มหาวิทยาลัยแอสตัน

มหาวิทยาลัยแอสตัน (Aston University) เป็นสถาบันอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักร ตั้งที่ตำบลแอสตัน ซึ่งเป็นชุมชนใจกลางเมืองเบอร์มิงแฮม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2438 ในฐานะวิทยาลัยเทคนิคนครเบอร์มิงแฮม ต่อมาได้เป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีชั้นสูงเมื่อ พ.ศ. 2499[1] และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สองทรงตราพระราชบัญญัติให้เป็นมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2509[2]

มหาวิทยาลัยแอสตัน
Aston University
คติพจน์อังกฤษ: Forward
ไทย: จงก้าวไปข้างหน้า
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล
สถาปนา22 เมษายน พ.ศ. 2509 ได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นมหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2499 วิทยาลัยเทคโนโลยีชั้นสูงแอสตัน
พ.ศ. 2438 วิทยาลัยเทคนิคนครเบอร์มิงแฮม
ที่ตั้ง
เบอร์มิงแฮม, เวสต์มิดแลนด์
,
สีดำ-แดง
           
           
เครือข่ายACU
EUA
AACSB
เว็บไซต์http://www.aston.ac.uk/

มหาวิทยาลัยแอสตันเปิดสอนในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สังคม-ภาษาศาสตร์ และมีชื่อเสียงในด้านสาขาวิชาบริหารธุรกิจ

ประวัติ

สำนักงานมหาวิทยาลัยแอสตัน

มหาวิทยาลัยแอสตัน ก่อกำเนิดขึ้นจากวิทยาลัยเทคนิคนครเบอร์มิงแฮม (Birmingham Metropolitan Technical College) ซึ่งแยกตัวออกจากสถาบันศึกษาเบอร์มิงแฮมและมิดแลนด์ (ก่อตั้ง พ.ศ. 2418) เมื่อปี พ.ศ. 2438 ทำการสอนในสาขาวิชาเคมี ฟิสิกส์ โลหวิทยา และวิศวกรรมไฟฟ้า[3] อนึ่งชื่อ มิดแลนด์ มาจากชื่อของจังหวัดเวสต์มิดแลนด์[ม 1]ซึ่งเมืองเบอร์มิงแฮมมีฐานะเป็นอำเภอสังกัดอยู่ กิจการของวิทยาลัยดำเนินเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2494 ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีเบอร์มิงแฮม ต่อมา วิทยาลัยจึงได้ยกสถานะเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีชั้นสูงแอสตัน[ม 2] ตามชื่อของตำบลที่ตั้งและสบคลองในพื้นที่ของวิทยาลัย มีการสร้างอาคารในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2492 - 2498 เพื่อรองรับการขยายตัวของวิทยาลัย[3] ครั้นแล้ว สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สองจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีเปิดสถาบัน เมื่อปี พ.ศ. 2499[4]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 ได้มีพระราชบัญญัติให้แปรสภาพบรรดาวิทยาลัยเทคโนโลยีชั้นสูงทั้งหมดให้เป็นมหาวิทยาลัย ในจำนวนนี้ได้รวมถึงมหาวิทยาลัยแอสตันด้วย โดยในพระราชบัญญัติได้เขียนชื่อมหาวิทยาลัยไว้ว่า มหาวิทยาลัยแอสตัน ณ เบอร์มิงแฮม (University of Aston at Birmingham) คติพจน์ของมหาวิทยาลัยคือ จงก้าวไปข้างหน้า[5] ซึ่งเป็นคติพจน์เดียวกับคติพจน์ของเทศบาลนครเบอร์มิงแฮม

เมื่อ พ.ศ. 2526 มหาวิทยาลัยจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ รับให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจที่ต้องการแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมของตน[6]

ที่ตั้ง

มหาวิทยาลัยมีที่ตั้งกลางใจเมือง เรียกว่า "วิทยาเขตกอสตากรีน" (Gosta Green Campus) ซึ่งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟเบอร์มิงแฮมนิวสตรีต และสถานีรถไฟเบอร์มิงแฮมมัวร์สตรีต พื้นที่ของมหาวิทยาลัยมีคลองดิกเบท (Digbeth Canal) และคลองเบอร์มิงแฮมแอนด์เฟซเลย์ (Birmingham and Fazeley Canal) ไหลผ่านและบรรจบกันเป็นสามแยก บริเวณสบคลองนั้นเรียกว่า สามแยกแอสตัน (Aston Junction) ภายในมหาวิทยาลัยประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักศึกษาหลายอย่าง รวมถึงห้องสมุด-ศูนย์คอมพิวเตอร์รวมกันอยู่ภายในบริเวณเดียวกันอีกด้วย

ส่วนงาน

มหาวิทยาลัยแอสตันแบ่งส่วนงานทางวิชาการออกเป็นสำนักวิชาและวิทยาลัย 4 แห่ง แต่ละแห่งดูแลสาขาวิชาแตกต่างกันดังนี้

  • สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์
    • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์
    • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
    • สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
    • สาขาวิชาระบบและการจัดการวิศวกรรม
    • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
    • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการออกแบบ
  • สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสุขภาพ
    • สาขาวิชาโสตสัมผัสวิทยา (audiology)
    • สาขาวิชาชีววิทยา
    • สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์
    • สาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์
    • สาขาวิชาเภสัชศาสตร์
    • สาขาวิชาจิตวิทยา
  • สำนักวิชาภาษาและสังคมศาสตร์
    • สาขาวิชาภาษาสมัยใหม่และการแปล
    • สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐศาสตร์ และยุโรปศึกษา
    • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
    • สาขาวิชาสังคมวิทยาและนโยบายสาธารณะ
  • วิทยาลัยบริหารธุรกิจแอสตัน
    • สาขาวิชานิติศาสตร์
    • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และยุทธศาสตร์
    • สาขาวิชาการเงินและการบัญชี
    • สาขาวิชาการตลาด
    • สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ
    • สาขาวิชาจิตวิทยาองค์กร

วิชาการ

มหาวิทยาลัยแอสตันเปิดสอนในหลายสาขาวิชา โดยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะในด้านบริหารธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง หลักสูตรด้านบริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัยได้รับการรับรองจาก European Quality Improvement System สมาคมบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (Association of MBAs) และมูลนิธีพัฒนาการจัดการยุโรป (European Foundation for Management Development)[7] นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังทำอันดับได้ดีมากจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในด้านบริหารธุรกิจทั่วสหราชอาณาจักร[8]

ในสาขาวิชาอื่น มหาวิทยาลัยได้อันดับที่ 47 ของโลก จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยอายุน้อยกว่าห้าสิบปี[9] พร้อมทั้งได้อันดับที่ 12 จากมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรเมื่อครั้งมีการประเมินศักยภาพการวิจัย[10]

หอพักนักศึกษา

หอพักเลคไซด์
หอพักเก่าของมหาวิทยาลัยที่ถูกทุบทำลายแล้ว

นอกเหนือจากการทำกิจกรรมกับสโมสรนักศึกษาแล้ว นักศึกษาที่มีความจำเป็นเช่นเป็นนักศึกษาต่างชาติหรือมาจากต่างเมืองไกล ๆ อาจพักในหอพักของมหาวิทยาลัยซึ่งในอดีตมีแบบใช้ห้องน้ำรวม แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นห้องแบบมีห้องน้ำในตัวทั้งหมด หอพักของมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ไม่ไกลจากกลางใจเมืองและอาคารเรียน

ย้อนไปในปี พ.ศ. 2520 มหาวิทยาลัยสร้างหอพักสามแห่งคือ หอดาลตัน ลอเรนซ์ และสแตฟฟอร์ด ซึ่งทั้งหมดเป็นหอพักแบบใช้ห้องน้ำ-ห้องครัวรวมกัน สำหรับหอสแตฟฟอร์ดนั้น แต่ละชั้นได้แบ่งออกเป็นสองตอน แต่ละตอนมีห้องพัก 9 ห้อง ใช้ห้องน้ำและห้องครัวรวมกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 มหาวิทยาลัยได้สร้างหอพักเลคไซด์เพิ่มเติม และได้ทุบทำลายหอพักเก่าทั้งสามทิ้งเพื่อสร้างอาคารสูงสำหรับเป็นหอพักนักศึกษา-อาจารย์ ตั้งชื่อว่าหอแฮเรียตมาร์ติโน (Harriet Martineau) และหอแมรีสเติร์จ (Mary Sturge)[11][12]

หมายเหตุ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น


🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร