ภาวะความเป็นชายเป็นพิษ

แนวคิดเกี่ยวกับภาวะความเป็นชายเป็นพิษ (อังกฤษ: toxic masculinity) นั้นมีปรากฏใช้ในทางวิชาการและการพูดคุยในสื่อเกี่ยวกับความเป็นชายเพื่อสื่อถึงบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมบางประการที่เกี่ยวข้องกับการส่งผลร้ายต่อสังคมและต่อผู้ชายเอง รูปเหมารวมดั้งเดิม (Traditional stereotypes) ของผู้ชายในฐานะผู้เป็นใหญ่ทางสังคม ควบคู่ไปกับลักษณะอื่น ๆ อย่าง ความรังเกียจสตรี และ ความรังเกียจคนรักร่วมเพศ สามารถถือได้ว่า "เป็นพิษ" (toxic) บางส่วนมาจากการสนับสนุนความรุนแรง เช่น การทำร้ายทางเพศ และ ความรุนแรงในครัวเรือน การเข้าสังคมของเด็กผู้ชายในสังคมชายเป็นใหญ่มักพบว่าทำให้ความรุนแรงเป็นเรื่องปกติ เช่นในกรณีของการกลั่นแกล้ง

ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมระบุว่า การสอนเด็กผู้ชายให้รู้จักเก็บอารมณ์อ่อนไหว เช่นในคำกล่าวว่า "big boys don't cry" (เด็กผู้ชายโต ๆ ไม่ร้องไห้หรอก) มีส่วนสำคัญในกระบวนการทางสังคมเกี่ยวกับเพศในโลกตะวันตก[1][2]

ลักษณะความเป็นชายแบบดั้งเดิมอื่น ๆ เช่น ความทุ่มเทให้กับงาน, ความภูมิใจที่เก่งในกีฬาทุกแขนง และการเป็นเสาหลักครอบครัว ไม่ถือว่า "เป็นพิษ" แนวคิดความเป็นพิษนี้ดั้งเดิมเกี่ยวโยงกับการเคลื่อนไหวของผู้ชายกลุ่มตำนานและกวี เช่นเชเปิร์ด บลิสส์ (Shepherd Bliss) เพื่อให้แย้งกับลักษณะภาพเหมารวมของชายว่าต้องเป็นความเป็นชายที่ "จริง" (real) หรือ "ลุ่มลึก" (deep) อย่างไรก็ตามได้มีคำวิจารณ์ว่าแนวคิดนี้เป็นการสื่อโดยผิด ๆ ถึงปัญหาอันเกี่ยวโยงจากเพศนั้นเป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิด[3]

ศัพทมูลและการใช้คำ

คำว่า toxic masculinity มีพื้นเพมาจากการเคลื่อนไหวผู้ชายกลุ่มตำนานและกวี ในทศวรรษ 1980s และ 1990s[4] ก่อนที่จะมีการใช้อย่างกว้างขวางในงานเขียน[5] การพูดคุยเกี่ยวกับแนวคิดนี้ในสื่อเป็นที่นิยมขึ้นมาในทศวรรษ 2010s นั้นใช้สื่อถึงบรรทัดฐานทางสังคมต่อความเป็นชายเหมารวมแบบดั้งเดิม นักสังคมวิทยา ไมเคิล ฟลัด ระบุว่านี่รวมถึง "ความคาดหวังต่อเด็กผู้ชายว่าต้องกระตือรือร้น, โกรธเกรี้ยว, ทนทาน, กล้าหาญ และเป็นใหญ่"[6]

บรรทัดฐานของเพศ

ผลกระทบต่อสุขภาพ

สมาคมจิตแพทย์อเมริกันได้เตือนว่า "แนวคิดความเป็นชายเป็นพิษแบบดั้งเดิม" นั้นเกี่ยวข้องกับผลทางลบต่อสุขภาพจิต[7][8] ผู้ชายที่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมของความเป็นชาย เช่น ความกล้าได้กล้าเสีย, ความรุนแรง, ความเป็นใหญ่, การทำงานหนัก, ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์อ่อนไหว, ความปรารถนาที่จะต้องชนะ และการทำตามสถานะทางสังคม มีแนวโน้มสูงที่จะมีปัญทางจิตเวช เช่น ความซึมเศร้า, ความเครียด, ปัญหาเกี่ยวกับรูปร่างภายนอก, การใช้สารต่าง ๆ และความสามารถทางสังคมที่ลดต่ำลง[9]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

แหล่งข้อมูลเชิงวิชาการ

งานเขียนในสื่อ

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง