พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2547)

พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกในปี พ.ศ. 2547

พายุไต้ฝุ่นชบา (อักษรโรมัน: Chaba)[nb 1] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2547 และก่อให้เกิดความเสียหายตั้งแต่หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาไปจนถึงประเทศญี่ปุ่น ระยะเวลาตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนของปีนั้น พายุไต้ฝุ่นชบาเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่สร้างความเสียหายมากเป็นอันดับสองของประเทศญี่ปุ่น และได้เป็นพายุที่มีกำลังแรงสูงสุดเทียบเท่ากับมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของควาจาเลน หลังจากนั้นพายุก็เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก ต่อมาพายุดีเปรสชันเขตร้อนก็ได้กลายเป็นพายุโซนร้อน และทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในวันที่ 20 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบามีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 2] และด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในวันที่ 23 สิงหาคม หลังจากนั้นพายุก็เริ่มเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ความรุนแรงของพายุลูกนี้ยังคงอยู่เป็นเวลาหลายชั่วโมงก่อนที่พายุไต้ฝุ่นชบาจะเริ่มอ่อนกำลังลงในขณะที่เคลื่อนตัวไปทางทิศใต้ของประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม สามวันต่อมา พายุไต้ฝุ่นชบาได้ขึ้นฝั่งเกาะคีวชู[1] และเคลื่อนตัวข้ามทะเลญี่ปุ่นเมื่อพายุอ่อนกำลังลงพร้อม ๆ กันในวันที่ 31 สิงหาคม พายุได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และต่อมาก็สลายไปในทะเลโอค็อตสค์เมื่อวันที่ 5 กันยายน[2] นอกจากนี้ ยังเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในโลกผูกกับพายุไต้ฝุ่นเตี้ยนหมู่ และพายุไซโคลนกาฟิโลในปี พ.ศ. 2547 อีกด้วย

พายุไต้ฝุ่นชบา
พายุไต้ฝุ่นชบาขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่
24 สิงหาคม พ.ศ. 2547
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
ก่อตัว18 สิงหาคม พ.ศ. 2547
พายุหมุนนอกเขตร้อน31 สิงหาคม พ.ศ. 2547
สลายตัว5 กันยายน พ.ศ. 2547
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA)
ความเร็วลมสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.58 นิ้วปรอท
พายุไต้ฝุ่น
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD)
ความเร็วลมสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.58 นิ้วปรอท
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC)
ความเร็วลมสูงสุด285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด895 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.43 นิ้วปรอท
ผลกระทบ
ผู้เสียชีวิต20 ราย
ความเสียหาย$2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงินปี พ.ศ. 2547 USD)
พื้นที่ได้รับผลกระทบหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา,
กวม, ประเทศญี่ปุ่น
IBTrACS

ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2547

พายุไต้ฝุ่นชบาได้สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อพื้นที่ในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา ซึ่งถูกลมกระหน่ำพัดแรง เกาะโรตาได้รับผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดจากพายุไต้ฝุ่นชบาในขณะที่เกาะยังคงอยู่ในตาพายุเป็นเวลาหลายชั่วโมง พายุมีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 1 นาทีที่ 220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (140 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในบริเวณสนามบินนานาชาติโรตา และลมแรงได้พัดถล่มบ้านเรือนจำนวนมาก กระแสไฟฟ้าได้ขัดข้องทั่วพื้นที่ และชายหาดได้รับผลกระทบอันเป็นผลมาจากพายุ พายุได้สร้างความเสียหายในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาประมาณ 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 13 ราย อีกที่ที่เกิดเหตุขึ้นในกวมที่สถานการณ์คล้ายคลึงกัน แม้ว่าจะมีความเสียหายน้อยกว่าหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา หลังจากพายุเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งกวม และพื้นที่ทางตอนเหนือของหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาได้ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติจากรัฐบาลกลาง

ความเสียหายส่วนใหญ่ที่เกิดจากพายุไต้ฝุ่นชบาในประเทศญี่ปุ่นโดยมีผู้เสียชีวิตประมาณ 18 ราย และมีมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 105.4 พันล้านเยน (959 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) พายุไต้ฝุ่นชบาได้สร้างความเสียหายมากเป็นอันดับที่ 14 จากบันทึกที่ผ่านมา บ้านเรือนประมาณ 8,627 หลัง ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากผลกระทบของพายุ และบ้านเรือนอีกประมาณ 46,561 หลัง ได้ถูกน้ำท่วม ผลกระทบในประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่อยู่ที่เกาะคีวชู พายุไต้ฝุ่นชบาได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งเป็นครั้งแรก จึงทำให้มีปริมาณน้ำฝนสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 821 มิลลิเมตร (32.32 นิ้ว) ในจังหวัดมิยาซากิ หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาได้ประสบปัญหาไฟฟ้าดับ และเกิดความล่าช้าในการขนส่งจำนวนมากในประเทศญี่ปุ่น ความเสียหายโดยรวมประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 3]

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา

แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นชบา

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไต้ฝุ่นชบา

  • วันที่ 18 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่เกาะมาร์แชลล์ ขณะที่พายุได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก พายุจัดกลายเป็นพอที่จะได้รับการจัดเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[nb 4] เมื่อเวลา 13:00 น. (06:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ของวันนั้น และพายุก็ได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกภายใต้อิทธิพลที่อยู่ใกล้ ๆ เสริมกำลังแรงอย่างต่อเนื่อง
  • วันที่ 19 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC)[nb 5] ได้กำหนดหมายเลขอย่างเป็นทางการว่า 19W พายุอยู่ห่างไกลในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือในขณะนั้น พายุตั้งอยู่ทางตอนใต้ของสันเขากึ่งเขตร้อน และเคลื่อนตัวจากทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็ว 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (10 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในแง่ของความรุนแรงของพายุได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว และพายุดีเปรสชันเขตร้อนก็ได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุโซนร้อนในเวลา 19:00 น. (12:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้กำหนดให้ชื่อว่า ชบา
  • วันที่ 20 สิงหาคม ขณะที่พายุได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก พายุดีเปรสชันเขตร้อนก็ได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนถึงระดับของพายุโซนร้อน อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์รูปแบบลมเกี่ยวกับพายุตลอดวันบ่งชี้ว่าการไหลเวียนในระดับบนของพายุโซนร้อนชบา และแยกออกจากการไหลเวียนของพื้นผิว กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนกำลังแรงให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในขณะที่พายุอยู่ห่างจากเกาะไซปันไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 345 กิโลเมตร (215 ไมล์) รูปแบบการทำให้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วส่วนใหญ่มาจากการพัฒนาช่องทางไหลออกคู่ระหว่างวันในขณะเดียวกันพายุไต้ฝุ่นชบาเริ่มเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือรอบขอบค่อนข้างแคบใกล้เคียง และได้เคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาเมื่อเวลา 01:00 น. (18:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 21 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบาได้พัฒนาตาพายุระดับต่ำที่เด่นชัด มีขนาดใหญ่ และยังคงเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสู่กวม
  • วันที่ 22 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบาได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วภายใต้สภาพอากาศที่มีความแปรปรวน พายุได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ที่มีความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 927 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.37 นิ้วของปรอท) คืนนั้นพายุไต้ฝุ่นชบาได้ทวีความรุนแรงเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ภายใต้การจัดหมวดหมู่ของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (155 ไมล์ต่อชั่วโมง) และพัฒนาเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 250 กิโลเมตร (155 ไมล์) และพื้นที่เมฆหนาทึบกลางขนาดใหญ่ พายุได้พัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อนขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,500 กิโลเมตร (930 ไมล์) จากนั้นพายุก็รุนแรงขึ้นเมื่อเคลื่อนตัวไปยังบริเวณที่มีลมเฉือนแนวตั้งปานกลาง และลมศูนย์กลางยังคงอยู่ที่ 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในอีกสองสามวันข้างหน้า พายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของสันเขากึ่งเขตร้อน และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
    พายุไต้ฝุ่นชบากำลังเคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2547
  • วันที่ 23 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบาได้กลับมามีกำลังแรงขึ้นอีกครั้ง และได้ถึงจุดความหนาแน่นสูงสุด กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประเมินว่าพายุมีความเร็วลม 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วของปรอท) พายุไต้ฝุ่นชบามีขนาดปานกลางที่มีกำลังแรง แต่พายุยังคงระดับความรุนแรงนี้ไว้เป็นเวลา 2 วัน ก่อนที่อากาศจะแห้ง และเริ่มส่งผลกระทบต่อพายุ
  • วันที่ 25 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกของสันเขาความกดอากาศสูงกึ่งเขตร้อน และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ลมที่พายุยังคงเป็นความรุนแรงพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง)
  • วันที่ 26 สิงหาคม ความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นชบายังคงอยู่เป็นเวลาหลายชั่วโมงก่อนที่พายุจะเริ่มผันผวนในขณะที่เริ่มเคลื่อนตัวไปทางทิศใต้ของประเทศญี่ปุ่น
  • วันที่ 27 สิงหาคม ร่องคลื่นยาวที่เป็นส่วนหนึ่งที่พาพายุไต้ฝุ่นชบาไปทางทิศเหนือ และได้เคลื่อนตัวออกจากพื้นที่ หลังจากนั้นพายุก็เริ่มเคลื่อนตัวช้าลงไปทางทิศตะวันตก และเริ่มเข้าสู่วัฏจักรการแทนที่กำแพงตาส่งผลให้พายุอ่อนกำลังลงอีก ร่องคลื่นยาวพาพายุไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และเคลื่อนตัวไปยังแผ่นดินใกล้คาโงชิมะเมื่อเวลา 07:00 น. (00:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 28 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบาเริ่มอ่อนกำลังลงอย่างช้า ๆ โดยมีลมเฉือนแนวตั้งปานกลางในแง่ของเส้นทาง พายุเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ ตาพายุด้านนอกมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 80 กิโลเมตร (50 ไมล์) และตาพายุด้านในมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 กิโลเมตร (12 ไมล์)
  • วันที่ 29 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือภายใต้การไหลของอากาศทางทิศใต้ของสันเขากึ่งเขตร้อน
  • วันที่ 30 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่จังหวัดคาโงชิมะเมื่อเวลา 16:30 น. (09:30 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (90 ไมล์ต่อชั่วโมง) ข้ามเกาะคีวชู และในเวลาสั้น ๆ ก็โผล่ออกมาเหนือน้ำก่อนที่จะเคลื่อนตัวเข้าสู่จังหวัดยามางูจิเมื่อเวลา 19:00 น. (12:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ลดระดับพายุไต้ฝุ่นให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และอีก 6 ชั่วโมง ต่อมาพายุโซนร้อนชบาได้เคลื่อนตัวเข้าไปในทะเลญี่ปุ่นขึ้นแผ่นดินเป็นครั้งสุดท้ายในทางตะวันออกเฉียงเหนือ และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนใกล้กับจังหวัดฮกไกโด
  • วันที่ 31 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนชบาได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน หลังจากนั้นก็สลายไปในทะเลโอค็อตสค์ และเคลื่อนตัวไปยังชายฝั่งของประเทศรัสเซีย
  • วันที่ 4 กันยายน พายุหมุนนอกเขตร้อนได้กลายเป็นพายุหมุนกึ่งเขตร้อนใกล้เกาะซาฮาลินก่อนจะสลายตัวไปในเวลา 01:00 น. (18:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ในวันรุ่งขึ้น

การเตรียมการ

กวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา

ศูนย์พักพิงฉุกเฉินในกวม และหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาได้เปิดขึ้นเพื่อรอพายุไต้ฝุ่นชบาเพื่อตอบสนองต่อคำเตือนเกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งได้ประกาศไว้ทั่วพื้นที่ ภูมิภาคเดียวกันก็ยังคงฟื้นตัวจากพายุไต้ฝุ่นเถ่งเถงในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนักในเดือนมิถุนายน และในวันเดียวกันกับที่พักพิงได้เปิดขึ้น ผู้คนประมาณ 442 คน ได้ถูกย้ายไปอยู่ที่ 7 ที่พักอาศัยในกวม และตัวเลขนี้ได้เพิ่มขึ้นเป็นประมาณเกือบ 2,000 หลัง โรงเรียน 10 แห่ง ได้เปลี่ยนไปกลายเป็นที่พักพิงฉุกเฉิน และท่าอากาศยานนานาชาติอันโตนิโอ บี.วอน แพต ใกล้กวมได้ถูกปิดเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการเตรียมการของยูเอสเอสคิตตี้ ฮอว์ก (CV-63) ซึ่งได้รับการประจำการอยู่กวมตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม ให้ออกเดินทางในช่วงเวลาเช้าของวันที่ 21 สิงหาคม เพื่อหลีกเลี่ยงพายุไต้ฝุ่นชบา

ประเทศญี่ปุ่น

พายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกในวันที่ 28 สิงหาคม จึงทำให้กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) คาดการณ์ว่าพายุจะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่นในวันรุ่งขึ้น และคาดว่าจะมีฝนตกหนักในหลายจังหวัด เส้นทางเรือข้ามฟากประมาณ 16 เส้น ได้ถูกยกเลิกทั่วทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่น และ เที่ยวบินประมาณ 244 เที่ยวบิน ทั้งขาไปขากลับจากสนามบินทางตอนใต้ของเกาะคีวชูได้ถูกยกเลิกเพื่อตอบสนองต่อพายุที่กำลังจะเคลื่อนตัวมาถึงในวันที่ 29 สิงหาคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารประมาณ 15,000 คน และในวันรุ่งขึ้นเที่ยวบินภายในประเทศอีกประมาณ 739 เที่ยวบิน ได้ถูกยกเลิกส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารอีกประมาณ 60,000 คน และรถไฟด่วนหลายสายได้ถูกยกเลิกเช่นกัน มีผู้อพยพประมาณ 12,000 คน บนเกาะคีวชู และเกาะชิโกกุ และในโอโนมิจิได้มีการอพยพประชาชนประมาณ 3,500 คน เหตุคลื่นลมแรงสูงจากพายุ

ผลกระทบ

กวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา

พายุไต้ฝุ่นชบากำลังเคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2547

พายุไต้ฝุ่นชบาได้ทำให้เกิดคลื่นลมแรงขนาดใหญ่ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตในเกาะไซปัน และทำให้คนอื่นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การเคลื่อนตัวเข้าใกล้ของพายุ ซึ่งพายุเคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาในช่วงสองวันต่อมา[5] กวมมีรายงานน้ำท่วมชายฝั่งสูงถึงประมาณ 2 เมตร แต่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญ และมีเพียงน้ำท่วมเล็กน้อยเท่านั้นที่เกิดจากฝนตกหนัก ไม่มีรายงานความเสียหายจากลมแรง แต่ในเกาะโรตามีความเสียหายอย่างหนัก เช่น บ้านเรือนประมาณกว่า 50 หลัง ได้รับความเสียหาย และบ้านเรือนอีกประมาณกว่า 175 หลัง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก เสาไฟฟ้าโค่นล้มลง และสายไฟจำนวนมากได้ขาดเสียหาย ส่งผลให้ไฟฟ้าดับทั่วทั้งเกาะ พืชผล ต้นไม้ และพื้นที่เกษตรกรรมได้รับความเสียหายอย่างหนักเช่นกัน น้ำท่วมชายฝั่งประมาณ 2 ถึง 3 เมตร ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายหาดอย่างหนัก ไม่มีผู้เสียชีวิต และผู้ได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในเกาะไซปันได้รายงานว่าน้ำท่วมชายฝั่งอยู่ที่ประมาณ 2 เมตร ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายหาดในระดับปานกลาง บ้านเรือนประมาณ 270 หลัง ได้รับความเสียหายบนเกาะ และบ้านเรือนอีกประมาณ 700 หลัง ได้รับความเสียหายอย่างหนักทั้งสองเกาะ ต้นไม้หลายต้นโค่นล้มลงบนเกาะไซปัน สายไฟหลายสายได้ขาดเสียหาย ส่งผลให้ไฟฟ้าดับทั่วทั้งเกาะที่หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา และการบริการทางโทรศัพท์ก็ถูกระงับเช่นกัน พื้นที่เกษตรกรรมได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และค่าใช้จ่ายความเสียหายมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา หลังจากที่พายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวผ่านกวม จึงทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บอยู่ที่ 4 ราย ที่ถูกคลื่นซัดเข้าฝั่งโดยกระแสน้ำที่รุนแรง ซึ่งเกิดจากพายุที่กำลังเคลื่อนตัว ผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 ราย ได้รับการช่วยเหลือ และนำส่งโรงพยาบาลรักษาอาการบาดเจ็บ แต่ไม่พบเจออีก 1 ราย

พายุไต้ฝุ่นชบาตั้งอยู่ประมาณ 445 กิโลเมตร (275 ไมล์) ทางใต้ของอิโวะจิมะเมื่อเวลา 08:30 น. (01:30 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และมีความเร็วลมสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 280 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (175 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2547

กวมได้รับผลกระทบจากพายุน้อยกว่าหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา แต่ยังคงถูกลมกระโชกแรงพัดถล่ม ท่าอากาศยานนานาชาติอันโตนิโอ บี.วอน แพต ซึ่งยังคงปิดบริการตลอดช่วงที่เกิดพายุ ลมกระโชกแรงสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (70 ไมล์ต่อชั่วโมง) และสนามบินเดียวกันได้มีการบันทึกปริมาณน้ำฝนอยู่ที่ประมาณ 329 มิลลิเมตร (12.95 นิ้ว) ในช่วงระยะเวลา 3 วัน อันเป็นผลมาจากพายุไต้ฝุ่นชบา อย่างไรก็ตาม ลมกระโชกแรงสูงสุดที่วัดได้โดยรวมในกวมอยู่ที่ท่าเรือ ซึ่งสถานีได้บันทึกลมกระโชกแรงอยู่ที่ประมาณ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (80 ไมล์ต่อชั่วโมง) ผลกระทบส่วนใหญ่อยู่ในระดับเล็กน้อยในกวม แม้ว่าจะมีน้ำท่วมบริเวณชายฝั่งในระดับปานกลาง แต่การกัดเซาะของชายหาดมีเล็กน้อย และฝนที่ตกหนักไม่ได้ทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างมีนัยสำคัญ ความเสียหายในกวมสูงถึงประมาณ 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ มีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 4 ราย และไม่มีผู้เสียชีวิต เนื่องจากพายุเคลื่อนตัวพัดผ่านใกล้เกาะ[6] อย่างไรก็ตาม หลังจากที่พายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวผ่านกวม จึงทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บอยู่ที่ 4 ราย ที่ถูกคลื่นซัดเข้าฝั่งโดยกระแสน้ำที่รุนแรง แม้ว่าจะพบเจอ 3 ราย ที่กำลังรักษาอาการบาดเจ็บ แต่ไม่พบเจออีก 1 ราย เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม[7]

หลังจากพายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวผ่านไป ผู้ว่าการเฟลิกซ์ เปเรซ กามาโช ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินสำหรับกวม โดยจัดสรรเงินจำนวนประมาณ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นกองทุนเพื่อการป้องกันภัยพลเรือนในภาวะฉุกเฉิน ความปลอดภัยสาธารณะ และค่ารักษาพยาบาล สำนักงานบริหารหลายแห่งรวมถึงสำนักงานกวม กระทรวงกลาโหม และกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ ได้รับมอบหมายให้ประเมินความเสียหาย และช่วยเหลือในการดำเนินการซ่อมแซมบ้านเรือน ผู้ว่าการฮวน บาเบาตา ในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาขอให้ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ในสหรัฐประกาศให้เครือจักรภพเป็นพื้นที่ภัยพิบัติเพื่อรับความช่วยเหลือจากภัยพิบัติของรัฐบาลกลางขอทุนนี้ได้รับในหกวันต่อมา

ประเทศญี่ปุ่น

พายุไต้ฝุ่นชบากำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547

พายุไต้ฝุ่นชบาเป็นพายุที่สร้างความเสียหายสูงสำหรับทั่วประเทศญี่ปุ่น[8] จึงทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 18 ราย มีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 45 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสประมาณ 240 ราย[9] นอกจากนี้ ยังได้รับความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 244 พันล้านเยน (2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) อีกด้วย ผลการชำระค่าประกันมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 146.5 พันล้านเยน (1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)[10] บ้านเรือนประมาณ 8,627 หลัง ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากผลกระทบของพายุ และบ้านเรือนอีกประมาณ 46,561 หลัง ได้ถูกน้ำท่วม มูลค่าความเสียหายที่ทำให้พายุไต้ฝุ่นชบาเป็นพายุที่ส่งผลกระทบต่อประเทศญี่ปุ่นมากที่สุดในปี พ.ศ. 2547 และพายุไต้ฝุ่นชบายังคงเป็นพายุที่สร้างความเสียหายมากเป็นอันดับที่ 14 ในประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น[11]

เกาะคีวชู

ลมแรงที่เกิดจากพายุไต้ฝุ่นชบาได้ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมในคิตะไดโทจิมะได้รับความเสียหาย เช่น ต้นข้าว และพืชไร่อ้อย เป็นต้น และส่งผลให้เกิดมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 39.2 เยน (360,000 ดอลลาร์สหรัฐ)[12] สามวันต่อมา พายุไต้ฝุ่นชบาได้เคลื่อนตัวผ่านไปใกล้หมู่เกาะอามามิ และกิ่งจังหวัดโอชิมะ จึงทำให้เกิดฝนตกหนัก และลมกระโชกแรง อันเป็นผลมาจากผลกระทบเหล่านี้ บ้านเรือนประมาณ 5,800 หลัง ได้ประสบปัญหาไฟฟ้าดับ และตัวเลขนี้ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นประมาณเกือบ 20,000 หลัง บ้านเรือนอีกประมาณ 100 หลัง ได้ถูกน้ำท่วม ปริมาณน้ำฝนสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 300 มิลลิเมตร (11.8 นิ้ว) บนเกาะคีวชู[13] ลมแรงได้พัดหลังคาบ้าน และหน้าต่างบานในอาคารอื่น ๆ อีกหลายแห่ง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 ราย เนื่องจากกระจกปลิวใส่ และในทำนองเดียวกันอีก 1 ราย ได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากกระจกแตกใส่ในยากูชิมะ

น้ำท่วมสถานีโอกิมัตสึชิมะในทากามัตสึ จังหวัดคางาวะ ประเทศญี่ปุ่น

พายุไต้ฝุ่นชบาถล่มพื้นที่ในจังหวัดคาโงชิมะ จึงทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนักต่อการเกษตร และโครงสร้างของอาคารหลายแห่งได้รับความเสียหาย บ้านเรือนประมาณ 1,033 หลัง ได้ถูกน้ำท่วม และบ้านเรือนในคาโงชิมะอีกประมาณ 32,300 หลัง ไม่มีไฟฟ้าใช้ ผลกระทบของพายุไต้ฝุ่นชบาส่งผลให้บ้านเรือนไม่มีไฟฟ้าใช้ประมาณ 328,000 หลัง ในวันรุ่งขึ้น[14] ความเสียหายในจังหวัดมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 5.17 พันล้านเยน (47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 2 ราย ผลรวมของปริมาณน้ำฝนวัดทั่วประเทศญี่ปุ่นเป็นผลมาจากพายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับจังหวัดมิยาซากิ ปริมาณน้ำฝนในเอบิโนะสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 821 มิลลิเมตร (32.32 นิ้ว) สถานีในมิคาโดะสังเกตปริมาณน้ำฝนประมาณ 61 มิลลิเมตร (2.40 นิ้ว) ในระยะเวลา 1 ชั่วโมง ซึ่งมากกว่าการวัดอื่น ๆ ในประเทศญี่ปุ่นในช่วงเวลาเดียวกันในจังหวัดนั้น บ้านเรือนประมาณ 1,000 หลัง ไม่มีไฟฟ้าใช้ มีผู้เสียชีวิตประมาณ 2 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกประมาณ 27 ราย ตัวเลขความเสียหายในมิยาซากิสูงถึงประมาณ 38.8 พันล้านเยน (353 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[15]

เส้นแสดงระดับน้ำขึ้นน้ำลงบ่งบอกถึงระดับความเสียหายในทากามัตสึ จังหวัดคางาวะ ประเทศญี่ปุ่น

กองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่นถูกส่งทั้งในจังหวัดมิยาซากิ และคาโงชิมะ เพื่อช่วยเหลือผลกระทบต่อผู้คน และค้นหาผู้ที่สูญหายไป บ้านเรือนประมาณ 100 หลัง ในจังหวัดคูมาโมโตะไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้นไม้โค่นล้มกีดขวางเส้นทางคมนาคม และเกิดดินถล่มหลายแห่ง เนื่องจากฝนตกหนัก และมีความเสียหายสูงถึงประมาณ 1.9 พันล้านเยน (17.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) แม้ว่าจะไม่มีผู้เสียชีวิต แต่มีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 7 ราย คลื่นลมแรงในจังหวัดฟูกูโอกะทำให้เกิดความเสียหายตามแนวชายฝั่ง และส่งผลให้เกิดน้ำท่วมภายในประเทศบางส่วน[16] แม้ว่าจะตั้งอยู่ติดกับชายฝั่งจังหวัดนางาซากิ แต่ก็เกิดประสบปัญหาน้ำท่วมในระดับปานกลางโดยมีอาคารไม่กี่แห่งที่ถูกน้ำท่วม ความเสียหายทางการเกษตรมีมากขึ้นโดยพื้นที่การเกษตรประมาณ 5,645 เฮกตาร์ จมอยู่ใต้น้ำ[17] ผลกระทบนี้คล้ายกันที่เกิดขึ้นในจังหวัดซางะ ซึ่งความเสียหายมีมูลค่าประมาณ 2.2 พันล้านเยน (20.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[18] จังหวัดโออิตะได้ประสบความสูญเสียอย่างหนัก เนื่องจากถูกทั้งฝนตกหนัก และลมกระโชกแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งจังหวัด อาคารหลายแห่งได้รับความเสียหายด้านหน้าอาคาร และมีรายงานผลกระทบต่อผลผลิต เช่น ข้าว พืชผัก ผลไม้ เป็นต้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นในจังหวัดโออิตะมีมูลค่าโดยรวมประมาณ 3.4 พันล้านเยน (31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[19]

พื้นที่อื่นในประเทศญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย อยู่นอกจังหวัดโคจิ และอีก 1 ราย อยู่นอกจังหวัดเอฮิเมะ เนื่องจากถูกคลื่นซัดหายไป ซึ่งคาดว่าคลื่นน่าจะสูงถึงประมาณ 3 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลในระดับปานกลาง การเสียชีวิตเหล่านี้เกิดขึ้นในขณะที่พายุยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในทะเลเปิด สี่วันต่อมา เรือสินค้าประเทศเวียดนาม (Vihan 05) ได้เกยตื้นใกล้กับแหลมยูระในจังหวัดเอฮิเมะ และในตอนแรกจะมุ่งหน้าไปยังคูเระ ฮิโรชิมะ ลูกเรือประมาณ 4 ราย จากทั้งหมดประมาณ 20 ราย ของเรือลำนี้ได้ถูกคลื่นซัด และสูญหายไปก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุทางภาคพื้นดิน บ้านเรือนประมาณเกือบ 400 หลัง ได้ถูกน้ำท่วมด้วยฝนตกหนัก ผลกระทบจากพายุฝนฟ้าคะนอง และคลื่นลมแรง จึงทำให้การขนส่งเกิดความล่าช้า และได้มีการยกเลิกการขนส่งจำนวนมาก หน่วยไฟฟ้าทั้งหมดประมาณ 116,453 หน่วย ได้ขัดข้องในระหว่างการเคลื่อนตัวผ่านของพายุไต้ฝุ่นชบา ความเสียหายโดยรวมประมาณ 39.6 พันล้านเยน (360 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) มากกว่าจังหวัดอื่นในประเทศญี่ปุ่น[20] บ้านเรือนประมาณ 98,014 หลัง ได้ประสบปัญหาไฟฟ้าดับในระหว่างพายุกำลังเคลื่อนตัวผ่านเกาะฮนชู

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร