นิพัทธ์ ทองเล็ก

พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก เป็นอดีตนายทหารชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (เศรษฐา ทวีสิน) เป็นอดีตที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ชัชชาติ สิทธิพันธุ์)[1] และเคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

นิพัทธ์ ทองเล็ก
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 11​ พฤษภาคม​ พ.ศ. 2562
ปลัดกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (0 ปี 235 วัน)
ก่อนหน้าทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน
ถัดไปสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 ตุลาคม พ.ศ. 2498 (68 ปี)
จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย
คู่สมรสทันตแพทย์หญิง รัตนาวดี ทองเล็ก
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก

ประวัติ

พล.อ. นิพัทธ์ เกิดเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2498 เป็นบุตรของพ.อ. สนอง และนางไพเราะ ทองเล็ก สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์, โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 14, โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 25, หลักสูตรหลักประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 65 และยังสำเร็จหลักสูตรทางการทหารจากออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และสหรัฐ รวมถึงปริญญาโทศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการ) จากมหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์อีกด้วย

พล.อ. นิพันธ์ สมรสกับ ทพญ. รัตนาวดี ทองเล็ก มีบุตร 2 คน

การทำงาน

พล.อ. นิพัทธ์ เริ่มชีวิตราชการทหารในตำแหน่งผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ต่อมาได้ปรับย้ายเป็น ผู้บังคับกองร้อยฝึก ร.21 พัน.3 รอ. ปฏิบัติการตามแผนป้องกันประเทศ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี โดยในช่วงที่เกิดเหตุกบฎเมษาฮาวาย ซึ่งพล.อ. นิพัทธ์ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าชุดปฏิบัติการ ได้รับคำสั่งให้นำกำลังชุดปฏิบัติการพิเศษ เข้าควบคุมตัว พ.อ. ประจักษ์ สว่างจิตร และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายก่อการยึดอำนาจ[2]

หลังจากนั้น พล.อ. นิพัทธ์ได้ศึกษาต่อยังต่างประเทศ และชีวิตราชการของเขาก็ก้าวหน้าเป็นลำดับ จนกระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นปลัดกระทรวงกลาโหมเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 โดยผลงานสำคัญคือเป็นแกนนำเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งในภาคใต้กับขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ[3]ระหว่าง 21 มกราคม พ.ศ. 2557 - 31 มีนาคม 2557 จากนั้นหลังรัฐประหาร พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. มีคำสั่งให้ย้ายไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[4], ประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม[5] และแต่งตั้งเขาเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามลำดับ[6]

ในปี พ.ศ. 2563 พล.อ. นิพัทธ์เคยได้เสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ,ผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่กรรมการสรรหาฯ วินิจฉัยว่าเขามีลักษณะต้องห้ามเพราะเพิ่งพ้นจากการดำรงตำแหน่ง สนช.[7]

ได้เป็นแกนนำเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งในภาคใต้กับขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี เมื่อปีพ.ศ. 2556[8]

ในปี พ.ศ. 2565 นิพัทธ์เป็นหนึ่งในคณะที่ปรึกษาของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[1] เขาเสนอให้ปรับปรุงโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพฯ จำนวน 437 แห่ง และแนะนำให้เพิ่มศักยภาพเทศกิจ ให้สามารถช่วยงานด้านความปลอดภัยทางชีวิตและทรัพย์สินในช่วงเวลากลางคืน[9] ต่อมาในปี 2566 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

  •  ลาว :
    • พ.ศ. 2553 - เหรียญชัยมิตรภาพ[18]
  •  มาเลเซีย :
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์เดาร์จาห์ เกปาละวานัน อังกะตัน เตนเตรา ชั้นที่ 2

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง