ทรู คอร์ปอเรชั่น

หนึ่งในผู้ให้บริการโทรคมนาคมในประเทศไทย

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: True Corporation Public Company Limited, ย่อ: TRUE) (เดิม: บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUEE) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC) เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ และเทเลนอร์ เอเชีย เกิดขึ้นจากการควบรวมกิจการกันระหว่าง ทรู คอร์ปอเรชั่น เดิม และดีแทค ในรูปแบบพันธมิตรที่เท่าเทียมกัน (Equal Partnership) เพื่อสร้างบริษัทโทรคมนาคมแห่งใหม่ที่สามารถตอบโจทย์ในยุคดิจิทัลได้อย่างเต็มภาคภูมิ

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
SET:TRUE
อุตสาหกรรมเทคโนโลยี
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ก่อนหน้าทรูมูฟ เอช (TRUE-H เดิม) (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566)
โทเทิ่ล แอกเซส คอมมูนิเคชั่น (DTAC เดิม) (31 สิงหาคม พ.ศ. 2532 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566)
ก่อตั้ง13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ในชื่อ บจก.ซีพีเทเลคอมมิวนิเคชัน และ บจก.เทเลคอม เอเชีย คอร์ปอเรชัน และ บมจ.เทเลคอม เอเชีย คอร์ปอเรชัน (TA) และ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชัน (TRUE) ตามลำดับ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566 ควบรวมกิจการกับโทเทิ่ล แอกเซส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) เป็น ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) ใหม่
ผู้ก่อตั้งธนินท์ เจียรวนนท์
ศุภชัย เจียรวนนท์
สำนักงานใหญ่18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
บุคลากรหลัก
ศุภชัย เจียรวนนท์ (ประธานกรรมการ)
เยอเก้น คริสเตียน อาเร้นท์ โรสทริป (รองประธานกรรมการ)
มนัสส์ มานะวุฒิเวช (ประธานคณะผู้บริหาร)
ชารัด เมห์โรทรา (รองประธานคณะผู้บริหาร)
รายได้ลดลง 157,534.52 ล้านบาท (2562)[1]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 523,992.74 ล้านบาท (2562)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง 125,367.94 ล้านบาท (2562)[1]
พนักงาน
4,193 (2563)[2]
บริษัทแม่เครือเจริญโภคภัณฑ์
เทเลนอร์ เอเชีย
อันดับความน่าเชื่อถือTRIS: A+[3]
เว็บไซต์https://www.true.th

ปัจจุบัน กลุ่มทรู เป็นโฮลดิงคอมปานีที่ให้บริการสื่อองค์รวมแบบครบวงจร ทั้งด้านโทรคมนาคมพื้นฐานและอินเทอร์เน็ต รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในด้านจำนวนผู้ใช้งาน ภายใต้เครื่องหมายการค้า ทรู ออนไลน์ ให้บริการโทรศัพท์มือถือภายใต้เครื่องหมายการค้า ทรูมูฟ เอช และ ดีแทค ไตรเน็ต ให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก ทรูวิชั่นส์ และรวมไปถึงสื่อบันเทิง ทั้งด้านโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต เกมออนไลน์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภายใต้แบรนด์ ทรู ดิจิทัล

ประวัติ

พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2564

ทรู คอร์ปอเรชั่น ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ในชื่อ บริษัท ซีพีเทเลคอมมิวนิเคชัน จำกัด โดย เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือกลุ่มซีพี ที่เล็งเห็นถึงโอกาสในการเข้าทำธุรกิจด้านโทรคมนาคมพื้นฐานที่ยังไม่มีผู้ให้บริการเอกชนเข้าให้บริการ โดยบริษัทรับสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลหมวด 6-9 จากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ซึ่งต่อมาได้ขยายรูปแบบการให้บริการสู่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายแรกในประเทศไทยที่ดำเนินการครบทั้งระบบ 56 เค และเอดีเอสแอล ภายใต้แบรนด์ เอเชีย อินโฟเน็ท ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชัน จำกัด เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ก่อนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดในชื่อ บริษัท เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ปีเดียวกัน ในชื่อย่อหลักทรัพย์ TA

ในปี พ.ศ. 2542 เทเลคอมเอเชีย เห็นโอกาสในการเข้าสู่ธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์มือถือ จึงได้ริเริ่มให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยการขอรับใบอนุญาตการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่แบบพกพาในชื่อ วี พีซีที ก่อนร่วมทุนกับกลุ่มออเรนจ์ จากประเทศฝรั่งเศส เข้าซื้อกิจการ บริษัท ไวร์เลส คอมมิวนิเคชั่นส์ เซอร์วิส จำกัด หรือ ดับบลิวซีเอส เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในคลื่นความถี่ 1800 MHz จาก กสท โทรคมนาคม ภายใต้แบรนด์ ทีเอ ออเรนจ์ เป็นระยะเวลา 12 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 จนถึง พ.ศ. 2556 แต่ใน พ.ศ. 2547 กลุ่มออเรนจ์ได้ตัดสินใจถอนทุนออกจากประเทศไทยโดยการขายหุ้นส่วนที่เหลือทั้งหมดให้กับเทเลคอมเอเชีย กลุ่มทีเอจึงได้เปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของตัวเองและเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท ทรู คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) รวมถึงเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์เป็น TRUE พร้อมเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของแบรนด์ เอเชียอินโฟเน็ต เป็น ทรู อินเทอร์เน็ต และ ทีเอ ออเร้นจ์ เป็น ทรูมูฟ

ต่อมาใน พ.ศ. 2548 กลุ่มทรูได้เข้าซื้อกิจการยูบีซี โดยการซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมคือ MIH (UBC) Holdings B.V. และผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่น ๆ เพื่อถอนยูบีซีออกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น ยูบีซี-ทรู, ทรูวิชันส์-ยูบีซี และ ทรูวิชันส์ ตามลำดับ และเข้าซื้อกิจการ ฟิวเจอร์ เกมเมอร์ เพื่อริเริ่มเข้าสู่ธุรกิจดิจิทัลเต็มตัว รวมถึงเปิดร้านกาแฟ ทรู คอฟฟี่ เพื่อเพิ่มรายได้ให้บริษัทอีกทางหนึ่ง

ใน พ.ศ. 2553 กลุ่มทรูได้เข้าซื้อกิจการฮัทซ์ ประเทศไทย จากทั้งกลุ่มฮัทจิสัน และกสท. โทรคมนาคม เพื่อนำคลื่นความถี่ 800 MHz ที่เป็นสัมปทานคงเหลือของฮัทซ์มาดำเนินการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ 3 จี เพื่อให้สอดคล้องกับการหมดสัมปทานของคลื่น 1800 MHz ของทรูมูฟที่จะหมดสัญญาลง แต่ในทางกฎหมายกลุ่มทรูไม่สามารถเข้าดำเนินการบนคลื่นสัมปทานคงเหลือได้ กสท. โทรคมนาคม จึงเปลี่ยนรูปแบบการให้สัมปทานเป็นการดึงคลื่นกลับมาให้บริการภายใต้การดูแลของ กสท. โทรคมนาคม และให้กลุ่มทรูเป็นตัวแทนขายส่งต่อบริการภายใต้แบรนด์ ทรูมูฟ เอช เป็นระยะเวลา 14 ปี และนับจากนั้นกลุ่มทรูก็ได้เข้าประมูลคลื่นความถี่ต่าง ๆ และขยายบริการอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นผู้ให้บริการอันดับ 2 ของประเทศไทยในปัจจุบัน

พ.ศ. 2565 - 2566 : ควบรวมกิจการกับดีแทค

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 สำนักข่าวรอยเตอร์ ได้เผยแพร่บทความว่ากลุ่มเทเลนอร์และเครือเจริญโภคภัณฑ์ กำลังอยู่ในระหว่างการพูดคุยเรื่องการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กับทรู คอร์ปอเรชั่น มูลค่าดีลนี้อาจสูงถึง 7,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และส่งผลให้ธุรกิจโทรคมนาคมประเทศไทยเหลือผู้เล่นเพียงสองราย[4] ซึ่งภายหลังจากที่มีข่าว ทรูและดีแทคได้ส่งจดหมายด่วนขอให้รอความชัดเจนเรื่องการควบรวมกิจการที่จะแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ต่อไป[5]

ต่อมาเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เครือเจริญโภคภัณฑ์และกลุ่มเทเลนอร์ ได้แถลงข่าวด่วนเรื่องการควบรวมกิจการระหว่าง ทรู คอร์ปอเรชั่น และ ดีแทค โดยโฮลดิ้งคอมปานีที่จะจัดตั้งขึ้นร่วมกันอย่างเป็นทางการ โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์และกลุ่มเทเลนอร์ จะจัดตั้งบริษัทร่วมค้าขึ้นเป็นโฮลดิ้งคอมปานี และบริษัทแห่งนี้จะเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของ ทรู คอร์ปอเรชั่น และดีแทค ด้วยวิธีการแลกหุ้น ภายหลังธุรกรรมเสร็จสิ้น ผู้ถือหุ้นของทั้งทรู และดีแทค จะถือหุ้นบริษัทแห่งนี้ในรูปแบบพันธมิตรที่เท่าเทียมกัน (Equal Partnership) นั่นคือกลุ่มผู้ถือหุ้นของทรูรวมเครือเจริญโภคภัณฑ์จะถือหุ้น 58% และกลุ่มผู้ถือหุ้น ของดีแทครวมถึงเทเลนอร์และบีทีซีเอ็น โฮลดิ้ง ของบุญชัย เบญจรงคกุล จะถือหุ้น 42% และทั้งสองฝ่ายจะมีอำนาจในบริษัทใหม่อย่างเท่าเทียมกัน

ต่อมาเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2565 ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของทรู คอร์ปอเรชั่น ได้มีมติอนุมัติการให้ควบรวมกิจการกับดีแทค[6] โดยคาดว่าการควบรวมกิจการจะเสร็จสิ้นในปลายเดือนกันยายนปีเดียวกัน[7] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกระบวนการควบรวมกิจการจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทรูและดีแทคจึงจัดการประชุมผู้ถือหุ้นร่วมเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม เพื่อลงมติขยายเวลาการควบรวมออกไป[8] โดยที่ต่อมา กสทช. มีมติเสียงข้างมากรับทราบการควบรวมกิจการ[9] แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องทำการตลาดในนามแบรนด์ ทรู กับ ดีแทค ไว้ต่อไปอย่างน้อย 3 ปี[10]

ต่อมาเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2566 คณะกรรมการของทรูและดีแทคได้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นร่วมเป็นครั้งที่ 2 และบรรจุวาระการอนุมัติชื่อของบริษัทใหม่อย่างเป็นทางการ โดยเห็นพ้องให้ใช้ชื่อเดิมว่า บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)[11] เนื่องจากจะสื่อถึงภาพรวมธุรกิจได้มากกว่า[12] จนกระทั่งวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ทั้งทรูและดีแทคก็ได้ขึ้นเครื่องหมาย SP หยุดการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นการชั่วคราว[13] รวมถึงทรูได้เปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์ พ่วงด้วยชื่อย่อของใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง จาก TRUE เป็น TRUEE เพื่อเข้าสู่กระบวนการแลกหุ้น TRUEE เป็นหุ้น TRUE ใหม่ในสัดส่วน 1:0.60018 [14] จากนั้นในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นร่วมครั้งที่ 2 ของทรูและดีแทค ได้อนุมัติชื่อบริษัทใหม่ดังกล่าว พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการและผู้บริหารของบริษัทใหม่ทั้งหมดที่จะทำหน้าที่ทันทีภายหลังเสร็จสิ้นกระบวนการควบรวมบริษัท[15] กระบวนการควบรวมบริษัทเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 มีนาคม โดยกรรมการของทรู คอร์ปอเรชั่น (ใหม่) ได้จดทะเบียนควบรวมบริษัทระหว่างทรู (เดิม) กับดีแทค แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นที่เรียบร้อย ส่งผลให้ทรู (เดิม) สิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคลพร้อมกับดีแทค[16] ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงเพิกถอนหลักทรัพย์ TRUEE และ DTAC ออก และนำหุ้น TRUE (ใหม่) เข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนแทนในวันเดียวกัน[17] และเริ่มการซื้อขายเมื่อวันที่ 3 มีนาคม[5]

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

  • ข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566 ภายหลังการควบรวมกิจการกับดีแทคเสร็จสิ้น[18]
ลำดับที่รายชื่อผู้ถือหุ้นจำนวนหุ้นสามัญสัดส่วนการถือหุ้น
1TELENOR ASIA PTE LTD6,784,994,91419.64%
2บริษัท ซิทริน โกลบอล จำกัด4,038,297,16011.69%
3บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด3,390,081,1799.81%
4CHINA MOBILE INTERNATIONAL HOLDINGS LIMITED2,698,330,3417.81%
5CITRINE VENTURE SG PTE. LTD.1,853,030,2875.36%
6บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด1,178,245,3903.41%
7UBS AG HONG KONG BRANCH1,103,697,7873.19%
8CHINA MOBILE INTERNATIONAL HOLDINGS LIMITED906,565,5232.62%
9บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)825,973,2072.39%
10CREDIT SUISSE AG SINGAPORE BRANCH757,962,9092.19%

ผลิตภัณฑ์ในเครือทรู

ทรูช็อป ที่เซ็นทรัล สีลมคอมเพล็กซ์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง