บิยอร์น บอร์ก

บิยอร์น บอร์ก (สวีเดน: Björn Borg; ออกเสียง [bjœːɳ bɔrj] ) เป็นอดีตนักเทนนิสชายมือวางอันดับหนึ่งของโลกชาวสวีเดน เขาครองตำแหน่งมือวางอันดับหนึ่งรวม 109 สัปดาห์ และเป็นเจ้าของตำแหน่งชนะเลิศรายการแกรนด์สแลมในประเภทชายเดี่ยว 11 สมัย โดยชนะเลิศเฟรนช์โอเพน 6 สมัย และวิมเบิลดัน 5 สมัย[1] บอร์กได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักเทนนิสชายที่เก่งที่สุด รวมทั้งเป็นหนึ่งในนักกีฬาชาวสวีเดนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[2][3][4] เขามีฉายาว่า "The Ice Man"[5] หรือมนุษย์น้ำแข็งเนื่องจากสไตล์การเล่นอันสุขุมเยือกเย็น[6][7]

บิยอร์น บอร์ก
บอร์กในปี 2014
ชื่อเต็มBjörn Rune Borg
ประเทศ (กีฬา)ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน
ถิ่นพำนักMonte Carlo, Monaco
วันเกิด (1956-06-06) 6 มิถุนายน ค.ศ. 1956 (67 ปี)
Stockholm, Sweden
ส่วนสูง1.80 เมตร (5 ฟุต 11 นิ้ว)
เทิร์นโปร1973 (comeback in 1991)
ถอนตัว1984, 1993
การเล่นRight-handed (two-handed backhand)
ผู้ฝึกสอนLennart Bergelin (1971–1983)
Ron Thatcher (1991–1993)
เงินรางวัลUS$3,655,751
Int. Tennis HoF1987 (member page)
เดี่ยว
สถิติอาชีพ654–140 (82.4%)
รายการอาชีพที่ชนะ66 (8th in the Open Era)
อันดับสูงสุดNo. 1 (23 August 1977)
ผลแกรนด์สแลมเดี่ยว
ออสเตรเลียนโอเพน3R (1974)
เฟรนช์โอเพนW (1974, 1975, 1978, 1979, 1980, 1981)
วิมเบิลดันW (1976, 1977, 1978, 1979, 1980)
ยูเอสโอเพนF (1976, 1978, 1980, 1981)
การแข่งขันอื่น ๆ
Tour FinalsW (1979, 1980)
WCT FinalsW (1976)
คู่
สถิติอาชีพ86–81 (51.2%)
รายการอาชีพที่ชนะ4
ผลแกรนด์สแลมคู่
ออสเตรเลียนโอเพน3R (1973)
เฟรนช์โอเพนSF (1974, 1975)
วิมเบิลดัน3R (1976)
ยูเอสโอเพน3R (1975)
การแข่งขันแบบทีม
Davis CupW (1975)

บอร์กเป็นนักเทนนิสชายคนแรกที่ถือสถิติชนะเลิศวิมเบิลดันติดต่อกัน 5 สมัย จากการเข้าชิงติดต่อกัน 6 สมัย (ชนะเลิศปี 1976-1980 จากการเข้าชิงในปี 1976-1981 โดยพ่ายแพ้ต่อจอห์น แม็กเอนโรในปี 1981)[8] และสถิติชนะเลิศเฟรนช์โอเพน 6 สมัย จากการเข้าชิง 6 ครั้ง ระหว่างปี 1974-1981 (6-0) ถือเป็นสถิติที่ดีที่สุดเป็นอันดับ 4 ในการเข้าชิงชนะเลิศแกรนด์สแลม[9] เป็นรองเพียง พีต แซมพราส ในวิมเบิลดัน (7-0), นอวาก จอกอวิช ในออสเตรเลียนโอเพน (9-0) และราฟาเอล นาดัล ในเฟรนช์โอเพน (13-0) เขายังเป็นหนึ่งในสองผู้เล่นชาย (ร่วมกับ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์) ที่สามารถเข้าชิงชนะเลิศรายการเฟรนช์โอเพนและวิมเบิลดันติดต่อกัน 4 ปี (1978-81) และเป็นผู้เล่นคนเดียวที่สามารถชนะเลิศแกรนด์สแลมทั้ง 2 รายการดังกล่าวได้ 3 สมัยติดต่อกัน (1978-80)

นอกจากนี้ บอร์กยังเป็นผู้เล่นคนแรกที่เข้าชิงชนะเลิศวิมเบิลดัน 6 ปีติดต่อกัน[10] ก่อนที่สถิติดังกล่าวจะถูกทำลายโดยเฟเดอเรอร์ซึ่งเข้าชิงชนะเลิศ 7 ปีติดต่อกัน (2003-09) และยังเป็นผู้เล่นคนแรกที่เข้าชิงชนะเลิศเฟรนช์โอเพน, วิมเบิลดัน และยูเอสโอเพนในปีเดียวกันได้ถึง 3 ครั้ง (1978, 80-81) ก่อนที่สถิติดังกล่าวจะถูกทำลายโดยเฟเดอเรอร์เช่นกัน (2006-09) เขาคว้าตำแหน่งมือวางอันดับ 1 ของโลกเมื่อจบสิ้นปี 3 ครั้ง และชนะเลิศรายการซูเปอร์ซีรีย์ (รายการเอทีพี มาสเตอร์ ในปัจจุบัน) รวม 16 สมัย เขาได้รับการยอมรับว่าสามารถเล่นได้ดีในทุกพื้นผิวสนาม[11][12] และสามารถเข้าชิงชนะเลิศรายการแกรนด์สแลมได้ในทั้ง 3 พื้นคอร์ต (เฟรนช์โอเพน, วิมเบิลดัน และ ยูเอสโอเพน)

เขาถือเป็นคู่แข่งคนสำคัญของ จอห์น แม็กเอนโร ยอดผู้เล่นชาวอเมริกัน ซึ่งทั้งคู่แย่งชิงความสำเร็จกันอย่างดุเดือดในช่วงทศวรรษ 70-80[13][14][15] จึงมีการนำเรื่องราวการชิงชัยของทั้งคู่ไปทำเป็นภาพยนตร์อัตชีวประวัติที่มีชื่อเรื่องว่า Borg vs McEnroe[16] ซึ่งอ้างอิงจากเหตุการณ์การแข่งขันในแกรนด์สแลมวิมเบิลดันรอบชิงชนะเลิศเมื่อปี 1980 ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในนัดชิงชนะเลิศแกรนด์สแลมเทนนิสที่สนุกตื่นเต้นที่สุดครั้งหนึ่ง[17][18] โดยได้เริ่มออกฉายในปี 2017 และได้รับเสียงตอบรับจากแฟนกีฬาเทนนิสเป็นอย่างดี[19]

บอร์กเลิกเล่นอาชีพในวัยเพียง 26 ปี (ค.ศ. 1984)[20] เนื่องจากความกดดันจากการลงเล่นอย่างต่อเนื่องซึ่งส่งผลต่อสภาพร่างกาย และความเบื่อหน่ายในการเล่นอาชีพ และได้หันไปประกอบอาชีพเป็นนักธุรกิจหลายประเภทซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก ก่อนจะกลับมาลงแข่งขันเทนนิสอาชีพอีกครั้งในวัย 33 ปี และเลิกเล่นอย่างถาวรในปี 1993 เขาไดรับการเสนอชื่อเข้าสู่หอเกียรติยศของสมาคมเทนนิสนานาชาติใน ค.ศ. 1987

ชีวิตส่วนตัว

บียอร์น บอร์ก เกิดที่กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 1956[21] เป็นลูกชายคนเดียวของนายรูน ซึ่งประกอบอาชีพช่างไฟฟ้าและอดีตนักปิงปองอาชีพ และนางมาร์กาเรธา บอร์ก เขาเติบโตขึ้นมาในบริเวณใกล้เคียง Södertälje ในวัยเด็กเขาประทับใจไม้เทนนิสสีทองที่พ่อของเขาได้รับจากการชนะเลิศการแข่งขันการกุศลรายการหนึ่ง (คุณพ่อของเขาแข่งขันปิงปองแต่กลับได้รางวัลเป็นไม้เทนนิส) ซึ่งพ่อของเขามอบแร็กเกตนั้นให้กับเขา และนั่นเป็นแรงบันดาลใจทีทำให้บอร์กอยากเป็นนักเทนนิส

เมื่อเห็นว่าลูกชายมีความฝัน พ่อและแม่ของบอร์ก จึงสนับสนุนลูกชายคนนี้อย่างเต็มที่ พร้อมกับถ่ายทอดเรื่องความเป็นมืออาชีพในฐานะของนักกีฬา ความมุ่งมั่นตั้งใจ อดทนกับการฝึกฝน จนทำให้บอร์กพัฒนาฝีมือของตัวเองอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่เริ่มต้นอาชีพนักเทนนิส เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นนักกีฬาที่เก่งกาจและมีความอดทนสูง เขามีสไตล์การเล่นที่โดดเด่น โดยสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างว่องไว กล้ามเนื้ออันแข็งแรงของเขาทำให้เขาสามารถตีลูกท็อปสปินได้อย่างหนักๆหน่วง ทั้งโฟร์แฮนด์และแบ็คแฮนด์สองมือ ทำใหเขาสามารถเล่นได้ดีทั้งในคอร์ตดินและคอร์ตหญ้า เมื่ออายุได้ 13 ปี เขาก็เอาชนะผู้เล่นรุ่นอายุต่ำกว่า 18 ปีที่ดีที่สุดของสวีเดนและคว้าแชมป์ระดับเยาวชนได้

ประวัติการเล่นอาชีพ

บอร์กในปี 1974
บอร์กในการแข่งขันนัดการกุศลในปี 1991

ความแข็งแกร่งของ บอร์ก ทำให้ เลนนาร์ท เบอร์เยลิน นักเทนนิสชายอันดับหนึ่ง 1 ของสวีเดน ในช่วงปลายยุค 60 เข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนจนบอร์กได้ติดทีมชาติสวีเดน ลงแข่งขันรายการเดวิส คัพ (Davis Cup) ในปี 1972 ในวัยเพียง 15 ปี[22]

หลังจากเก็บประสบการณ์ในการแข่งขันระดับชาติ บอร์กเปิดตัวอย่างเป็นทางการด้วยการคว้าแชมป์วิมเบิลดันในระดับเยาวชน ในปีเดียวกัน ทำให้เมื่อเข้าสู่ปี 1973 บอร์กในวัย 16 ปี ได้รับอนุญาตลงแข่งขันในรายการอาชีพ โดยไม่ต้องรอให้อายุครบ 18 ปี[23] และในปีแรกที่เขาเริ่มเล่นอาชีพเขาสามารถเข้าชิงชนะเลิศได้ถึง 4 รายการแต่ยังไม่สามารถคว้าแชมป์รายการใดมาครองได้

อย่างไรก็ตามในปี 1974 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความยิ่งใหญ่ในอาชีพของเขาอย่างแท้จริง โดยบอร์กสามารถคว้าแชมป์อย่างเป็นทางการได้ตั้งแต่รายการแรกของปีที่ นิวซีแลนด์ โอเพน ก่อนจะคว้าแชมป์เพิ่มได้อีก 6 รายการรวมเป็น 7 รายการในปีนี้ รวมทั้งสามารถชนะเลิศแกรนด์สแลมได้เป็นครั้งแรกจากรายการเฟรนช์โอเพน ในวัยเพียง 18 ปี 8 วัน[24] กลายเป็นแชมป์เฟรนช์โอเพนที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ ณ เวลานั้น (สถิตินี้ของบอร์กถูกทำลายในปี 1989 โดย ไมเคิล ชาง นักเทนนิสชาวสหรัฐอเมริกา)[25][26][27]

เขายังคงครองสถิติคว้าแชมป์เฟรนช์โอเพน ได้ 6 สมัยจากการเข้าชิงทั้งหมด 6 ครั้งในช่วงระหว่างปี 1974-1981 นอกจากนี้ยังประกาศศักดาคว้าแชมป์วิมเบิลดันได้ถึง 5 สมัยติดต่อกัน ก่อนจะประกาศเลิกเล่นเทนนิสแบบเหนือความคาดหมายในปี 1983 ด้วยวัยเพียงแค่ 26 ด้วยเหตุผลเรื่องของความกดดันจากการแข่งขันที่ทำให้สภาพร่างกายเหนื่อยล้าเกินไป ในช่วงปี 1991 บอร์กได้ตัดสินใจหวนคืนสู่วงการเทนนิสอีกครั้ง แต่การกลับคืนสู่วงการในครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จเหมือนอย่างตำนานที่เคยทำได้ และเขาไม่สามารถคว้าชัยชนะจากการแข่งขันได้อีกเลยแม้แต่นัดเดียว จึงได้ตัดสินใจเลิกเล่นอาชีพอย่างถาวรในปี 1993[28]

ภาพลักษณ์

บอร์ก มีภาพลักษณ์ที่โดดเด่น ติดตาแฟนเทนนิสโลกในช่วงยุค 80 เนื่องจากเจ้าตัวชอบไว้ผมยาว[29] และหนวดเครารุงรัง[30] พ่อและแม่รวมถึงแฟนเทนนิสบางคนพยายามที่จะเกลี้ยกล่อมให้เขาเปลี่ยนภาพลักษณ์เพื่อให้ดึงดูดสปอนเซอร์ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่เขากลับมาเล่นอาชีพเป็นครั้งที่สองในช่วงต้นปี 90 บอร์กได้มีการเปลี่ยนภาพลักษณ์โดยการตัดผมและโกนหนวดเคราเป็นบางครั้ง

สถิติโลก

บิยอร์น บอร์ก ครองสถิติโลกในวงการเทนนิสจำนวน 4 รายการได้แก่

  • ทำสถิติคว้าชัยชนะในแกรนด์สแลมวิมเบิลดันจำนวน 41 นัดติดต่อกัน (ค.ศ.1976-81)
  • เป็นผู้เล่นที่มีเปอร์เซนต์การคว้าชัยชนะในแกรนด์สแลมวิมเบิลดันมากที่สุด (92.73%)
  • ชนะเลิศรายการแกรนด์สแลมโดยเสียคะแนนให้คู่แข่งตลอดการแข่งขันน้อยที่สุด (เฟรนช์โอเพน ค.ศ. 1978)
  • เป็นผู้เล่นที่มีสถิติการคว้าชัยชนะจากการแข่งขันเซตตัดสิน (เซตที่ 5) ที่ดีที่สุดในเอทีพี (ชนะ 20, แพ้ 3: 86.96%)

อ้างอิงและเชิงอรรถ

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง