ข้ามไปเนื้อหา

พอล สโกฟีลด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พอล สโกฟีลด์
สโกฟีลด์ในปี ค.ศ. 1974
เกิด21 มกราคม ค.ศ. 1922(1922-01-21)
เบอร์มิงแฮม วอริกเชอร์ อังกฤษ
เสียชีวิต19 มีนาคม ค.ศ. 2008(2008-03-19) (86 ปี)
ซัสเซกซ์ อังกฤษ
สาเหตุเสียชีวิตมะเร็งเม็ดเลือดขาว
สุสานสุสานเซนต์แมรีส์
อาชีพนักแสดง
ปีปฏิบัติงาน1940–2006[1]
คู่สมรสจอย พาร์กเกอร์ (1943–2008)
บุตร2

เดวิด พอล สโกฟีลด์ (อังกฤษ: David Paul Scofield; 21 มกราคม ค.ศ. 1922 – 19 มีนาคม ค.ศ. 2008) เป็นที่รู้จักในชื่อ พอล สโกฟีลด์ เป็นนักแสดงชาวอังกฤษ ผู้ชนะเลิศรางวัลออสการ์, รางวัลลูกโลกทองคำ และรางวัลแบฟตาจากบทบาททอมัส มอร์ ในภาพยนตร์เรื่อง A Man for All Seasons (ค.ศ. 1966)

สโกฟีลด์เกิดในเมืองเบอร์มิงแฮม เขาเป็นบุตรชายของเอ็ดเวิร์ด แฮร์รี สโกฟีลด์ และแมรี สโกฟีลด์[2] ต่อมาครอบครัวย้ายไปอยู่ที่ซัสเซกซ์ซึ่งพ่อของเขาทำหน้าที่เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนในเครือคริสตจักรแห่งอังกฤษที่เฮิสต์เพียร์พอยต์[3] พ่อของเขาศรัทธาในคริสตจักรแห่งอังกฤษ แต่แม่ของเขาศรัทธาในนิกายโรมันคาทอลิก[4] พออายุได้ 17 ปี เขาเลือกที่ก้าวสู่การแสดงอาชีพในฐานะนักแสดง โดยเรียนการแสดงที่โรงละครครอยดอนในปี ค.ศ. 1939[5] หลังจากนั้นเขาได้ร่วมแสดงกับออลิเวีย เดอ แฮวิลแลนด์ ในภาพยนตร์เรื่องแรกคือ That Lady ในปี ค.ศ. 1955 จากบทบาทพระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน ทำให้เขาได้รับรางวัลแบฟตาในสาขานักแสดงหน้าใหม่ยอดเยี่ยม

นักแสดงเฮเลน เมียร์เรน ที่แสดงร่วมกับสโกฟีลด์ในภาพยนตร์เรื่อง When the Whales Came (ค.ศ. 1989) กล่าวถึงสโกฟีลด์ว่า "เขามีจิตวิญญาณในการแสดงมากในตัวละครและเขาเป็นนักแสดงที่ยอดเยี่ยมของเรา เราโชคดีที่มีเขา"[6] สโกฟีลด์ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ 2 ครั้ง, เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแบฟตา 4 ครั้ง และเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำ 2 ครั้ง

สโกฟีลด์เสียชีวิตวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2008 อายุ 86 ปี ด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านของเขาในซัสเซกซ์[7] พิธีไว้อาลัยจัดขึ้นเมื่อ 19 มีนาคม ค.ศ. 2009 ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ จอย พาร์กเกอร์ ภรรยาของเขาเสียชีวิตในอีกสี่ปีต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 อายุ 90 ปี พวกเขามีบุตรด้วยกันสองคนคือ มาร์ติน (เกิด ค.ศ. 1945) เป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษและวรรณคดีอเมริกันที่มหาวิทยาลัยเคนต์[8] และแซราห์ (เกิด ค.ศ. 1951)[9]

ผลงาน

ภาพยนตร์

ปีเรื่องบทบาทหมายเหตุ
1955That Ladyพระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปนได้รับรางวัลแบฟตาในสาขานักแสดงหน้าใหม่ยอดเยี่ยม
1958Carve Her Name with Prideโทนี เฟรเซอร์
1964The Trainพันเอกฟอน วัลไฮม์
1966Man for All Seasonsทอมัส มอร์ได้รับรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
ได้รับรางวัลแบฟตาในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
ได้รับรางวัลลูกโลกทองคำสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ประเภทดราม่า
ได้รับรางวัลแคนซัสซิตีฟิล์มคริติกส์เซอร์เคิลอวอร์ดในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
ได้รับรางวัลเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติมอสโกในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม[10]
ได้รับรางวัลเนชันแนลบอร์ดออฟรีวิวในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
ได้รับรางวัลนิวยอร์กฟิล์มคริติกส์เซอร์เคิลอวอร์ดในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลลอเรลอวอร์ดในสาขาการแสดงชาย
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
1970Bartlebyนักบัญชี
1971King Learกษัตริย์เลียร์ได้รับรางวัลโบดีลอวอร์ดในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
1973A Delicate Balanceโทเบียส
1973Scorpioซาร์เกต
1983Ill Fares the Landวอยซ์
1984Summer Lightningโรเบิร์ต คลาร์ก
19851919อเล็กซานเดอร์ เชอร์บาท็อป
1989Henry Vพระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศส
1990แฮมเลตกษัตริย์แฮมเลต
1992Utzด็อกเตอร์ วาคลัฟ ออร์ลิค
1992Londonผู้บรรยาย
1994Quiz Showมาร์ค ฟาน ดูเรนได้รับเสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลแบฟตาในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลดัลลัส-ฟอร์ตเวิร์ธฟิล์มคริติกส์เซอร์เคิลอวอร์ดในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลนิวยอร์กฟิล์มคริติกส์เซอร์เคิลอวอร์ดในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
1996The Crucibleโทมัส แดนเฟิร์ทได้รับรางวัลแบฟตาในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลลูกโลกทองคำสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลแซทเทิลไลน์อวอร์ดในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์เซาท์แฮฟสเติร์นในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
1997Robinson in Spaceผู้บรรยาย
1999แอนิมัลฟาร์มบ็อกเซอร์ให้เสียงพากย์

ละครโทรทัศน์

ปีเรื่องบทบาทหมายเหตุ
1965The State Funeral of Sir Winston Churchillผู้บรรยาย
1969Male of the Speciesได้รับรางวัลไพรม์ไทม์เอมมีสาขานักแสดงนำชายโดดเด่น ประเภทมินิซีรีส์หรือภาพยนตร์
1980If Winter Comesศาสตราจารย์โมรัว
The Curse of King Tut's Tomb
1981The Potting Shedเจมส์ แคลลัสแฟร์
1984Arena: The Life and Times of Don Luis Bunuelผู้บรรยาย
1985อันนา คาเรนินาคาเรนิน
1987Mister Corbett's Ghostมิสเตอร์คอร์เบต
1988The Attic: The Hiding of Anne Frankออตโต แฟรงก์
1989When the Whales Cameนักบิน
1994Genesis: The Creation and the Flood
Martin Chuzzlewitมาร์ติน/แอนโธนีได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลบริติชอคาเดมีเทเลวิชันอวอร์ดในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
1999The Disabled Century

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร