มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

[มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต]

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตภูเก็ต
Prince of Songkla University
Phuket Campus
ชื่อย่อม.อ.[1]ภูเก็ต / PSU Phuket
สถาปนา14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 (46 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
รองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ตรศ.ดร.พันธ์ ทองชุมนุม
ที่อยู่
เลขที่ 80 หมู่ 1 ถนนวิชิตสงคราม อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
สี███ Navy Blue
เว็บไซต์https://www.psu.ac.th/phuket

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (อังกฤษ: Prince of Songkla University; อักษรย่อ: ม.อ. – PSU) เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ภาคใต้ เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาในท้องถิ่น และเพื่อสนับสนุนการพัฒนาภูมิภาค เป็นมหาวิทยาลัยที่มีเจตนาก่อตั้งที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลายวิทยาเขต มุ่งมั่นที่จะให้สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางวิชาการระดับสูงเพื่อตอบสนองการพัฒนาภาคใต้ และเพื่อเป็นสถาบันที่สามารถรับใช้ชุมชนได้อย่างแท้จริง ด้วยเจตนารมณ์ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ดังกล่าว จึงเป็นที่มาของขยายเขตการศึกษาเพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนมาที่จังหวัดภูเก็ต ในปี พ.ศ.2516 ในลักษณะของการให้บริการทางวิชาการเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น

ประวัติ

  • พ.ศ. 2520 ศ.นพ.สวัสดิ์ สกุลไทย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในขณะนั้นได้มีแนวคิดในการขยายการจัดการเรียนการสอนมาที่จังหวัดภูเก็ต ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้เป็นโครงการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2520 และเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2529 ได้มีพระราชกฤษฎีกา จัดตั้ง “วิทยาลัยชุมชนภูเก็ต” ซึ่งเป็นวิทยาลัยชุมชนแห่งแรกของประเทศไทย จัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรหลักสูตร 2 ปี สาขาต่างๆ ตามความต้องการของชุมชน สาขาที่เปิดสอนในระยะแรกคือ สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และต่อมาจึงเปิดเพิ่มอีกหลายสาขา
  • พ.ศ. 2529 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต เป็นหน่วยงานเทียบเท่าคณะ และเป็นวิทยาลัยชุมชนแห่งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2537 เริ่มดำเนินการโครงการจัดตั้งคณะการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยวขึ้นเพื่อผลิตบุคลากร ระดับปริญญาตรี 4 ปี สาขาวิชาการจัดการโรงแรม โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสอนมีนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 49 คน
  • พ.ศ. 2538 มหาวิทยาลัยได้เริ่มดำเนินการโครงการจัดตั้งวิทยาเขตภูเก็ต โดยการเฉลี่ยอัตรากำลังบางส่วน จากวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต ไปปฏิบัติงานในสำนักงานวิทยาเขต และย้ายที่ตั้งในการดำเนินการ มาที่อำเภอกะทู้จนถึงปัจจุบัน
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้ขยายโอกาสทางการศึกษากว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 3 คณะ คือ คณะบริการและการท่องเที่ยว คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม คณะวิเทศศึกษา และ 1 วิทยาลัย คือ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ โดยมีสำนักงานวิทยาเขตภูเก็ต เป็นส่วนงานกลางที่บริหารและสนับสนุนการเรียนการสอน ในปีการศึกษา 2567 มีการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทั้งหมด 20 หลักสูตร ในจำนวนนั้นเป็นหลักสูตรนานาชาติ 13 หลักสูตร (ตรวจสอบแล้วค่ะกับงานหลักสูตร)

ปัจจุบัน วิทยาเขตภูเก็ตพัฒนาวิชาการ วิจัย นวัตกรรม และบริการวิชาการ สาขาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาของประเทศ จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดรอบข้างในกลุ่มอันดามัน ดังนั้น วิทยาเขตภูเก็ตจึงกำหนดทิศทางที่จะพัฒนาศาสตร์เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความเป็นเลิศในระดับนานาชาติใน 5 กลุ่มสาขา ดังนี้ 1) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว ที่สนองต่อบริบทของนโยบายรัฐบาลยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และบริบทของยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง สตูล) ที่มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเน้นคุณค่าและมูลค่าสูง ขับเคลื่อนโดย คณะบริการและการท่องเที่ยว 2) เพื่อสนองต่อบริบทของจังหวัดภูเก็ตที่ต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงาน และการบริการภาครัฐไปสู่ระบบดิจิทัล นครแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมดิจิทัล และธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้นโยบายของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขับเคลื่อนโดย วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ 3) เพื่อสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติทางธรรมชาติรองรับการเติบโตด้านการท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งอันดามันอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ขับเคลื่อนโดย คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม 4) เพื่อเพิ่มคุณค่าของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ภาษาและวัฒธรรม ขับเคลื่อนโดย คณะวิเทศศึกษา และและ 5) เพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวมูลค่าสูงและส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของจังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Hub) ขับเคลื่อนโดย ศูนย์ สุขภาพนานาชาติอันดามัน

โดยมีสำนักงานวิทยาเขตภูเก็ต เป็นหน่วยงานกลางที่บริหารและสนับสนุนการเรียนการสอน ในปีการศึกษา 2566 มีการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทั้งหมด 19 หลักสูตร ในจำนวนนั้นเป็นหลักสูตรนานาชาติ 14 หลักสูตร

สัญลักษณ์

  • มาร์ชสงขลานครินทร์ (เพิ่มที่มา, ประวัติ)
  • เสื้อครุยพระราชทาน (เพิ่มที่มา, ประวัติ)
  • สีบลู (เพิ่มที่มา, ประวัติ)








พื้นที่มหาวิทยาลัย

พื้นที่ในการดำเนินงาน

ช่วงแรกที่ดำเนินโครงการวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต อาศัยบ้านเช่าเป็นสำนักงานชั่วคราว และใช้โรงเรียนเทศบาลซึ่งอยู่ใกล้กันเป็นสถานที่เรียน จนกระทั่งมีสถานที่และอาคารของตัวเองที่บริเวณสะพานหินในปี พ.ศ.2527
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต มีพื้นที่ดำเนินการ 2 แห่ง

●พื้นที่บริเวณสะพานหิน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เป็นที่ราชพัสดุ จำนวนประมาณ 5 – 1 – 23 2/10 ไร่ พัฒนาเป็นศูนย์รวมของการบริการวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ ของเขตการศึกษาภูเก็ต และบริเวณชั้น 5 ของอาคารได้เปิดให้บริการที่พัก ประกอบด้วยอาคารต่าง ๆ ดังนี้

รายการขนาดพื้นที่ (ตร.ม.)
1.1 อาคารศูนย์บริการวิชาการสะพานหิน5 ชั้น4,480
1.2 อาคารอเนกประสงค์2 ชั้น228
1.3 โรงปฏิบัติการโปรแกรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ1 ชั้น66
1.4 โรงจอดรถยนต์1 ชั้น100
1.5 โรงจอดรถจักรยานยนต์1 ชั้น40
1.6 บ้านพักบุคลากร จำนวน 2 ยูนิต1 ชั้น77

ในปีพ.ศ. 2566 พื้นที่บริเวณสะพานหินได้เปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้พื้นที่ เพื่อดำเนินการจัดตั้งศูนย์ทันตกรรมดิจิทัลสงขลานครินทร์ Dental Digital Center เป็นศูนย์ทันตกรรมดิจิทัลที่ทันสมัยแห่งแรกของภาคใต้ที่จะใช้ AI เข้ามาช่วยอย่างเต็มรูปแบบ ตามแผนจะเปิดให้บริการปี 2567

●พื้นที่อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต พื้นที่ประมาณ 274 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินบริจาคโดยบริษัทอนุภาษและบุตร จำกัด และนายวีระพงษ์ หงษ์หยก จำนวน 77 ไร่ ในปี 2537 และพื้นที่ป่าสงวน กรมป่าไม้ จำนวน 197 ไร่ ใช้เป็นศูนย์รวมของการเรียนการสอน ประกอบด้วยอาคารเรียนรวมของวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต อาคารของคณะอุตสาหกรรมบริการ ที่พักอาจารย์ หอพักนักศึกษา กิจการสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในขณะนั้น ประกอบด้วย

รายการขนาดพื้นที่ (ตร.ม.)
2.1 อาคารที่ทำการคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต4 ชั้น7,939
2.2 อาคารคณะอุตสาหกรรมบริการ5 ชั้น7,251
2.3 อาคารสถาบันภาษา4 ชั้น4,973
2.4 อาคารวิทยบริการ4 ชั้น6,931
2.5 อาคารปฏิบัติการดนตรี1 ชั้น443
2.6 อาคารเทคโนโลยียาง2 ชั้น835
2.7 อาคารกีฬาในร่ม1 ชั้น1,380
2.8 อาคารโรงอาหาร1 ชั้น900
2.9 หอพักนักศึกษา (หอพักมหาวิทยาลัย)5 ชั้น6,985
2.10 บ้านพักอาจารย์ระดับ 3-4 จำนวน 2 หลัง1 ชั้น77
2.11 อาคารที่พักอาจารย์และบุคลากร (96 ยูนิต)5 ชั้น12,890
2.12 อาคารโรงกรองน้ำและถังเก็บน้ำ1 ชั้น138
2.13 อาคารซ่อมบำรุง1 ชั้น202
2.14 อาคารควบคุมระบบบำบัดน้ำ1 ชั้น30
2.15 อาคารเรือนเพาะชำ1 ชั้น125
2.16 ศาลาพักผ่อนหน้าหอพักนักศึกษา1 ชั้น9
2.17 โรงสูบน้ำเครื่องยนต์ดีเซล1 ชั้น9
2.18 บ้านพักคนงาน จำนวน 1 หลัง 2 ยูนิต1 ชั้น77
2.19 โรงเก็บเครื่องสูบน้ำ1 ชั้น3
2.20 หอพักนักศึกษาในกำกับ จำนวน 2 หลัง-5,250
2.21 สนามเทนนิส-3,120
2.22 สนามบาสเกตบอล-1,296
2.23 สนามวอลเลย์บอลชายหาด-525

ปัจจุบันพื้นที่อำเภอกะทู้ ที่ตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เป็นพื้นที่หลักที่เปิดสอนด้านการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ประกอบด้วย 3 คณะ 1 วิทยาลัย และสำนักงานวิทยาเขตภูเก็ต พร้อมอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ นอกจากนี้มีหน่วยงานให้บริการและดูแลการเรียนการสอนหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาธารณสุข ประกอบด้วย ศูนย์บริการเทคนิคการแพทย์ ม.อ.ภูเก็ต หน่วยบริการแพทย์แผนไทย ม.อ.ภูเก็ต และวิทยาลัยสุขภาพนานาชาติ

หลักสูตร

ระดับปริญญาตรี


ระดับปริญญาโท


ระดับปริญญาเอก

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร