ฟาโรห์อพริส

อพริส (กรีกโบราณ: Ἁπρίης) เป็นพระนามที่เฮโรโดตัส (ii. 161) และดิโอโอรัส (i. 68) ใช้ระบุฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระนามว่า วาอิบเร ฮาอาอิบเร (ปกครองระหว่าง 589 - 570 ปีก่อนคริสตกาล) พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่สี่ (โดยนับจากฟาโรห์ซามาเจิกที่ 1) แห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์[2] พระองค์เป็นบุคคลพระองค์เดียวกันกับ วาเฟรสแห่งมาเนโธ ซึ่งบันทึกอย่างถูกต้องว่า พระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 19 ปี ฟาโรห์อพริสยังทรงมีพระนามเรียกอีกพระนามว่า โฮฟรา ในเยเรมีย์ 44:30 (ฮีบรู: חָפְרַע‎, ฮีบรูสมัยใหม่: Ḥofra', ไทบีเรียน: H̱op̄ra;; กรีก: Ουαφρη[ς], อักษรโรมัน: Ouafri[s])[3]

ฟาโรห์อพริสทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์ซามาเจิกที่ 2 ผู้เป็นพระราชบิดาราวเดือนกุมภาพันธ์ในช่วง 589 ปีก่อนคริสตกาล[4] พระองค์ทรงมีความความกระตือรือร้นในการสร้างอาคารสถาปัตยกรรม เช่น "โปรดให้สร้างส่วนต่อเติมให้กับวิหารที่อัธร์บิส (เทล อาทริบ), โอเอซิสบาฮาริยา, เมมฟิส และซาอิส"[5] ในปีที่ 4 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ เจ้าหญิงอังค์เอสเนเฟอร์อิบเร ผู้เป็นพระขนิษฐาหรือภคนีของพระองค์ ได้สถาปนาขึ้นเป็นพระมเหสีแห่งเทพอามุนที่ธีบส์[5] อย่างไรก็ตาม การครองราชย์ของฟาโรห์อพริสก็เต็มไปด้วยปัญหาภายในเช่นกัน ในช่วง 588 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ได้ทรงส่งกองกำลังไปยังกรุงเยรูซาเล็มเพื่อปกป้องเมืองจากกองกำลังของชาวบาบิโลนที่พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 ส่งมา (ยรม. 37:5; 34:21) กองกำลังของพระองค์ได้ถอนกำลังอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดว่า เป็นการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าครั้งสำคัญกับชาวบาบิโลน[6] กรุงเยรูซาเลมหลังการล้อม 18 เดือนได้ถูกทำลายโดยชาวบาบิโลนในช่วง 587 ปีก่อนคริสตกาลหรือ 586 ปีก่อนคริสตกาล ความพยายามที่ไม่ประสบความสำเร็จของฟาโรห์อพริสในการแทรกแซงการเมืองของอาณาจักรยูดาห์นั้นตามมาด้วยการก่อกบฏของทหารจากกองทหารในอัสวานที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์[4][7]

ฟาโรห์อพริสทรงได้ดำเนินการทางทหารในบริเวณเลวานไทน์ พระองค์ทรงยึดเมืองไซดอน และทำให้เมืองอื่น ๆ ของอาณาจักรฟินิเซีย หวาดกลัวว่าพระองค์ได้รับชัยชนะ อย่างไรก็ตาม การปกครองในบริเวณนี้น่าไม่เป็นระยะเวลาที่ยาวนานนัก ตามที่นักประวัติศาสตร์ยุคคลาสสิกกล่าว[8] [9][10]

ในขณะที่การก่อกบฏถูกควบคุม ภายหลังฟาโรห์อพริสทรงได้พยายามปกป้องดินแดนลิเบียจากการรุกรานโดยชาวกรีกดอเรียน แต่ความพยายามของพระองค์กลับกลายเป็นผลเสียอย่างน่ายิ่งยวด เนื่องจากกองกำลังของพระองค์ถูกโจมตีโดยผู้รุกรานชาวกรีก[4] เมื่อกองทัพที่พ่ายแพ้เดินทางกลับบ้าน ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในกองทัพอียิปต์ระหว่างกองทหารพื้นเมืองกับทหารรับจ้างต่างชาติ ชาวอียิปต์ให้การสนับสนุนฟาโรห์อามาซิสที่ 2 ซึ่งเป็นนายพลที่นำกองกำลังอียิปต์ในการบุกโจมตีนิวเบียที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในช่วง 592 ปีก่อนคริสตกาลภายใต้ฟาโรห์ซามาเจิกที่ 2 ผู้เป็นพระราชบิดาของฟาโรห์อพริส ต่อมาอามาซิสได้ตั้งขึ้นตนเป็นฟาโรห์อย่างรวดเร็วในช่วง 570 ปีก่อนคริสตกาล และฟาโรห์อพริสก็ทรงหนีออกจากอียิปต์และไปลี้ภัยในต่างดินแดน เมื่อฟาโรห์อพริสทรงเดินทางกลับไปยังอียิปต์ในช่วง 567 ปีก่อนคริสตกาลด้วยความช่วยเหลือของกองทัพบาบิโลน เพื่อทวงพระราชบัลลังก์ของอียิปต์ พระองค์น่าจะทรงถูกสังหารในการสู้รบกับกองกำลังของฟาโรห์อามาซิส[11][5][12] ในอีกทางหนึ่ง เฮโรโดตัส (เดอะ ฮิสทรีส์ 2.169) ได้ระบุว่า ฟาโรห์อพริสทรงรอดจากการสู้รบ และทรงถูกคุมพระองค์และทรงได้รับการปฏิบัติอย่างดีจากฟาโรห์ที่ได้รับชัยชนะ จนกระทั่งชาวอียิปต์เรียกร้องความยุติธรรมจากพระองค์ ซึ่งพระองค์ทรงถูกลงโทษเพื่อชดใช้และรับผิดชอบและทรงถูกรัดพระศอจนสวรรคต[13] ดังนั้น ฟาโรห์อามาซิสจึงทรงได้ครองตำแหน่งฟาโรห์เหนือดินแดนอียิปต์และในขณะนั้นก็ทรงเป็นผู้ปกครองที่ไม่มีใครทักท้วง

อย่างไรก็ตาม มีบันทึกว่า ฟาโรห์อามาซิสทรงปฏิบัติต่อพระบรมศพของฟาโรห์อพริสด้วยความเคารพและปฏิบัติตามพิธีการฝังพระบรมศพอย่างถูกต้องโดยนำร่างของพระองค์กลับไปที่เมืองซาอิสและฝังไว้ที่นั่นด้วย "เกียรติยศทางทหารอย่างสมบูรณ์"[5] ฟาโรห์อามาซิสหรืออดีตนายพลที่ประกาศตัวว่าเป็นฟาโรห์ ยังทรงอภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของฟาโรห์อพริส พระนามว่า เคเดบเนอิร์บิเนตที่ 2 เพื่อทำให้การขึ้นสู่อำนาจของพระองค์นั้นสมบูรณ์และชอบธรรมข ขณะที่เฮโรโดตัสกล่าวว่า พระมเหสีของฟาโรห์อพริสทรงถูกเรียกพระนามว่า นิเตติส (Νιτῆτις) (ในภาษากรีก) "ไม่มีการอ้างอิงร่วมสมัยใดที่เรียกพระองค์เช่นนั้น" ในบันทึกของอียิปต์[5]

เสาโอเบลิกส์แห่งอพริสในกรุงโรม ซึ่งทราบในนามของ 'ปุลชิโน เดลลา มิเนร์วา'

ยูเซบิอุสได้วางแนวคราสของเธลีสในช่วง 585 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นปีที่แปดหรือสิบสองของการครองราชย์ของฟาโรห์อพริส

ถาวรวัตถุอนุสาวรีย์

เสาโอเบลิสก์ที่ฟาโรห์อพริสโปรดให้สร้างขึ้นที่เมืองซาอิสได้ถูกย้ายโดยจักรพรรดิดิโอเคลเทียนแห่งจักรวรรดิโรมันในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3 และเดิมวางไว้ที่วิหารแห่งไอซิสในกรุงโรม ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านหน้าโบสถ์มหาวิหารซานตา มารีอา โซปรา มิเนอร์วาในกรุงโรม

ดูเพิ่ม

อ้างอิง


🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง