ระยอง, ลพบุรี, ลำปาง และสุพรรณบุรี4
จันทบุรี, ชุมพร, ตรัง, ตาก, น่าน, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, พะเยา, พัทลุง, พิจิตร, เพชรบุรี, ยโสธร, ยะลา, เลย, สมุทรสาคร, สระแก้ว, สระบุรี, สุโขทัย, หนองคาย และหนองบัวลำภู3
กระบี่, ชัยนาท, บึงกาฬ, แพร่, ภูเก็ต, มุกดาหาร, ลำพูน, สตูล, อำนาจเจริญ, อุทัยธานี และอุตรดิตถ์2
ตราด, นครนายก, พังงา, แม่ฮ่องสอน, ระนอง, สิงห์บุรี, สมุทรสงคราม และอ่างทอง1

คณะกรรมการการเลือกตั้ง

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 กำหนดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่แทนชุดเดิมซึ่งมีกำหนดสิ้นสุดวาระในปี 2563 สนช. ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งของคณะรัฐประหาร ปฏิเสธผู้ได้รับเสนอชื่อ 2 ครั้ง รวม 9 คนโดยเป็นการพิจารณาลับและไม่เปิดเผยเหตุผล[11]: 36  ก่อนมีการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจนครบในเดือนธันวาคม 2562 ซึ่งเป็นเวลาสี่เดือนก่อนเลือกตั้ง พีเน็ตซึงเป็นองค์การสังเกตการเลือกตั้งในประเทศกล่าวว่าคณะกรรมการไม่ผ่านมาตรฐานสมรรถภาพ และพิสูจน์ตนเองไม่ได้ว่าปลอดอิทธิพลการเมือง[24]


การย้ายสังกัดพรรคการเมือง

พรรคเพื่อไทย (136)

ย้ายไปพรรคไทยรักษาชาติ

  1. ร้อยโทปรีชาพล พงษ์พานิช อดีต ส.ส.ขอนแก่น
  2. จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  3. วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  4. ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตแกนนำ นปช.
  5. พิชัย นะริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
  6. เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  7. สุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  8. วีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตแกนนำ นปช.
  9. นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ อดีต ส.ส.แพร่
  10. วุฒิพงศ์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  11. ฐิติมา ฉายแสง อดีต ส.ส.ฉะเชิงเทรา
  12. ก่อแก้ว พิกุลทอง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  13. เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  14. สุณีย์ เหลืองวิจิตร อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  15. นายแพทย์เชิดชัย ตันติศิรินทร์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  16. นายแพทย์เหวง โตจิราการ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  17. วิภูแถลง พัฒนภูมิไท อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  18. ขัตติยา สวัสดิผล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  19. พายัพ ปั้นเกตุ อดีต ส.ส.สิงห์บุรี
  20. เกรียง กัลป์ตินันท์ อดีต ส.ส.อุบลราชธานี
  21. หัสนัยน์ สอนสิทธิ์ อดีต ส.ส.พิษณุโลก
  22. กฤษณา สีหลักษณ์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  23. เจริญ จรรย์โกมล อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
  24. พงศกร อรรณนพพร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  25. อนุตตมา อมรวิวัฒน์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพมหานคร
  26. สิน กุมภะ อดีต ส.ส.ระยอง
  27. พลตรีศรชัย มนตริวัต อดีต ส.ส.กาญจนบุรี
  28. เพ็ญชิสา หงส์อุปถัมภ์ชัย อดีต ส.ส.อ่างทอง
  29. ประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
  30. สุรชัย เบ้าจรรยา อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  31. เยาวนิตย์ เพียงเกษ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  32. วิธันพัศ เฮงวาณิชย์ถิรนา (สมนึก เฮงวาณิชย์) อดีต ส.ส.บุรีรัมย์
  33. ประวัฒน์ อุตตะโมท อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  34. สุธรรม แสงประทุม อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
  35. พงษ์พิสุทธิ์ จินตโสภณ อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร

ย้ายไปพรรคพลังประชารัฐ

  1. สมศักดิ์ เทพสุทิน อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง
  2. จักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล อดีต ส.ส.สุโขทัย
  3. มนู พุกประเสริฐ อดีต ส.ส.สุโขทัย
  4. ชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร อดีต ส.ส.ราชบุรี
  5. บุญยิ่ง นิติกาญจนา อดีต ส.ส.ราชบุรี
  6. ปารีณา ไกรคุปต์ อดีต ส.ส.ราชบุรี
  7. มานิต นพอมรบดี อดีต ส.ส.ราชบุรี
  8. อดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์ อดีต ส.ส.อุบลราชธานี
  9. สุพล ฟองงาม อดีต ส.ส.อุบลราชธานี
  10. สุทธิชัย จรูญเนตร อดีต ส.ส.อุบลราชธานี
  11. วีระกร คำประกอบ อดีต ส.ส.นครสวรรค์
  12. ว่าที่ร้อยตรีสุเมธ ฤทธาคนี อดีต ส.ส.ปทุมธานี
  13. ฉลอง เรี่ยวแรง อดีต ส.ส.นนทบุรี
  14. พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ อดีต ส.ส.กาญจนบุรี
  15. เวียง วรเชษฐ์ อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด
  16. ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข อดีต ส.ส.เลย
  17. เปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข อดีต ส.ส.เลย
  18. วันชัย บุษบา อดีต ส.ส.เลย
  19. ภาคิน สมมิตรธนกุล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  20. สมพงษ์ โสภณ อดีตผู้สมัคร ส.ส.ระยอง
  21. สันติ ตันสุหัช อดีต ส.ส.เชียงใหม่
  22. บัวสอน ประชามอญ อดีต ส.ส.เชียงราย
  23. นิพนธ์ ศรีธเรศ อดีต ส.ส.กาฬสินธุ์
  24. ชูกัน กุลวงษา อดีต ส.ส.นครพนม
  25. สันติ พร้อมพัฒน์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  26. วันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ อดีต ส.ส.เพชรบูรณ์
  27. เอี่ยม ทองใจสด อดีต ส.ส.เพชรบูรณ์
  28. สุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ อดีต ส.ส.เพชรบูรณ์
  29. จักรัตน์ พั้วช่วย อดีต ส.ส.เพชรบูรณ์
  30. จำลอง ครุฑขุนทด อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  31. ไผ่ ลิกค์ อดีต ส.ส.กำแพงเพชร
  32. พันตำรวจโทไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ อดีต ส.ส.กำแพงเพชร
  33. ปริญญา ฤกษ์หร่าย อดีต ส.ส.กำแพงเพชร
  34. อนันต์ ผลอำนวย อดีต ส.ส.กำแพงเพชร
  35. วิรัช รัตนเศรษฐ อดีต ส.ส.นครราชสีมา
  36. ทัศนียา รัตนเศรษฐ อดีต ส.ส.นครราชสีมา
  37. อธิรัฐ รัตนเศรษฐ อดีต ส.ส.นครราชสีมา
  38. ตรีนุช เทียนทอง อดีต ส.ส.สระแก้ว
  39. ฐานิสร์ เทียนทอง อดีต ส.ส.สระแก้ว
  40. อำนวย คลังผา อดีต ส.ส.ลพบุรี
  41. ทวี สุระบาล อดีต ส.ส.ตรัง
  42. กล่ำคาน ปาทาน อดีต ส.ส.ศรีสะเกษ
  43. ณรงค์ศักดิ์ โกศลวัฒน์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.อุบลราชธานี
  44. ประนอม โพธิ์คำ อดีต ส.ส.นครราชสีมา
  45. อนุชา นาคาศัย อดีต ส.ส.ชัยนาท
  46. ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ อดีต ส.ส.ศรีสะเกษ
  47. สุรพร ดนัยตั้งตระกูล อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด
  48. สุภรณ์ อัตถาวงศ์ อดีต ส.ส.นครราชสีมา
  49. กรรณิการ์ เจริญพันธ์ อดีต ส.ส.สุรินทร์
  50. ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า อดีตผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  51. อรรถกร ศิริลัทธยากร อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  52. องอาจ วชิรพงศ์ อดีต ส.ส.พระนครศรีอยุธยา

ย้ายไปพรรคประชาธิปัตย์

  1. วไลพร อัจฉริยะประสิทธิ์ อดีต ส.ส.นนทบุรี

ย้ายไปพรรคเพื่อชาติ

  1. สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  2. อรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ
  3. ลินดา เชิดชัย อดีต ส.ส.นครราชสีมา
  4. กุสมาลวตี ศิริโกมุท อดีต ส.ส.มหาสารคาม
  5. จ่าสิบตำรวจประสิทธิ์ ไชยศรีษะ อดีต ส.ส.สุรินทร์ (ส่งภรรยาลงแทน)
  6. มาลินี อินฉัตร อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  7. บุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ

ย้ายไปพรรคเพื่อธรรม

  1. นลินี ทวีสิน อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ย้ายไปพรรคเศรษฐกิจใหม่

  1. มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
  2. นิยม วิวรรธนดิษฐกุล อดีต ส.ส.แพร่

ย้ายไปพรรคเสรีรวมไทย

  1. นายแพทย์ประสงค์ บูรณ์พงศ์ อดีต ส.ส.นครพนม

ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย

  1. สุวัฒน์ ม่วงศิริ อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร
  2. สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล อดีต ส.ส.พระนครศรีอยุธยา
  3. ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ อดีต ส.ส.ชัยภูมิ
  4. สุนทรี ชัยวิรัตนะ อดีต ส.ส.ชัยภูมิ และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  5. พลพีร์ สุวรรณฉวี อดีต ส.ส.นครราชสีมา
  6. มานิตย์ ภาวสุทธิ์ อดีต ส.ส.ชลบุรี
  7. พหล วรปัญญา อดีต ส.ส.ลพบุรี
  8. วิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ อดีต ส.ส.นครราชสีมา
  9. เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร อดีต ส.ส.พระนครศรีอยุธยา
  10. เกียรติชัย ติรณศักดิ์กุล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  11. ว่าที่ร้อยตรีพงศ์พันธ์ สุนทรชัย อดีต ส.ส.หนองคาย
  12. พูลสวัสดิ์ โหตระไวศยะ อดีต ส.ส.อุบลราชธานี
  13. ณรงค์กร ชวาลสันตติ อดีต ส.ส.เพชรบูรณ์
  14. พลเรือเอก สุรพล จันทน์แดง อดีต ส.ส.ชลบุรี
  15. รส มะลิผล อดีต ส.ส.ฉะเชิงเทรา

ย้ายไปพรรคชาติไทยพัฒนา

  1. บัณฑูร สุภัควณิช อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  2. เผดิมชัย สะสมทรัพย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
  3. ไชยา สะสมทรัพย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
  4. อนุชา สะสมทรัพย์ อดีต ส.ส.นครปฐม
  5. ก่อเกียรติ สิริยะเสถียร อดีต ส.ส.นครปฐม
  6. สมคิด บาลไธสง อดีต ส.ส.หนองคาย
  7. อนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ อดีต ส.ส.สมุทรสาคร
  8. บุญชู นิลถนอม อดีต ส.ส.สมุทรสาคร
  9. ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  10. ยุทธพงษ์ แสงศรี อดีต ส.ส.บึงกาฬ
  11. นาวิน บุญเสรฐ อดีต ส.ส.พิจิตร (ส่งภรรยาลงสมัครแทน)

ย้ายไปพรรคประชาชาติ

  1. วันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง
  2. ซูการ์โน มะทา อดีต ส.ส.ยะลา
  3. มุข สุไลมาน อดีต ส.ส.ปัตตานี
  4. อารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ อดีต ส.ส.นราธิวาส
  5. นัจมุดดีน อูมา อดีต ส.ส.นราธิวาส
  6. ร้อยตำรวจเอกนิติภูมิ นวรัตน์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  7. อัศวิน สุวิทย์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.สงขลา

ย้ายไปพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย

  1. ปาริชาติ ชาลีเครือ อดีต ส.ส.ชัยภูมิ
  2. รัฐกร เจนกิจณรงค์ อดีต ส.ส.นครปฐม

ย้ายไปพรรคประชาภิวัฒน์

  1. สมเกียรติ ศรลัมพ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  2. นันทนา สงฆ์ประชา อดีต ส.ส.ชัยนาท

พรรคประชาธิปัตย์ (45)

ย้ายไปพรรคพลังประชารัฐ

  1. ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร
  2. พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร
  3. ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  4. อัฎฐพล โพธิพิพิธ อดีต ส.ส.กาญจนบุรี
  5. ธวัชชัย อนามพงษ์ อดีต ส.ส.จันทบุรี
  6. แสนคม อนามพงษ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  7. ยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา อดีต ส.ส.จันทบุรี
  8. บุญเลิศ ไพรินทร์ อดีต ส.ส.ฉะเชิงเทรา
  9. พล.ต.ท.พิทักษ์ จารุสมบัติ อดีต ส.ส.ฉะเชิงเทรา
  10. สรวุฒิ เนื่องจำนงค์ อดีต ส.ส.ชลบุรี
  11. กัลยา รุ่งวิจิตรชัย อดีต ส.ส.สระบุรี
  12. ทศพล เพ็งส้ม อดีต ส.ส.นนทบุรี
  13. กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ อดีต ส.ส.เชียงใหม่
  14. เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ อดีตผู้สมัคร ส.ส.เชียงใหม่
  15. นรพล ตันติมนตรี อดีต ส.ส.เชียงใหม่
  16. กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ อดีต ส.ก.เขตพระนคร
  17. กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา อดีต ส.ก.เขตคลองเตย
  18. กนกนุช นากสุวรรณภา อดีต ส.ก.เขตดินเมือง
  19. กษิดิ์เดช ชุติมันต์ อดีต ส.ก.เขตลาดพร้าว
  20. ชาญวิทย์ วิภูศิริ อดีตผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพมหานคร
  21. พรศักดิ์ เปี่ยมคล้า อดีต ส.ส.นครปฐม
  22. ระวัง เนตรโพธิ์แก้ว อดีต ส.ส.นครปฐม
  23. ทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ อดีต ส.ส.ลำพูน
  24. ยศศักดิ์ ชีววิญญู อดีต ส.ส.ราชบุรี

ย้ายไปพรรครวมพลังประชาชาติไทย

  1. สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
  2. เชน เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส.สุราษฎร์ธานี
  3. ธานี เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส.สุราษฎร์ธานี
  4. อับดุลการิม เด็งระกีนา อดีต ส.ส.ยะลา
  5. สุรเชษฐ์ แวอาแซ อดีต ส.ส.นราธิวาส
  6. รำรี มามะ อดีต ส.ส.นราธิวาส
  7. เจะอามิง โตะตาหยง อดีต ส.ส.นราธิวาส
  8. ซาตา อาแวกือจิ อดีต ส.ส.นราธิวาส
  9. ณิรัฐกานต์ ศรีลาภ อดีต ส.ส.ยโสธร

ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย

  1. ประมวล เอมเปีย อดีต ส.ส.ชลบุรี
  2. บรรจบ รุ่งโรจน์ อดีต ส.ส.ชลบุรี
  3. ภุชงค์ รุ่งโรจน์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  4. สมควร โอบอ้อม อดีต ส.ส.นครสวรรค์
  5. กุมพล สภาวสุ อดีต ส.ส.พระนครศรีอยุธยา

ย้ายไปพรรคเพื่อไทย

  1. เอกชัย ทรงอำนาจเจริญ อดีตผู้สมัคร ส.ส.อุบลราชธานี
  2. มานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ อดีต ส.ส.นนทบุรี

ย้ายไปพรรคไทยรักษาชาติ

  1. อสิ มะหะมัดยังกี อดีต ส.ส.สตูล

ย้ายไปพรรคชาติพัฒนา

  1. พันเอกวินัย สมพงษ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ

ย้ายไปพรรคพลังท้องถิ่นไท

  1. ชื่นชอบ คงอุดม อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร

ย้ายไปพรรคพลังปวงชนไทย

  1. โชคสมาน สีลาวงษ์ อดีต ส.ส.อุดรธานี

ย้ายไปพรรคพลเมืองไทย

  1. กริช กงเพชร อดีต ส.ส.มหาสารคาม

พรรคมาตุภูมิ (3)

ย้ายไปพรรคชาติไทยพัฒนา

  1. พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน อดีตประธานคมช. และอดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  2. สนิท นาแว อดีตผู้สมัคร ส.ส.ปัตตานี

ย้ายไปพรรคเพื่อชาติ

  1. พันตำรวจโทสมชาย เพศประเสริฐ อดีต ส.ส.นครราชสีมา

พรรคภูมิใจไทย (15)

ย้ายไปพรรคพลังประชารัฐ

  1. บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ อดีต ส.ส.นครราชสีมา
  2. กรุงศรีวิไล สุทินเผือก อดีต ส.ส.สมุทรปราการ
  3. พิกิฎ ศรีชนะ อดีต ส.ส.ยโสธร
  4. สุชาติ ตันเจริญ อดีต ส.ส.ฉะเชิงเทรา
  5. ศักดิ์ชัย จงสุทธนามณี อดีตผู้สมัคร ส.ส.เชียงราย
  6. ภิรมย์ พลวิเศษ อดีต ส.ส.นครราชสีมา

ย้ายไปพรรคชาติไทยพัฒนา

  1. ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ อดีต ส.ส.ขอนแก่น (ส่งภรรยาลงแทน)
  2. วิเชียร อุดมศักดิ์ อดีต ส.ส.อำนาจเจริญ
  3. ปัญญา ศรีปัญญา อดีต ส.ส.ขอนแก่น

ย้ายไปพรรคประชาชาติ

  1. สมมุติ เบ็ญจลักษณ์ อดีต ส.ส.ปัตตานี
  2. นิมุคตาร์ วาบา อดีต ส.ส.ปัตตานี

ย้ายไปพรรคเสรีรวมไทย

  1. ปุระพัฒน์ วิเศษจินดาวัฒนา อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ

ย้ายไปพรรคพลเมืองไทย

  1. เอกพร รักความสุข อดีต ส.ส.สกลนคร
  2. สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ อดีต ส.ส.เชียงราย
  3. ศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร

พรรคชาติไทยพัฒนา (31)

ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย

  1. ชาดา ไทยเศรษฐ์ อดีต ส.ส.อุทัยธานี
  2. สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ อดีต ส.ส.ศรีสะเกษ
  3. ภราดร ปริศนานันทกุล อดีต ส.ส.อ่างทอง
  4. กรวีร์ ปริศนานันทกุล อดีต ส.ส.อ่างทอง
  5. ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ อดีต ส.ส.พิจิตร
  6. ชยุต ภุมมะกาญจนะ อดีต ส.ส.ปราจีนบุรี
  7. เชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์ อดีต ส.ส.ชัยภูมิ
  8. จองชัย เที่ยงธรรม อดีต ส.ส.สุพรรณบุรี
  9. สมบูรณ์ ไพรวัลย์ อดีต ส.ส.แม่ฮ่องสอน

ย้ายไปพรรคไทยรักษาชาติ

  1. วินัย ภัทรประสิทธิ์ อดีต ส.ส.พิจิตร
  2. ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  3. ชาญชัย ประเสริฐสุวรรณ อดีต ส.ส.สุพรรณบุรี

ย้ายไปพรรคเพื่อไทย

  1. รัฐกิตติ์ ผาลีพัฒน์ อดีต ส.ส.อุบลราชธานี
  2. ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ อดีต ส.ส.อุตรดิตถ์

ย้ายไปพรรคประชาธิปัตย์

  1. พีระเดช ศิริวันสาณฑ์ อดีต ส.ส.นครสวรรค์
  2. พันโทสินธพ แก้วพิจิตร อดีต ส.ส.นครปฐม

ย้ายไปพรรคเพื่อชาติ

  1. ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  2. จิรายุส เนาวเกตุ อดีต ส.ส.สตูล

ย้ายไปพรรคพลังประชารัฐ

  1. อลงกต มณีกาศ อดีต ส.ส.นครพนม
  2. โชติวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ อดีต ส.ส.สิงห์บุรี
  3. รณฤทธิชัย คานเขต อดีต ส.ส.ยโสธร
  4. เอกภาพ พลซื่อ อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด
  5. รัชนี พลซื่อ อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด
  6. ชัยวัฒน์ เป้าเปี่ยมทรัพย์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.ฉะเชิงเทรา
  7. ธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา อดีต ส.ส.สุรินทร์
  8. ธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ อดีต ส.ส.ตาก
  9. วัชระ ยาวอหะซัน อดีต ส.ส.นราธิวาส
  10. ฐนนท์ศรณ์ เลิศฤทธิ์ศิริกุล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  11. ยุทธนา โพธสุธน อดีต ส.ส.สุพรรณบุรี

ย้ายไปพรรคประชาชาติ

  1. กูเฮง ยาวอหะซัน อดีต ส.ส.นราธิวาส
  2. อนุมัติ ซูสารอ อดีต ส.ส.ปัตตานี

พรรคชาติพัฒนา (14)

ย้ายไปพรรคเพื่อไทย

  1. นคร มาฉิม อดีต ส.ส.พิษณุโลก
  2. คงกฤช หงษ์วิไล อดีต ส.ส.ปราจีนบุรี

ย้ายไปพรรคพลังประชารัฐ

  1. ปัญญา จีนาคำ อดีต ส.ส.แม่ฮ่องสอน
  2. ภิญโญ นิโรจน์ อดีต ส.ส.นครสวรรค์
  3. สมศักดิ์ พันธ์เกษม อดีต ส.ส.นครราชสีมา
  4. สุชาติ ตันติวณิชชานนท์ อดีต ส.ส.อุบลราชธานี
  5. อดุลย์ นิลเปรม อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และอดีตผู้สมัคร ส.ส.อุบลราชธานี
  6. วารุจ ศิริวัฒน์ อดีต ส.ส.อุตรดิตถ์
  7. สานิต ว่องสัธนพงษ์ อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด
  8. อนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ อดีต ส.ส.นครราชสีมา
  9. สมศักดิ์ คุณเงิน อดีต ส.ส.ขอนแก่น

ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย

  1. สมชัย ฉัตรพัฒนศิริ อดีต ส.ส.นครราชสีมา
  2. สมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ อดีต ส.ส.สุโขทัย

ย้ายไปพรรคเพื่อชาติ

  1. วิทยา บุตรดีวงค์ อดีต ส.ส.มุกดาหาร

พรรคพลังชล (6)

ย้ายไปพรรคพลังประชารัฐ

  1. สุชาติ ชมกลิ่น อดีต ส.ส.ชลบุรี
  2. อุกฤษณ์ ตั๊นสวัสดิ์ อดีต ส.ส.ชลบุรี
  3. รณเทพ อนุวัฒน์ อดีต ส.ส.ชลบุรี
  4. พันธุ์ศักดิ์ เกตุวัตถา อดีต ส.ส.ชลบุรี
  5. ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ อดีต ส.ส.ชลบุรี
  6. สันต์ศักย์ จรูญ งามพิเชษฐ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ

พรรคมหาชน (1)

ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย

  1. ไกร ดาบธรรม อดีต ส.ส.เชียงใหม่

พรรคการเมืองและชื่อบุคคลที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี

ภาพรวม

ที่ผ่านมานับแต่ปี 2544 พรรคการเมืองซึ่งเป็นพันธมิตรทางการเมืองของทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งทั่วไปทุกครั้ง (ได้แก่ พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย) ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่พรรคเพื่อไทยส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขตไม่ครบทุกเขตทั่วประเทศ[25] แต่ใช้วิธีการตั้งพรรคไทยรักษาชาติเป็นพรรคพี่-พรรคน้องส่งผู้สมัครในเขตที่พรรคเพื่อไทยไม่น่าชนะเพื่อหวังเพิ่มที่นั่งจากระบบจัดสรรปันส่วนผสม[26]: 156  ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กพยายามดึงตัว ส.ส. และ "ผู้สมัครสอบตก" เข้าร่วมพรรคเพื่อเพิ่มที่นั่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อ[12] การเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ พรรคอนาคตใหม่ ส่งเสริมแนวร่วมต่อต้านรัฐประหาร โดยหัวหน้าพรรค ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ วางตัวเป็นผู้สมัครที่มีความคิดก้าวหน้า (progressive) มากที่สุด[26]: 156  ฝ่าย คสช. ใช้วิธีการตั้งพรรคที่ดึงดูดเสียงจากทุกส่วนในทำนองเดียวกับพรรคสามัคคีธรรมในปี 2535 ดันแคน แม็กคาร์โกเขียนว่าพรรคพลังประชารัฐมีการซื้อตัวผู้สมัครและได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐและข้าราชการท้องถิ่น[26]: 156  วันที่ 8 กุมภาพันธ์ กกต. สรุปยอดผู้สมัคร ส.ส. พบมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตจำนวน 11,128 คน จากพรรคการเมือง 80 พรรค และแบบบัญชีรายชื่อ 2,718 คนจาก 72 พรรค รวม 13,846 คน เทียบกับผู้สมัครในปี 2554 จำนวน 3,832 คน[27]

ชื่อบุคคลที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 กกต. ประกาศรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วยพรรคการเมืองที่เสนอรายชื่อ จำนวน 44 พรรค รวม 68 รายชื่อ ในการเลือกตั้งครั้งนี้ซึ่งกฎหมายเปิดให้บุคคลที่มิใช่ ส.ส. เป็นนายกรัฐมนตรีได้ พรรคการเมืองหลายพรรคเตรียมเสนอชื่อพลเอกประยุทธ์กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีพรรคพลังประชารัฐเป็นพรรคหลักที่สนับสนุนคณะรัฐประหาร พลเอกประยุทธ์ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคอย่างเป็นทางการ แต่มีรัฐมนตรีหรือที่ปรึกษาของเขาเป็นผู้บริหารของพรรคพลังประชารัฐ[28] จึงมีการแบ่งพรรคการเมืองต่าง ๆ ออกเป็นสามฝ่ายใหญ่ ฝ่ายหนึ่งสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ เช่น พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาชนปฏิรูป พรรคพลังชล เป็นต้น ฝ่ายหนึ่งคัดค้านพลเอกประยุทธ์ เช่น พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ พรรคเสรีรวมไทย เป็นต้น และอีกฝ่ายหนึ่งที่มีจุดยืนไม่ชัดเจน เช่น พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นต้น[29] วันที่ 10 มีนาคม 2562 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศว่าจะไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ฝ่ายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่า ไม่ใช่แค่ไม่เอาพลเอกประยุทธ์ แต่ต้องไม่เอาพรรคพลังประชารัฐด้วย เชื่อว่ามีบางพรรคที่บอกว่าไม่เอาพลเอกประยุทธ์ แต่อยากจับมือพลังประชารัฐเพื่อชูตัวเองขึ้นเป็นนายกฯ[30]

พรรคประชาธิปัตย์พรรคพลังประชารัฐพรรคเพื่อไทยพรรคภูมิใจไทยพรรคอนาคตใหม่
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะประยุทธ์ จันทร์โอชาสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ชัยเกษม นิติสิริอนุทิน ชาญวีรกูลธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
นายกรัฐมนตรี
(2551–2554)
นายกรัฐมนตรี (2557–2566)
และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (2557–2562)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(2548–2549)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
(2555–2557)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
(2556–2557)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(2544–2548)
รองประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท
(2545–2562)

กรณีเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้ดำเนินรายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ช่องนาว 26 กล่าวว่า "8 กุมภา จะเป็นจุดเปลี่ยนการเมืองระดับแผ่นดินไหว" และอีกตอนหนึ่งว่า "เปิด[ชื่อ]ออกมาเมื่อไร แผ่นดินไหวทางการเมืองทันที [...] ไม่ใช่คนตระกูลชินวัตร หรือวงศ์สวัสดิ์ จะเป็นชื่อที่อึกทึกครึกโครมทั้งแผ่นดิน"[31] ด้านหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ลงข่าวพาดหัวว่า "ประยุทธ์ยอมรับ เผื่อใจแล้ว! ไม่ได้เป็นนายกฯ"[32]

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พรรคไทยรักษาชาติยื่นพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล เป็นผู้ที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี ด้านปรีชาพล พงษ์พานิช หัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติให้สัมภาษณ์ว่า "พระองค์ท่านเองทรงมีพระเมตตาตอบรับและให้พรรคไทยรักษาชาติเสนอพระนามในบัญชีนายกฯ ของพรรค"[33][34] วันเดียวกัน ไพบูลย์ นิติตะวัน หัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป ยื่นหนังสือต่อประธาน กกต. ขอให้พิจารณาการเสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ ว่าเข้าข่ายขัดระเบียบ กกต. เรื่องลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ เนื่องจากทรงเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยอ้างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในอดีตว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ต้องอยู่เหนือการเมือง[35][36]

คืนเดียวกันนั้นเอง โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยประกาศพระราชโองการของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เรื่อง สถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สรุปว่า การนำพระบรมราชวงศ์ทุกพระองค์ แม้จะทรงกราบถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์ไปแล้ว มาเกี่ยวข้องกับระบบการเมืองเป็นการกระทำที่ขัดต่อโบราณราชประเพณี ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมของชาติและไม่บังควรอย่างยิ่ง[37] ในรายชื่อที่ กกต. รับรองในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ไม่ปรากฏชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ นอกจากนี้ กกต. จะหารือต่อไปว่าการกระทำดังกล่าวของพรรคไทยรักษาชาติเข้าข่ายต้องยุบพรรคหรือไม่[38]

เหตุการณ์ก่อนเลือกตั้ง

คดีความและการยื่นยุบพรรคการเมือง

หลังพรรคไทยรักษาชาติยื่นเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีเป็นนายกรัฐมนตรี กรรมการการเลือกตั้งมีมติยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติเนื่องจาก "กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องพิจารณายุบพรรคไทยรักษาชาติ[39] และเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2562 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคไทยรักษาชาติ พร้อมตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคห้ามลงสมัครรับเลือกตั้ง จดทะเบียนจัดตั้งพรรคใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองเป็นเวลา 10 ปี[40] ส่วนผู้ที่ลงคะแนนเลือกพรรคไทยรักษาชาติไปแล้วถือว่าเป็นบัตรเสียทั้งหมด การยุบพรรคไทยรักษาชาติถือเป็นผลเสียใหญ่หลวงต่อฝ่ายต้านรัฐประหาร[26]: 157 

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 วิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ ยื่นคำร้องต่อกรรมการการเลือกตั้งให้ไต่สวนยุบพรรคพลังประชารัฐ และคัดค้านการเสนอชื่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรีเนื่องจากดำรงตำแหน่งทางการเมืองถือว่ามีคุณสมบัติต้องห้าม[41] ต่อมา ผู้ตรวจการแผ่นดินแถลงว่าประยุทธ์เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปัตย์ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ และจะไม่ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองต่อ[42] วันที่ 12 มีนาคม 2562 กกต. เปิดเผยว่า ไม่พบความผิดที่พรรคพลังประชารัฐจัดโต๊ะจีนระดมทุน เนื่องจากไม่พบบุคคลต่างชาติบริจาคเงิน จึงไม่มีความผิดและไม่ต้องยุบพรรค[43] ทว่าต่อมาสำนักข่าวอิศราพบว่า มีกลุ่มทุนจากประเทศไอซ์แลนด์ถือหุ้นในบริษัทที่บริจาคเงินให้พรรคพลังประชารัฐ[44] วันที่ 14 มีนาคม 2562 พรรคพลังประชารัฐถูกยื่นเอาผิดจากกรณีปราศรัยนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมาหาเสียง เข้าข่ายความผิดฐานเตรียมทรัพย์สินเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายเลือกตั้ง[45]

วันที่ 29 มิถุนายน 2561 ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ไลฟ์สดทางเฟซบุ๊กวิจารณ์การดูดผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคพลังประชารัฐ ต่อมาเขาถูกฟ้องว่านำความเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ล่าสุดอัยการสั่งเลื่อนคำสั่งคดีเป็นวันที่ 26 มีนาคมซึ่งเป็นวันหลังเลือกตั้ง[46] วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 ทีมงานประชาชนและปกป้องรัฐธรรมนูญยื่นหนังสือถึง กกต. ให้พิจารณาส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากมีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยยกว่ามีความพยายามเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และคำประกาศจะสานต่อภารกิจของคณะราษฎร[47] วันที่ 14 มีนาคม กกต. ยกคำร้องกรณีลงประวัติธนาธรผิดว่าเป็นประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย[48] วันที่ 15 มีนาคม พรรคอนาคตใหม่ถูกยื่นยุบพรรคหลังมีอดีตสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติหาเสียงให้ โดยถูกกล่าวหาว่าเข้าข่ายถูกผู้อื่นครอบงำพรรค[49]

การอภิปรายทางโทรทัศน์

วันที่ 1 มีนาคม 2562 อรวรรณ ชูดี (กริ่มวิรัตน์กุล) พิธีกรทางช่องเอ็มคอตเอชดี โพสต์ทางเฟซบุ๊กว่า ได้รับคำสั่งจากผู้บริหารให้ยุติการดำเนินพิธีกรรายการ ทั้งนี้ เธอเป็นพิธีกรรายการ "ศึกเลือกตั้ง 62" เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอภิปรายเป็นเยาวชนที่ตอบคำถาม 4 ข้อ เช่น "เห็นด้วยหรือไม่ ที่รธน.60 ในบทเฉพาะกาล 5 ปีแรกให้ ส.ว. 250 คนร่วมโหวตเลือกนายกฯ" กรรมการบริหาร อสมท ปฏิเสธว่าไม่ได้ปลด ด้านสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยออกแถลงการณ์ว่าคำสั่งนี้เป็นการแทรกแซงเสรีภาพสื่อ และคุกคามสื่อมวลชน[50]

การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

ระหว่างวันที่ 4 ถึง 16 มีนาคม 2562 มีการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร โดยมีผู้ออกเสียงคิดเป็นร้อยละ 84.7 ของจำนวนผู้ลงทะเบียน 119,232 คน แม้ว่าจะประสบปัญหาหลายประการ[11]: 79  วันที่ 9 มีนาคม มีการโพสต์ทางสื่อสังคมว่า มีคนไทยในประเทศจีนกว่า 500 คนไม่ได้บัตรเลือกตั้งในการเลือกตั้งล่วงหน้านอกราชอาณาจักร[51] วันเดียวกัน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศมาเลเซียกว่า 4,000 คน ต้องรอใช้สิทธินาน 3–4 ชั่วโมง จนต้องเปิดให้เลือกตั้งเพิ่มในวันที่ 10 มีนาคม[52] ด้านพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง โพสต์แสดงความผิดพลาดในการพิมพ์เอกสารของ กกต. ซึ่งชื่อผู้สมัครกับพรรคการเมืองอยู่แยกกันคนละหน้า[53] มีบัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรจากประเทศนิวซีแลนด์ส่งมาไม่ทันหย่อนลงบัตรเลือกตั้งเวลา 17.00 น. จำนวน 1,500 บัตร ด้านเลขาธิการ กกต. แถลงว่า จะมีสอบสวนว่าบัตรเหล่านี้จะกลายเป็นบัตรเสียหรือไม่ รวมทั้งถามหาผู้รับผิดชอบ[54] ต่อมา คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่าบัตรดังกล่าวล้วนเป็นบัตรเสีย โดยอ้างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 114 ("กรณีที่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า [...] การออกเสียงคะแนนนอกราชอาณาจักรที่ใดมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม...")[55]

บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์ตั้งแต่ปี 2515

การเสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดลของพรรคไทยรักษาชาติสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับทักษิณ ชินวัตร[26]: 157  แม้หลังยุบพรรคไทยรักษาชาติแล้ว ทักษิณยังจัดงานเลี้ยงสมรสของธิดาตนโดยเชิญทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ เป็นประธานในพิธีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม สองวันก่อนเลือกตั้งด้วย[26]: 157  คืนวันที่ 23 มีนาคม 2562 มีการเผยแพร่ประกาศสำนักพระราชวัง ความโดยสรุปว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขออัญเชิญพระบรมราโชวาทของพระบรมราชชนกที่ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้[56] แฮชแท็ก "โตแล้วเลือกเองได้" ติดกระแสอันดับ 1 ในทวิตเตอร์ในคืนนั้นเอง[57] ดันแคน แม็กคาร์โกเขียนว่า พระมหากษัตริย์ไม่พอพระทัยกับความเชื่อมโยงดังกล่าวจึงเป็นที่มาของแถลงการณ์ เหตุการณ์ทั้งสองนี้ไม่ได้ทำให้พรรคเพื่อไทยได้คะแนนเสียงมากขึ้น แต่ทำให้ผู้ที่ต่อต้านทักษิณพากันไปเลือกพรรคพลังประชารัฐ[26]: 157 

มีการแพร่สัญญาณประกาศดังกล่าวอีกครั้งก่อนเริ่มเวลาเลือกตั้งเล็กน้อย และประธานกรรมการการเลือกตั้งให้สัมภาษณ์สื่อกระตุ้นให้คนไทยเลือกโดยคำนึงถึงประกาศสำนักพระราชวังด้วย[58]

การรณรงค์เลือกตั้ง

แม้ว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติยกเลิกคำสั่งห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในปลายปี 2561 ไม่กี่เดือนก่อนเลือกตั้ง แต่พรรคที่ต่อต้านรัฐประหารยังเกรงว่าจะถูกจับกุม[59] กว่าจะเริ่มรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งก็ล่วงเข้าต้นปี 2562 แล้ว[11]: 59  สำหรับวิธีการหาเสียงพรรคการเมืองยังใช้วิธีเดิม เช่น การเยี่ยมบ้าน ป้ายประกาศริมถนน ขบวนรถติดลำโพง และการชุมนุมสาธารณะ ในพื้นที่ชนบทซึ่งมักจำกัดการรณรงค์ให้เหลือโฆษณาโทรทัศน์และสถานีวิทยุชุมชน มีการจำกัดตามกฎหมายให้ใช้เฉพาะช่องเวลาที่กำหนดให้เท่านั้น[11]: 59–60  ข้อกำหนดตามกฎหมายที่เข้มงวดเพื่อป้องกันสารสนเทศเท็จและการหมิ่นประมาททำให้หลายพรรคงดการรณรงค์หาเสียงบนสื่อสังคม แต่หลายพรรคหาเสียงบนสื่อสังคมอย่างกว้างขวาง[60] บรรยากาศการหาเสียงเป็นไปโดยสงบ ข้อกำหนดที่เข้มงวดของ กกต. ทำให้พรรคการเมืองรณรงค์แบบไม่เผชิญหน้ากัน[11]: 61  มีเจ้าหน้าที่ความมั่นคงก่อกวนผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์[11]: 61  มีรายงานการซื้อเสียงและการปฏิบัติโดยมิชอบอย่างกว้างขวาง แต่ข้าราชการไม่สนใจสอบสวน[11]: 75 

ทางการเลือกปฏิบัติโดยเข้าข้างพรรคที่สนับสนุน คสช. พลเอกประยุทธ์เดินทางไปทั่วประเทศและมีการจัดการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรตลอดปี 2560 และ 2561 ซึ่งมีการกล่าวหาว่าเป็นการรณรงค์เลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและก่อนกำหนด อีกทั้งมีการจัดการชุมนุมการเมืองก่อนยกเลิกคำสั่งห้ามดำเนินกิจกรรมการเมืองของ คสช.[11]: 59, 61  มีโครงการสวัสดิการของรัฐหลายโครงการที่เกิดขึ้นในช่วงรณรงค์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุและข้าราชการเกษียณ[11]: 76  การละเมิดทรัพยากรของรัฐในรูปการผูกโครงการสวัสดิการของรัฐและการรณรงค์เลือกตั้งเป็นไปโดยกว้างขวาง โดยมีการตั้งชื่อพรรคการเมือง "พลังประชารัฐ" ให้คล้ายกับโครงการของรัฐ[11]: 77  วันที่ 20 มีนาคม 2562 ซึ่งเป็นเวลาไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ก่อนวันเลือกตั้งทั่วไป คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณ 37,900 ล้านบาทเข้ากองทุนประชารัฐ และกระทรวงการคลังจ่ายเงินค่าป่วยการแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 1 ล้านคน เป็นเงิน 1.8 พันล้านบาท และจ่ายเงินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกพืชหลังนา วงเงิน 2,922 ล้านบาท รวมตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2561 เป็นต้นมา รัฐบาลประยุทธ์อนุมัติงบประมาณอัดฉีดกว่า 80,000 ล้านบาท[61] รวมผู้ได้รับประโยชน์จากกองทุนเป็น 14 ล้านคน[11]: 77  พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองแบบถือฝ่าย เช่น แนะให้ผู้ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทยไปฟังเพลง "หนักแผ่นดิน" และสั่งให้กองทัพบกเปิดเพลงดังกล่าวทางสถานีวิทยุกองทัพบก แม้ต่อมาจะมีการยกเลิกคำสั่งดังกล่าว[62]

พรรคเพื่อไทยชูแนวนโยบายเศรษฐกิจ รวมทั้งนโยบายเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ส่งเสริมธุรกิจเอกชน กระตุ้นการท่องเที่ยว ขยายสาธารณสุขภาครัฐ เลิกการเกณฑ์ทหาร และลดรายจ่ายกลาโหม[63] พรรคพลังประชารัฐมีนโยบายส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และให้คำมั่นขยายโครงการสวัสดิการ[63] พรรคประชาธิปัตย์มีนโยบายนิยมตลาดเสรี นิยมเจ้า ประกันราคาพืชผลเกษตร บริการฉุกเฉินโรงพยาบาลไม่เสียค่าใช้จ่ายและประกันรายได้ขั้นต่ำภาครัฐ[63] พรรคอนาคตใหม่มีนโยบายร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีนโยบายเสรีนิยมที่เน้นความโปร่งใสของรัฐบาล การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและสิทธิกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ลดรายจ่ายกลาโหมนำมาขยายสวัสดิการสังคมและสาธารณสุข[63] พรรคภูมิใจไทยมีนโยบายกัญชาถูกกฎหมาย เวลาทำงานสี่วันต่อสัปดาห์ การตั้งสถานที่ทำงานร่วมกัน (co-working space)[63] พรรคชาติพัฒนามีนโยบายสร้างสนามกีฬา แหล่งพลังงานทางเลือก กำจัดหมอกควันและช่วยเหลือผู้พิการ[63] พรรคชาติไทยพัฒนามีนโยบายกระจายอำนาจ และการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและการศึกษา[63] พรรคเพื่อชาติมีนโยบายปรับปรุงสาธารณสุขต่างจังหวัด การขนส่งในเมือง และลดภาษีการขนส่งการเกษตร[63] พรรคประชาชาติมีแนวนโยบายการอยู่ร่วมกันระหว่างศาสนา การหาทางแก้ไขปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ และปราบปรามยาเสพติด[63] พรรคเสรีรวมไทยมีนโยบายลดขนาดกองทัพและย้ายหน่วยงานทหารออกนอกกรุงเทพมหานคร ตลอดจนพัฒนาเศรษฐกิจต่างจังหวัด[63] ต้นเดือนมีนาคม 2562 พรรคประชาธิปัตย์เสนอให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาท ส่วนพรรคพลังประชารัฐเสนอเป็นวันละ 425 บาท ทำให้ถูกกล่าวหาว่าเป็นนโยบายประชานิยม ทำไม่ได้จริง หรือทำให้ผู้ประกอบการเดือดร้อน[64] การสำรวจพรรคการเมืองของสหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ (FIDH) พบว่าส่วนใหญ่ไม่เต็มใจผูกมัดแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชน เพิ่มเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก และจำกัดบทบาทของกองทัพ[65]

หลังพรรคไทยรักษาชาติถูกยุบในเดือนมีนาคม 2562 ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักษาชาติหลายคนกลับไปเข้ากับพรรคเพื่อไทย รวมทั้งมีความพยายามถ่ายคะแนนไปยังพรรคเสรีรวมไทยและพรรคประชาชาติ[66] อดีตสมาชิกแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติไปเข้ากับพรรคเพื่อชาติ มีอดีตผู้สมัครรับเลือกตั้ง 1 คนไปเข้ากับพรรคภูมิใจไทย[66] และยังมียุทธวิธีการรณรงค์ไม่ประสงค์ลงคะแนน แต่กรรมการการเลือกตั้งมองว่าเป็นลักษณะที่ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพราะ "มีวัตถุประสงค์ให้มีคะแนนโหวตโนมากกว่าคะแนนผู้สมัคร ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการเลือกตั้ง"[66] อย่างไรก็ตาม พรรคอนาคตใหม่ไม่ใช่เป้าหมายเทคะแนนของอดีตสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ[66] แม้มีข่าวฐิติมา ฉายแสง อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้ง เชิญชวนให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตตนเลือกผู้สมัครพรรคอนาคตใหม่แทน[67] ด้านธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจปฏิเสธว่าโทรศัพท์คุยกับอดีตแกนนำพรรคไทยรักษาชาติเพื่อขอคะแนนเสียง[68]

ผลสำรวจ

กราฟผลสำรวจความนิยมของพรรคการเมือง

ผลสำรวจพรรคการเมืองที่ต้องการ

ระยะเวลาการสำรวจองค์การที่สำรวจกลุ่มตัวอย่างเพื่อไทยประชาธิปัตย์พลังประชารัฐอนาคตใหม่อื่น ๆคะแนนนำ
4–6 มีนาคม 2562กรุงเทพโพลล์1,73521.7%15.5%19%12%0.9%2.7%
1–28 กุมภาพันธ์ 2562มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์1,43119%24%12%27%18%3%
15 กุมภาพันธ์ 2562FT Confidential Research[69]1,00024%14%9%11%42%10%
11 กุมภาพันธ์ 2562มหาวิทยาลัยรังสิต[70]8,00016.90%18.30%21.50%7.40%35.9%3.20%
4–7 กุมภาพันธ์ 2562นิด้า2,09136.49%15.21%22.57%8.18%17.55%13.92%
2–15 มกราคม 2562นิด้า2,50032.72%14.92%24.16%11.00%17.20%8.56%
24 ธันวาคม 2561มหาวิทยาลัยรังสิต[71]8,00025.38%22.62%26.03%9.80%16.17%0.65%
10–22 ธันวาคม 2562ซุปเปอรฺ์โพล / YouGov[72]1,09438.30%22.80%4.70%24.40%9.80%13.90%
24 พฤศจิกายน 2561มหาวิทยาลัยรังสิต[73]8,00023.64%19.01%26.61%8.84%21.90%2.97%
20–22 พฤศจิกายน 2561นิด้า1,26031.75%16.98%19.92%15.63%15.72%11.83%
17–18 กันยายน 2561นิด้า1,25128.78%19.58%20.62%15.51%15.51%8.16%
17–19 กรกฎาคม 2561นิด้า1,25731.19%16.47%21.88%9.63%20.83%9.31%
8–9 พฤษภาคม 2561นิด้า1,25032.16%19.20%25.12%11.60%11.92%7.04%
3 กรกฎาคม 2554การเลือกตั้ง 255432,525,50448.41%35.15%--16.44%13.26%

หมายเหตุ: ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยรังสิตถูกกล่าวหาว่าไม่มีความน่าเชื่อถือเนื่องจากเชื่อว่ามีความลำเอียงต่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพรรคพลังประชารัฐ สังศิต พิริยะรังสรรค์ หัวหน้าผู้จัดทำการสำรวจ เป็นผู้สนับสนุนประยุทธ์อย่างเปิดเผย และผู้กังขากล่าวหาว่ามีการตกแต่งผลให้สำรวจให้เข้าข้างประยุทธ์และพรรคพลังประชารัฐมากขึ้น[74] ต่อมา มีการประกาศว่าจะยุติการสำรวจโดยใช้ชื่อมหาวิทยาลัยเป็นผู้สำรวจเพื่อไม่ให้ชื่อเสียงมหาวิทยาลัยเสียหาย[75] อย่างไรก็ตาม ในเดือนกุมภาพันธ์สังศิตและมหาวิทยาลัยรังสิตยังออกผลสำรวจมาอีกครั้งหนึ่ง[70]

ผลสำรวจบุคคลเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีที่ต้องการ

ระยะเวลาการสำรวจองค์การที่สำรวจกลุ่มตัวอย่างประยุทธ์สุดารัตน์อภิสิทธิ์ธนาธรอื่น ๆคะแนนนำ
1–28 กุมภาพันธ์ 2562ม.อ. โพล1,43110.30%8.00%12.00%16.10%53.60%4.10%
4–7 กุมภาพันธ์ 2562นิด้า2,09126.06%24.01%11.43%5.98%32.52%2.05%
2–15 มกราคม 2562นิด้า2,50026.20%22.40%11.56%9.60%30.24%3.08%
24 ธันวาคม 2561มหาวิทยาลัยรังสิต[71]8,00026.04%25.28%22.68%9.90%16.10%0.76%
24 พฤศจิกายน 2561มหาวิทยาลัยรังสิต[73]8,00027.06%18.16%15.55%9.68%29.55%8.90%
20–22 พฤศจิกายน 2561นิด้า1,26024.05%25.16%11.67%14.52%24.60%1.11%
17–18 กันยายน 2561นิด้า1,25129.66%17.51%10.71%13.83%28.29%1.37%
17–19 มิถุนายน 2561นิด้า1,25731.26%14.96%10.50%7.48%35.80%16.30%
8–9 พฤษภาคม 2561นิด้า1,25032.24%17.44%14.24%10.08%18.08%14.80%

การเลือกตั้ง

หน่วยเลือกตั้งบนเกาะสมุย

คณะกรรมการการเลือกตั้งริเริ่มใช้แอปพลิเคชันอุปกรณ์เคลื่อนที่สามแอพสำหรับผู้ออกเสียงและเจ้าหน้าที่ แอพ "Smart Vote" มีข้อมูลเกี่ยวกักระบวนการเลือกตั้งและผู้สมัคร แอพมียอดดาวน์โหลดกว่า 100,000 ครั้ง, แอพ "ตาสัปปะรด" ซึ่งเข้าสู่ระบบด้วยเลขประจำตัวประชาชนใช้สำหรับร้องเรียนความไม่ชอบมาพากลต่อ กกต. และแอพ "Rapid Report" ซึ่งให้เจ้าหน้าที่ใช้ส่งต่อผลการนับคะแนนขึ้นไปตามสายบังคับบัญชา[11]: 42–3 

การเลือกตั้งล่วงหน้า

มีการตั้งศูนย์เลือกตั้งล่วงหน้า 395 แห่ง อย่างน้อยเขตเลือกตั้งละหนึ่งแห่ง นอกจากนี้ศูนย์เลือกตั้งล่วงหน้า 3 แห่งยังเป็นกล่องลงคะแนนเคลื่อนที่สำหรับผู้พิการ[11]: 31  กกต. เปิดเผยว่ามีผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต 2.63 ล้านคน[76] มีผู้ออกมาใช้สิทธิในวันที่ 17 มีนาคม 2562 คิดเป็นร้อยละ 86.98 พบการกระทำที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย 3 กรณี คือ 1. พบบุคคลนำบัตรเลือกตั้งทั้งเล่มไปทำเครื่องหมายให้ผู้สมัครพรรคการเมืองพรรคเดียวในจังหวัดสมุทรปราการ 2. มีการนำบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลอื่นไปใช้สิทธิแทนในจังหวัดอุทัยธานี และ 3. มีการทำเอกสารปลอมแจ้งว่า กกต. ไม่รับรองผู้สมัครคนหนึ่งที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มีบางกรณีที่ผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าไม่พบข้อมูลที่หน่วยเลือกตั้ง จนเมื่อตรวจสอบแล้วจึงให้ใช้สิทธิ[77] ด้านผู้ใช้สื่อสังคมแสดงความคิดเห็นว่ามีหลายกรณีที่แจกบัตรเลือกตั้งผิดเขตแล้วกรรมการไม่ยอมเปลี่ยนบัตรให้ ไม่มีการพิมพ์ลายนิ้วมือทำให้เกรงว่าอาจมีการสับเปลี่ยนบัตรเลือกตั้ง[78]

การเลือกตั้งทั่วไป

มีผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งต่างประเทศ 11 ประเทศและองค์การระหว่างประเทศ 1 องค์การ[79] ด้านสหภาพยุโรปชี้แจงว่าไม่สามารถส่งผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งได้เพราะไม่ได้รับเชิญจากประเทศเจ้าภาพตามกำหนดทำให้ไม่มีเวลาเตรียมการ[80] มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (พีเน็ต) องค์การสังเกตการณ์การเลือกตั้งวิจารณ์กรรมการการเลือกตั้งว่าจัดการเลือกตั้งมีปัญหา เจ้าหน้าที่ประจำเขตเลือกตั้งหย่อนยานการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ ปล่อยให้มีเจ้าหน้าที่รัฐไปควบคุมการลงคะแนนของผู้มาใช้สิทธิ และไม่ป้องกันการทุจริตการเลือกตั้งเท่าที่ควร นอกจากนี้ยังวิจารณ์การใช้อิทธิพลของรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐ การทุ่มเงินซื้อเสียงทั้งในช่วงการปราศรัยหาเสียงและในช่วงคืนก่อนใกล้เลือกตั้งในหลายพื้นที่[81] เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี (ANFREL) ระบุว่ามีการอำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการใช้ล้อเข็นและผู้พิการทางสายตา แต่วิจารณ์ว่าในบางพื้นที่มีการตรวจบัตรประชาชนของผู้ออกเสียงไม่เพียงพอ และจุดเลือกตั้งบางจุดจงใจจัดไว้ใกล้กับร้านธงฟ้าประชารัฐซึ่งเป็นโครงการของรัฐ[11]: 83–4  มีผู้แทนจากพรรคการเมืองและผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งในประเทศน้อย มีผู้สังเกตการณ์ของ ANFREL คนหนึ่งถูกตำรวจขอให้ส่งมอบข้อมูลที่บันทึกด้วย[11]: 85  กระบวนการนับคะแนนในสถานีเลือกตั้งส่วนใหญ่เป็นไปอย่างสุจริต แต่ขาดความโปร่งใสอย่างร้ายแรงในขั้นตอนการทำตารางคะแนนและการรวมคะแนน นอกจากนี้ การนับคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะเพียงพอ[11]: 86 

การหยั่งเสียงเลือกตั้งจากผู้ใช้สิทธิ์แล้ว (exit poll) ทุกสำนักให้พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส. มากที่สุดแต่ไม่พอจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว ตามมาด้วยพรรคพลังประชารัฐและประชาธิปัตย์ ยกเว้น Exclusive Poll ที่ให้พรรคพลังประชารัฐมากกว่าเพื่อไทย

ผลการหยั่งเสียงเลือกตั้งจากผู้ใช้สิทธิ์แล้ว
สวนดุสิตโพล[82]ซูเปอร์โพล[83]Exclusive Poll[84]
เพื่อไทย173163130–135
พลังประชารัฐ9696135–140
ประชาธิปัตย์887785–90
ภูมิใจไทย405965–70
อนาคตใหม่494020

ผลการเลือกตั้ง

ผลอย่างเป็นทางการ

116
53
51
63
81
136
พลังประชารัฐ
ประชาธิปัตย์
ภูมิใจไทย
อื่น ๆ
อนาคตใหม่
เพื่อไทย
e • d ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562
พรรค
คะแนนเสียง
%
ที่นั่ง
แบ่งเขต
บัญชีรายชื่อ
รวม
เพื่อไทย7,881,00622.16
1360
136 / 500
พลังประชารัฐ8,441,27423.74
9719
116 / 500
อนาคตใหม่6,330,61717.80
3150
81 / 500
ประชาธิปัตย์3,959,35811.13
3320
53 / 500
ภูมิใจไทย3,734,45910.50
3912
51 / 500
เสรีรวมไทย824,2842.32
010
10 / 500
ชาติไทยพัฒนา783,6892.20
64
10 / 500
ประชาชาติ481,4901.35
61
7 / 500
เศรษฐกิจใหม่486,2731.37
06
6 / 500
เพื่อชาติ421,4121.19
05
5 / 500
รวมพลังประชาชาติไทย415,5851.17
14
5 / 500
ชาติพัฒนา244,7700.69
12
3 / 500
พลังท้องถิ่นไท214,1890.60
03
3 / 500
รักษ์ผืนป่าประเทศไทย134,8160.38
02
2 / 500
พลังปวงชนไทย80,1860.23
01
1 / 500
พลังชาติไทย73,4210.21
01
1 / 500
ประชาภิวัฒน์69,4310.20
01
1 / 500
พลังไทยรักไทย60,4340.17
01
1 / 500
ไทยศรีวิไลย์60,3540.17
01
1 / 500
ครูไทยเพื่อประชาชน56,6330.16
01
1 / 500
ประชานิยม56,2640.16
01
1 / 500
ประชาธรรมไทย48,0370.14
01
1 / 500
ประชาชนปฏิรูป45,4200.13
01
1 / 500
พลเมืองไทย44,9610.13
01
1 / 500
ประชาธิปไตยใหม่39,2600.11
01
1 / 500
พลังธรรมใหม่35,0990.10
01
1 / 500
อื่น ๆ57,3440.16
00
0 / 500
คะแนนสมบูรณ์35,561,556100350150500
คะแนนเสีย2,130,3275.57
ไม่ประสงค์ลงคะแนน605,3921.58
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง38,268,36674.69
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง51,239,638
ที่มา: คณะกรรมการการเลือกตั้ง คะแนนเสียง ส.ส. แบบแบ่งเขต, ผล ส.ส. แบบแบ่งเขต, ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ


ผลการเลือกตั้งปี 2554
ผลการเลือกตั้งปี 2562
สังเกตการเสียที่นั่งของพรรคเพื่อไทยในภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่างและภาคอีสานบางส่วน และการเสียที่นั่งของพรรคประชาธิปัตย์ในกรุงเทพมหานครและภาคใต้
แผนภาพคาร์โตแกรมแสดงผลการเลือกตั้งปี 2562 โดยปรับสัดส่วนให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีขนาดเท่ากันทั้งหมด

ผลการเลือกสมาชิกสภาผู้ราษฎรแบบแบ่งเขต

ผลการเลือกตั้งปี 2562 มีห้าพรรคซึ่งประกอบด้วยพรรคเพื่อไทย พลังประชารัฐ อนาคตใหม่ ประชาธิปัตย์และภูมิใจไทยได้ที่นั่งร้อยละ 86.8 ในสภาล่าง เมื่อเทียบกับในปี 2554 ซึ่งพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์สองพรรคครองที่นั่งเกินร้อยละ 80[85]: 165  พรรคเพื่อไทยยังรักษาอัตราชนะเลือกตั้งที่ร้อยละ 54.4 และครองฐานเสียงในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือไว้ได้ พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้แพ้ใหญ่สุดในการเลือกตั้ง โดยเสียฐานในภาคใต้ตอนบนและกรุงเทพมหานคร สำหรับพรรคพลังประชารัฐและอนาคตใหม่ซึ่งเป็นพรรคใหม่เป็นผู้ชนะรายใหญ่สุด ส่วนหนึ่งจากสภาพที่มีการแบ่งขั้วอย่างสูงในการเมืองไทย โดยผู้สมัครอดีต ส.ส. ที่พรรคพลังประชารัฐดูดจากพรรคอื่นได้รับเลือกตั้งกลับมาเกินครึ่ง และพรรคอนาคตใหม่ใช้สื่อสังคมทำให้ได้รับเสียงจากเยาวชน ผู้เลือกตั้งครั้งแรกและคนในเขตเมืองทั้งกรุงเทพมหานคร ภาคกลางและภาคตะวันออก[85]: 165–7 

ความสับสนเรื่องการประกาศผลการเลือกตั้ง

คืนวันเลือกตั้ง หลังการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการแล้วเสร็จไปร้อยละ 93 พบว่าพรรคพลังประชารัฐได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด (7.59 ล้านคะแนน) รองลงมาสี่อันดับได้แก่ พรรคเพื่อไทย (7.12 ล้านคะแนน) พรรคอนาคตใหม่ (5.23 ล้านคะแนน) พรรคประชาธิปัตย์ (3.23 ล้านคะแนน) และพรรคภูมิใจไทย (3.20 ล้านคะแนน) พรรคพลังประชารัฐและพรรคเพื่อไทยได้ ส.ส. พึงมีจำนวนไล่เลี่ยกัน แต่พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส. แบบแบ่งเขตมากกว่า[86] กรรมการการเลือกตั้งเปิดเผยว่า มีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 65.96 ของผู้มีสิทธิทั้งหมด 51.2 ล้านคน เป็นบัตรเสียร้อยละ 5.6 และไม่ประสงค์ลงคะแนนร้อยละ 1.5[87] อย่างไรก็ดี กรรมการการเลือกตั้งกลับตัดสินใจเลื่อนการประกาศผลการเลือกตั้งในคืนวันเลือกตั้งโดยอ้างว่า "ไม่มีเครื่องคิดเลข"[88] การเลื่อนการประกาศผลทำให้มีความกังวลว่าอาจมีการโกงการเลือกตั้ง[89] วันรุ่งขึ้น กรรมการการเลือกตั้งประกาศผู้ได้รับเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตอย่างไม่เป็นทางการทั้ง 350 เขต[90] กรรมการการเลือกตั้งกล่าวโทษสื่อต่าง ๆ ว่ามีข้อผิดพลาดของมนุษย์ทำให้ตัวเลขที่ได้ไม่ตรงกัน[91] และให้รอคะแนนทั้ง 350 เขตในภายหลัง[92] ทั้งนี้ กกต. จะประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 พฤษภาคม 2562 เพราะต้องไต่สวนสำนวนที่อาจมีผลเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้ได้รับเลือกตั้งก่อน[91] มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 186 เรื่อง[93] ผลการเลือกตั้งทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่นั่งส่วนเกิน (overhang) ซึ่งพรรคเพื่อไทยชนะได้ ส.ส. แบบแบ่งเขตมากกว่า ส.ส. พึงมี ทำให้เหลือที่นั่งสำหรับ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อไม่ถึง 150 ที่นั่ง ในกรณีนี้เคยมีการอภิปรายแล้วว่าจะ "ต้องปรับสูตรคำนวณจำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อให้เท่ากับ 150 คน ด้วยการใช้เทียบบัญญัติไตรยางค์"[94]

กกต. ประกาศคะแนนมหาชนของแต่ละพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 มีนาคม 2562 นอกจากนี้ ยังประกาศว่าผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งเพิ่มขึ้นเป็น 38.26 ล้านคน (ร้อยละ 74.69) โดยอ้างว่าตัวเลขผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งเดิมคิดโดยยึดฐานข้อมูลขณะประกาศผลร้อยละ 93[95] ด้านคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แกนนำพรรคเพื่อไทย ตั้งข้อสังเกตว่าจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งและร้อยละของผู้มาใช้สิทธิที่ กกต. แถลงไว้เมื่อวันที่ 24 กับ 28 มีนาคม 2562 ไม่ตรงกัน[96] กกต. ลบผลคะแนนมหาชนในวันที่ 28 พฤษภาคมหลังมีข้อค้นพบดังกล่าว กรรมการการเลือกตั้งคนหนึ่งระบุว่าสาเหตุที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งก่อนและหลังการเลือกตั้งไม่ตรงกันนั้นเป็นเพราะมีผู้มาใช้สิทธิบางส่วนมาลงทะเบียนแล้วแต่ไม่ได้ลงคะแนน[93] วันที่ 4 เมษายน กกต. สั่งนับคะแนนใหม่ในหน่วยเลือกตั้ง 2 หน่วย และจัดการเลือกตั้งใหม่ใน 6 หน่วยมีกำหนดในวันที่ 21 เมษายน 2562 กกต. แถลงว่าให้นับคะแนนใหม่เพราะผลการนับคะแนนไม่ตรงกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิและจำนวนบัตรเลือกตั้ง ส่วนหน่วยที่มีคำสั่งให้จัดการเลือกตั้งใหม่นั้นเนื่องจากผู้มาใช้สิทธิไม่ตรงกับจำนวนบัตรเลือกตั้ง[97] โดยหน่วยเลือกตั้งที่มีคำสั่งให้นับคะแนนใหม่ ได้แก่ หน่วยเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดขอนแก่น ซึ่งผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยชนะ[97] ส่วนหน่วยเลือกตั้งที่มีคำสั่งให้จัดการเลือกตั้งใหม่ มีจำนวน 6 หน่วย โดยเป็นหน่วยที่ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยชนะ 4 หน่วย และหน่วยที่ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐชนะ 2 หน่วย[97]

ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งในการเลือกตั้ง ส.ส. เขต 1 นครปฐม, 29 เมษายน 2562

วันที่ 21 เมษายน 2562 มีการเลือกตั้งซ่อมใน 254 หน่วยเลือกตั้งหลังพบว่ามี "บัตรเขย่ง" อย่างไรก็ตาม ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงผู้ชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ยกเว้นในจังหวัดนครปฐม โดยจะมีการประกาศผลนับคะแนนใหม่ในวันที่ 28 เมษายน[98] วันที่ 23 เมษายน 2562 กกต. มีมติเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. เขต 8 จังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย เพราะ "สัญญาว่าจะให้เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด" และให้จัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 26 พฤษภาคม โดยพรรคเพื่อไทยจะเสียคะแนนเดิมในเขตนี้[98] นอกจากนี้ยังกรณีที่พบว่า กกต. จังหวัดกับเลขา กกต. รายงานผลการเลือกตั้งส.ส. เขต 1 นครปฐมไม่ตรงกัน โดย กกต. จังหวัดรายงานว่าผู้สมัครพรรรคอนาคตใหม่ชนะ ส่วนเลขา กกต. รายงานว่าผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ชนะ[99]

การคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ

กฎหมายไม่ได้กำหนดสูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อชัดเจน มีการเปิดเผยว่าสูตรการคำนวณจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อแบ่งได้ 3 สูตร ซึ่งอาจทำให้พรรคการเมืองขนาดเล็กมีที่นั่งเปลี่ยนแปลงถึง 7 ที่นั่ง[100] โดยก่อนการเลือกตั้ง กกต. ประมาณว่าพรรคจะที่ได้รับจัดสรร ส.ส. บัญชีรายชื่อต้องได้คะแนนเสียงขั้นต่ำ 70,000 คะแนน[101] วันที่ 5 เมษายน 2562 กกต. เปิดเผยสูตรคำนวณจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ เนื่องจากการมีที่นั่งเกินทำให้มีการจัดสรรที่นั่งให้แก่พรรคการเมืองขนาดเล็กเพิ่มรวม 25 พรรค ทั้งนี้ กกต. แถลงว่าจำนวนดังกล่าวยึดตัวเลขที่ประกาศเมื่อวันที่ 28 มีนาคม[102] สูตรดังกล่าวลดคะแนนเสียงขั้นต่ำเหลือ 35,000 คะแนน[101] วันที่ 11 เมษายน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความการใช้สูตรเพื่อจัดสรร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อให้แก่พรรคการเมืองที่มี ส.ส. พึงมีน้อยกว่า 1 คนชอบด้วยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่[103] ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับเรื่องดังกล่าวเพราะ กกต. ไม่มีอำนาจ[104] วันที่ 26 เมษายน 2562 ผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย[105]

วันที่ 7 พฤษภาคม 2562 กกต. ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง 349 เขต ยกเว้นเขตเลือกตั้งที่ 8 จังหวัดเชียงใหม่ที่ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยชนะ โดย กกต. สั่งตัดสิทธิผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย และให้จัดการเลือกตั้งใหม่ ทว่า กกต. ยังไม่ประกาศคะแนนมหาชนของแต่ละพรรคการเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงตามผู้สมัครเขตต่าง ๆ ที่ถูกตัดสิทธิ[106] วันต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยด้วยมติเอกฉันท์ว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาตรา 128 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 91[107] และ กกต. ประกาศรับรอง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 149 คน ซึ่งรวมพรรคการเมืองที่ได้ที่นั่งมากกว่า ส.ส. พึงมีรวม 11 พรรคด้วย[c][108]

พรรคเพื่อไทย[109] พรรคประชาธิปัตย์[110] และพรรคอนาคตใหม่[111] ประกาศคัดค้านสูตรคำนวณ ส.ส. ที่ กกต. ใช้ เช่นเดียวกับปัจเจกบุคคล เช่น สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต.[112] และลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ เลขาธิการพีเน็ต[113] นอกจากนี้ได้เกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์และการติดแฮชแท็กบนทวิตเตอร์ โดยเรียก ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อจากพรรคการเมืองขนาดเล็กซึ่งได้คะแนนเสียงต่ำกว่า 71,000 คะแนนจำนวน 11 พรรค ว่าเป็น "ส.ส. เอื้ออาทร"[114][115]

การเลือกตั้งซ่อม

ผลสืบเนื่อง

หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนของสหราชอาณาจักรรายงานว่า คนไทยอาจต้องการเสถียรภาพทางการเมืองและสังคมมากกว่าสนใจปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และการเมืองไทยน่าจะแบ่งขั้วรุนแรงยิ่งกว่าเก่า ด้านแชแนลนิวส์เอเชียและหนังสือพิมพ์เดอะสเตรตส์ไทมส์ของสิงคโปร์ระบุว่าแม้พรรคพลังประชารัฐได้จัดตั้งรัฐบาล แต่ก็จะเป็นรัฐบาลที่ขาดเสถียรภาพและไม่สามารถผ่านกฎหมายได้[116] สื่อวิเคราะห์สาเหตุที่พรรคพลังประชารัฐได้รับความนิยมไปต่าง ๆ นานา สำนักข่าวรอยเตอส์รายงานว่า น่าจะมีอิทธิพลของสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องด้วยไม่มากก็น้อย ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานว่า ทักษิณ ชินวัตรใช้ความเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์มากเกินไปทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรง[116] คาร์โล โบนูรา อาจารย์จากวิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา ระบุว่า "ฝ่ายผู้นำทหารสามารถดึงตัวนักการเมืองที่มีประสบการณ์มาร่วมพรรคที่สนับสนุนทหารได้ และการเลือกตั้งในไทยมีการยึดต่อตัวบุคคลสูงมาก"[117] นอกจากนี้ พรรคอนาคตใหม่ที่ได้คะแนนมากเป็นอันดับสามจะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวัยในการเมืองไทย[116] ทีมข่าวการเมือง หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มองว่าในสภาวะที่ "ฝ่ายพรรคการเมือง" และ "ฝ่ายรัฐประหาร" ไม่สามารถตั้งรัฐบาลใหม่ได้ รัฐบาลประยุทธ์จะได้เป็นรัฐบาลต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งในสภาวะทางตันเช่นนี้ อาจต้องอาศัยประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข[118] เควิน เฮวีสัน ศาสตราจารย์กิตติคุณจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา ระบุว่า กกต. อาจตัดสิทธิผู้ชนะการเลือกตั้งบางคนจนถึงขั้นยุบพรรคการเมืองบางพรรค ซึ่งอาจทำให้เกิดการประท้วงตามท้องถนนอีก หรือในกรณีที่เลวร้ายที่สุด อาจมีรัฐประหารอีกครั้ง[119] เดวิด สเตร็คฟัส นักวิชาการชาวอเมริกัน ระบุว่า ประเทศไทยได้รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และการเลือกตั้งที่เป็นผลดีต่อทหาร[120] ด้าน รศ. ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ กล่าวว่า "นี่ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่แท้จริง มันคือการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยภายใต้การดูแลทหาร"[120] นักวิเคราะห์ยังมองว่า ประเด็นเรื่องทักษิณ ชินวัตรจะมีความสำคัญน้อยลงในการเมืองไทย แต่จะเปลี่ยนไปเป็นความขัดแย้งระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการมากขึ้น[119]

การเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรค

คืนวันเลือกตั้ง หลังนับคะแนนไปได้ประมาณร้อยละ 90 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคหลังพรรคมีโอกาสสูงที่จะได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรน้อยกว่า 100 ที่นั่งตามการให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ ทำให้พรรคประชาธิปัตย์อาจมีโอกาสไปตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ[121] วันที่ 15 พฤษภาคม จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่[122]

การจัดตั้งรัฐบาล

แถลงการณ์ลงนามหยุดการสืบทอดอำนาจของ คสช. ที่พรรคเพื่อไทยและพันธมิตรลงนามเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2562

วันที่ 25 มีนาคม 2562 พรรคเพื่อไทยเชื่อมั่นว่าตนได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตมากที่สุด จึงขอตั้งรัฐบาล[123] ด้านพรรคพลังประชารัฐซึ่งแถลงว่าพรรคได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนมากที่สุดระบุว่าพร้อมจัดตั้งรัฐบาลเช่นกัน[124] พรรคอนาคตใหม่แถลงไม่เสนอชื่อธนาธรเป็นนายกรัฐมนตรี แต่จะให้พรรคที่ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันดับหนึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมเสนอเงื่อนไขร่วมรัฐบาล คือ ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและให้พลเรือนควบคุมกองทัพ[125] สำหรับพรรคภูมิใจไทยกำหนดเงื่อนไขร่วมรัฐบาลว่าต้องมีนโยบายกัญชาเสรี[126] ธนาธรกล่าวว่าพร้อมสนับสนุนคุณหญิงสุดารัตน์เป็นนายกรัฐมนตรีแม้ไม่ได้เป็น ส.ส. เนื่องจากนายกรัฐมนตรีควรมาจากพรรคการเมืองที่ได้ที่นั่งมากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร และสิ่งสำคัญอันดับแรกคือการยุติการสืบทอดอำนาจ[127] มีข่าวลือว่าพรรคภูมิใจไทยเจรจากับพรรคพลังประชารัฐเพื่อจัดตั้งรัฐบาล โดยขอตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม นอกจากนี้ พรรคพลังประชารัฐยังเตรียมเจรจาตำแหน่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้พรรคประชาธิปัตย์อีกด้วย[128] วันที่ 27 มีนาคม 2562 พรรคเพื่อไทยนำพรรคพันธมิตรทางการเมืองรวม 6 พรรค ได้แก่ พรรคอนาคตใหม่ พรรคเสรีรวมไทย พรรคประชาชาติ พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคเพื่อชาติและพรรคพลังปวงชนไทยประกาศตั้งรัฐบาล โดยมีผู้แทนจากพรรคการเมืองดังกล่าวยกเว้นพรรคเศรษฐกิจใหม่เข้าร่วมลงนามสัตยาบันคัดค้านการสืบทอดอำนาจ คสช. ด้านมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ ชี้แจงว่าแม้ตนไม่ได้เข้าร่วม แต่ส่งสารมาสนับสนุน[129]

ช่วงเดือนเมษายน 2562 มีผู้เสนอให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ และให้มีนายกรัฐมนตรีนอกเหนือจากบัญชีรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองต่าง ๆ เสนอเพื่อแก้ไขปัญหาการเมืองไม่มีทางออก ซึ่งรัฐธรรมนูญก็เปิดช่องไว้[130] วันที่ 25 เมษายน 2562 หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ลงข่าวว่า พรรคพลังประชารัฐสามารถรวบรวมเสียง ส.ส. ได้ถึง 270 ที่นั่ง ประกอบด้วยพรรคภูมิใจไทย ประชาธิปัตย์ ชาติไทยพัฒนา รวมพลังประชาชาติไทย เศรษฐกิจใหม่ พลังท้องถิ่นไท และ ส.ส. พรรคอื่นที่จะขัดมติพรรคอีก 40 คน[131]

ช่วงเดือนพฤษภาคม 2562 หลัง กกต. ประกาศรายชื่อ ส.ส. มีข่าวว่าพรรคพลังประชารัฐรวบรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาล แต่พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์และพรรคชาติไทยพัฒนาไม่พอใจกับโควตารัฐมนตรีที่ได้รับ และว่าพรรคพลังประชารัฐยึดกระทรวงเศรษฐกิจไว้เองทั้งหมด นอกจากนี้ยังอึดอัดใจที่จะสนับสนุนพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี และการมีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และบุคคลจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติร่วมรัฐบาล[132] ด้านธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ให้สัมภาษณ์ว่ากำลังรวบรวมเสียงจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ซึ่งมี ส.ส. รวม 378 ที่นั่ง แต่ไม่ตอบว่าจะสนับสนุนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจากพรรคประชาธิปัตย์ หรืออนุทิน ชาญวีรกุลจากพรรคภูมิใจไทย เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่[133]

วันที่ 27 พฤษภาคม 2562 พรรคภูมิใจไทยประกาศจะตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ โดยมีกระแสข่าวว่าพรรคจะได้รับจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา[134] อย่างไรก็ดี หลังมีข่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์อาจไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐด้วย พรรคภูมิใจไทยก็ว่าตนก็อาจไม่เข้าร่วมเช่นกัน[135] ต้นเดือนมิถุนายน 2562 มีข่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์เจรจาได้ที่นั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์[136] และมีมติร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ[137]

วันที่ 5 มิถุนายน 2562 สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาลงมติเลือกพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย โดยได้รับคะแนนเสียงจาก ส.ส. ทั้งหมด 19 พรรค นับเป็นรัฐบาลผสมที่มีพรรคการเมืองจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม จนถึงเดือนกรกฎาคมยังไม่สามารถตั้งรัฐบาล โดยมีข่าวนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลชิงตำแหน่งรัฐมนตรีกันอยู่เนือง ๆ[138] มีข่าวว่าพรรคพลังประชารัฐจะยึดกระทรวงที่เคยตกลงไว้กับพรรคภูมิใจไทยและประชาธิปัตย์[139] สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์บางส่วนประกาศลาออกจากพรรคหลังพรรคเข้าร่วมรัฐบาลและสนับสนุนประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี[140][141][142][143] ส่วนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศลาออกจากตำแหน่ง ส.ส.[144]

วันที่ 10 กรกฎาคม 2562 มีประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ซึ่งบีบีซีไทยระบุว่ามาจากพรรคพลังประชารัฐ 18 คน (โควตาประยุทธ์ 7 คน โควตาพรรค 3 คน โควตา กปปส. 2 คน โควตากลุ่มสามมิตร 2 คน โควตามุ้ง 4 คน) พรรคประชาธิปัตย์ 7 คน ภูมิใจไทย 7 คน ชาติไทยพัฒนา 2 คน รวมพลังประชาชาติไทย 1 คน และชาติพัฒนา 1 คน[145]

คดีความและการพิจารณาเพิกถอนสิทธิผู้สมัครรับเลือกตั้ง

ช่วงต้นเดือนเมษายน 2562 ทางการไทยแจ้งข้อหาต่อธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ รศ. ปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำพรรคอนาคตใหม่ ในคดียุยงปลุกปั่นเกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116[146] วันที่ 18 เมษายน 2562 ผู้สมัครรับเลือกตั้งจากพรรคเศรษฐกิจใหม่ยื่น กกต. ขอให้ยุบพรรคตนเองเพราะชื่อว่ามีคนนอกครอบงำพรรค รวมทั้งขอให้ กกต. ไม่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง[147] วันที่ 26 เมษายน 2562 ผู้ชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตพรรคพลังประชารัฐคนหนึ่งถูกยื่นสอบคุณสมบัติผู้สมัครเพราะถือหุ้นสื่อ[148]

ปฏิกิริยา

แกนนำพรรคเพื่อไทยแถลงในคืนวันเลือกตั้งว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีความไม่ชอบมาพากล มีการใช้เงินมากในบางพื้นที่ และมีการส่งบุคลากรมาพบสมาชิกพรรคเพื่อไทยในช่วง 2 วันก่อนการเลือกตั้ง[149] ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เขียนลงหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์วิจารณ์กรรมการการเลือกตั้งที่เปิดเผยผลการเลือกตั้งเบื้องต้นอย่างเป็นทางการล่าช้า ซึ่งแสดงว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติกลัว ทักษิณชี้ว่าในบางพื้นที่มีคะแนนที่ผู้สมัครได้รับเกินผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผลการเลือกตั้งที่ กกต. กลางออกไม่ตรงกับคะแนนที่สถานีเลือกตั้ง มีรายงานว่าบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนเสียงไม่ถูกต้องแต่เลือกพรรคพลังประชารัฐกลับถูกนับเป็นบัตรดี และมีบัตรเลือกตั้งถูกนับเป็นบัตรเสียมากจนน่ากังขา[150] ด้านสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปเรียกร้องให้ทางการสอบสวนความไม่ชอบมาพากลในการเลือกตั้ง ฝ่ายสหรัฐเรียกร้องให้กรรมการการเลือกตั้งเปิดเผยผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการโดยเร็ว[151] คณะกรรมการการเลือกตั้งยืนยันว่าไม่มีบัตรปลอมและบัตรเกิน พร้อมขู่ว่าหากแบ่งปันข่าวปลอมดังกล่าวจะมีความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550[152]

พลตำรวจเอก ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ระบุว่า มีการเตรียมกำลังและที่คุมขังพร้อมรับการชุมนุมคัดค้านผลการเลือกตั้ง[153] วันที่ 28 มีนาคม 2562 ผู้บัญชาการห้าเหล่าทัพแถลงจุดยืนร่วมกันว่าการดำเนินการตามพระบรมราโชวาทให้คนดีปกครองบ้านเมือง และให้ประชาชนเชื่อมั่นในการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง[154]

สภาพไม่แน่นอนหลังการเลือกตั้งทำให้ต่างชาติชะลอการลงทุนในประเทศไทย โดยตั้งแต่ต้นปี 2562 ไฟแนนเชียลไทมส์ คำนวณว่าต่างชาติถอนเงินจากตลาดหุ้นและพันธบัตร 730 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[155]

วันที่ 2 เมษายน 2562 พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก แถลงให้ประชาชนทุกฝ่ายสามัคคีกันและเคารพกติกา สาธยายพฤติกรรมของนักการเมืองในอดีต พร้อมทั้งกล่าวหาผู้ไปศึกษาต่อต่างประเทศบางคนว่ามีพฤติการณ์พยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข[156]

การประท้วงคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องส่วนใหญ่รู้สึกว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งลำเอียงเข้าข้างพรรคพลังประชารัฐ เมื่อดูจากการปฏิบัติต่อพรรคพลังประชารัฐเมื่อเทียบกับพรรคอื่น[11]: 53  คณะกรรมการการเลือกตั้งตัดสิทธิ์ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยคนหนึ่งฐานบริจาคเงินในช่วงรณรงค์หาเสียง และผู้สมัครจากพรรคอนาคตใหม่คนหนึ่งฐานเป็นเจ้าของบริษัทสื่อทั้งที่ยังไม่ได้ประกอบธุรกิจ อย่างไรก็ดี ผู้สมัครรายอื่นอีกหลายคนก็บริจาคเงินระหว่างรณรงค์หาเสียงและถือหุ้นสื่อเช่นเดียวกัน แต่ไม่ถูกตัดสิทธิ[11]: 55, 57 

วันที่ 27 มีนาคม 2562 สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยเตรียมรวบรวมรายชื่อประชาชน 20,000 คนเพื่อยื่นถอดถอนคณะกรรมการการเลือกตั้งหลังมีมติให้บัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรจากประเทศนิวซีแลนด์เป็นโมฆะ[55] มีการตั้งโต๊ะรวบรวมรายชื่อเพื่อยื่นถอดถอนคณะกรรมการการเลือกตั้งในพื้นที่ 9 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ[157] แต่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไม่ให้จัดกิจกรรมดังกล่าว จึงย้ายไปอยู่หน้าประตูทางเข้าแทน[158] มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบไปสังเกตการจัดกิจกรรมดังกล่าวที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยระบุว่าไปดูว่าทำผิดกฎหมายชุมนุมในที่สาธารณะหรือไม่[159] ในวันที่ 31 มีนาคม 2562 มีการตั้งโต๊ะรวบรวมรายชื่อบริเวณแยกราชประสงค์[160] และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ[161] วันที่ 1 เมษายน บนเว็บไซต์ change.org มีการร่วมลงชื่อถอดถอนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งในวันที่ 30 มีนาคม สามารถรวบรวมรายชื่อได้ถึง 800,000 รายชื่อแล้ว[162] องค์การที่ยื่นหนังสือเพื่อต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติให้ถอดถอน กกต. ได้แก่ เครือข่ายคนรุ่นใหม่[163] และสมาคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย[164]

วันที่ 8 เมษายน 2562 กลุ่มเครือข่ายนักศึกษาติดตามการเลือกตั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออ่านแถลงการณ์ระบุถึงความหย่อนสมรรถนะของ กกต.[165] วันที่ 10 เมษายน นักวิชาการเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองเข้ายื่นจดหมายต่อ กกต. ให้เปิดเผยคะแนนอย่างโปร่งใสและให้ถอนฟ้องประชาชนที่วิจารณ์ กกต. เช่นเดียวกับเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมและสิทธิมนุษยชนจำนวน 63 องค์การ[166] วันที่ 11 เมษายน มีการจัดกิจกรรมชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเพื่อเรียกร้องให้ กกต. ถอนฟ้องประชาชน[167]

เชิงอรรถ

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง